กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)

กระทรวงอุตสาหกรรม (อังกฤษ: Ministry of Industry) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม

กระทรวงอุตสาหกรรม
เครื่องหมายราชการ
ตรานารายณ์เกษียรสมุทรและชื่อกระทรวงด้านล่าง

ตรานารายณ์เกษียรสมุทร
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485; 82 ปีก่อน (2485-05-05)[1]
กระทรวงก่อนหน้า
  • กระทรวงการอุตสาหกรรม
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
งบประมาณต่อปี5,965.3722 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[2]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารกระทรวง
  • ณัฐพล รังสิตพล, ปลัดกระทรวง
  • ณัฏฐิญา เนตยสุภา[4], รองปลัดกระทรวง
  • บรรจง สุกรีฑา[5], รองปลัดกระทรวง
  • ใบน้อย สุวรรณชาตรี [6], รองปลัดกระทรวง
  • เอกภัทร วังสุวรรณ, รองปลัดกระทรวง
ลูกสังกัดกระทรวง
เว็บไซต์INDUSTRY.go.th

ประวัติ

แก้

กระทรวงอุตสาหกรรม เริ่มจากการก่อตั้ง กองอุตสาหกรรม ในกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2479 ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็น กองอิสระรัฐพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2480 ถัดมาเมื่อ พ.ศ. 2484 ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการกองเศรษฐการใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเศรษฐกิจ และจัดตั้ง กรมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมจัดตั้ง "กระทรวงการอุตสาหกรรม" โดยมีส่วนราชการในสังกัด คือ

  • สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
  • สำนักงานปลัดกระทรวง
  • กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ตั้งใหม่)
  • กรมโลหกิจ (โอนมาจากกระทรวงมหาดไทย)
  • กรมวิทยาศาสตร์ (โอนมาจากกระทรวงการเศรษฐกิจ)
  • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กรมอุตสาหกรรม กระทรวงการเศรษฐกิจเดิม)

กระทรวงการอุตสาหกรรม เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม ใน พ.ศ. 2495[7]โดยมีปลัดกระทรวงคนแรก ได้แก่ พ.อ.สุวรรณ เพ็ญจันทร์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 ถึง 19 กันยายน พ.ศ. 2495 และ ดร.พร ศรีจามร[8]ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2495 เป็นปลัดคนต่อมา

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ดร.ณัฐพล รังสิตพล บุตร สุขวิช รังสิตพล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

ตราสัญลักษณ์

แก้

ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ ตรานารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกด้วย[9]

หน่วยงานในสังกัด

แก้

ส่วนราชการ

แก้

รัฐวิสาหกิจ

แก้

สถาบันเครือข่าย

แก้

หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  3. "ทำความรู้จัก "พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล" ว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม!". pptvhd36.com. 29 August 2023. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
  4. อัปเดตมติครม. 20 ธันวาคมคมแต่งตั้งโยกย้ายครบทุกตำแหน่ง
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 20 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 20 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  7. "ประวัติกระทรวงอุตสาหกรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-26. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  8. ประกาศแต่งตั้งปลัดกระทรวงครั้งแรก
  9. "ที่มาของนารายณ์เกษียรสมุทร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-20. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  10. "เว็บไซด์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม พ.ศ. 2564". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้