บุญยอด สุขถิ่นไทย

บุญยอด สุขถิ่นไทย ผู้ประกาศข่าวแนวหน้าออนไลน์, ข้าราชการประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[1], อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต เขต 4 กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2551-2554) และแบบบัญชีรายชื่อ (พ.ศ.​ 2554​ -2556) พรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงอดีตนักจัดรายการวิทยุชาวไทย

บุญยอด สุขถิ่นไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 4
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
(3 ปี 138 วัน)
ก่อนหน้าพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
รชฏ พิสิษฐบรรณกร
ถัดไปอนุชา บูรพชัยศรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 159 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2508 (58 ปี)
เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2550–2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566)
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

นายบุญยอด เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2508 ที่ย่านลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอาชีพขายของชำ มีชื่อเล่นว่า "ฝัด" แปลว่า "ผู้รู้"[2] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง[3] และ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[4] ปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน, สถาบันพระปกเกล้า ปี พ.ศ. 2552

การทำงาน

แก้

วงการข่าว

แก้

นายบุญยอด สุขถิ่นไทย เริ่มทำงานทางด้านโฆษณาที่บริษัทโอกิลวี่ จากนั้นจึงเริ่มทำงานในสายข่าว โดยเข้าเป็นผู้สื่อข่าวภูมิภาคในช่อง 7 นาน 3 ปี แล้วจึงลาไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อกลับมาจึงข่าวอ่านช่วงภาคค่ำทางช่อง 5 อยู่ 2 ปี จากนั้นจึงได้หันไปทำงานทางด้านวิทยุสไมล์ เรดิโอ 5 ร่วมกับ อัญชะลี ไพรีรัก และงานด้านสายข่าว ในปี พ.ศ. 2539 นายบุญยอดได้เป็นพิธีกรรายการวาไรตี้ตอนเช้าทางช่อง 9 คือ รายการ"สวัสดีบางกอก" ส่วนในปี พ.ศ. 2542 นายบุญยอดได้เป็นพิธีกรรายการตอบปัญหาทางวิชาการชื่อ "เกมคนเก่งกับแอลจี" และเป็นผู้ประกาศ พิธีกร และนักจัดรายการวิทยุอิสระเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 ได้กลับมาอ่านข่าวกับทางช่อง 3 อีกครั้ง ในรายการ ข่าววันใหม่ อันเป็นการรายงานข่าวประจำวันช่วงดึกคู่กับอริสรา กำธรเจริญ รวมทั้งได้ร่วมงานกับทางเอเอสทีวีด้วยช่วงสั้น ๆ

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 นายบุญยอด ได้ถูกปลดออกจากช่อง 3 ซึ่งเจ้าตัวเชื่อว่าเป็นเพราะตนเองได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[5][6][7] รวมประสบการณ์การทำงานเป็นสื่อมวลชนทั้งหมด 18 ปี[8]

ใน ปี พ.ศ. 2558 นายบุญยอด สุขถิ่นไทย เป็นผู้ประกาศข่าวทางสถานีโทรทัศน์ฟ้าวันใหม่ ในรายการ ข่าวฟ้าวันใหม่ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 06.05 - 07.50 น. เริ่มวันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม แต่ภายหลังลาออก

ปัจจุบัน เป็นผู้ประกาศข่าว และเอ็กซ์คลูซีฟโปรดิวเซอร์ ของสำนักข่าวแนวหน้าออนไลน์

การเมือง

แก้

นายบุญยอดได้ลงสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 นายบุญยอดได้เบอร์ 32 ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนมาเป็นลำดับที่ 18 ซึ่งถือเป็นลำดับสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เนื่องจากได้รับร้องเรียนว่าขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารขึ้นในวันที่ 19 กันยายน การเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้จึงได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540

บุญยอด ได้ลงเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ในเขต 4 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตจตุจักร, บางซื่อ, หลักสี่ โดยร่วมทีมกับ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี และ นายสกลธี ภัททิยกุล ซึ่งได้รับเลือกทั้ง 3 คน[9] โดยนายบุญยอดได้รับคะแนนเป็นอันดับ 1 ของเขต รวม 113,280 คะแนน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[10] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 42[11] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 บุญยอดได้ประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และได้ไปสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ในวันรุ่งขึ้นและได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566

โดยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อสังกัดของพรรครวมไทยสร้างชาติ ในลำดับที่ 31[12]แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ก่อนที่จะลาออกจากพรรค เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566 และรับตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[13]

วงการบันเทิง

แก้

นายบุญยอด ได้เคยร่วมแสดงภาพยนตร์ เรื่อง “ผู้หญิง 5 บาป” ซึ่งเป็นที่มาของการวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้มีผู้เข้าไปโพสต์ข้อความไว้ในเว็บไซต์ประชาไท ถึงการร่วมเล่นภาพยนตร์ของนายบุญยอด เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวมีเนื้อหาล่อแหลมต่อเรื่องทางเพศ ทางวัฒนธรรมอย่างมาก ทำให้นายบุญยอด ฟ้องเว็บไซต์ประชาไท และหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ ประมาณ 20 ล้านบาท เพราะตนอยู่ในวงการมา 20 ปี ทำรายการสารประโยชน์มาตลอด และจะนำเงินที่ได้ ไปให้สื่อดังกล่าวที่เกี่ยวข้อง ไปอบรมจริยธรรม ให้ทำสื่ออย่างมีคุณธรรม ไม่เอียงข้าง แต่อย่างไรก็ตามนายบุญยอดไม่ได้ฟ้องหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งนำเสนอข่าวดังกล่าวด้วยเช่นกัน[14] หลังจากมีการเจรจาไกล่เกลี่ยที่ศาล เว็บไซต์ประชาไท ยอมเขียนชี้แจงว่านายบุญยอด สุขถิ่นไทยไม่ได้แสดงหนังโป๊ แต่อย่างใด และยังคงเป็นบุคคลที่มิได้มีความเสื่อมเสียทางจริยธรรม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. มติครม. 14 มีนาคม 2566
  2. "จาก"คนจอแก้ว"สู่โลก"ละครการเมือง" บุญยอด สุขถิ่นไทย". มติชน. 2012-06-24. สืบค้นเมื่อ 2017-01-15.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-17. สืบค้นเมื่อ 2008-01-11.
  4. http://www.triamudom.ac.th/print.php?sid=34[ลิงก์เสีย]
  5. "ช่อง 3" ปลดฟ้าแลบ "บุญยอด สุขถิ่นไทย" เจ้าตัวเชื่อการเมือง เหตุชอบสวนทางรัฐฯ
  6. เปิดใจ บุญยอด สุขถิ่นไทย "ทำสื่อวันนี้ไม่ต่างจากยุค รสช."[ลิงก์เสีย]
  7. บุญยอด สุขถิ่นไทย เล่าข่าวดี...ไม่ต้องใส่สีตีไข่
  8. "สน.อาสาฯ ต้านนิรโทษกรรม 13 08 56 เบรก3". บลูสกายแชนแนล. 2013-08-13.
  9. http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=50570&NewsType=2&Template=1
  10. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  11. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  12. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรครวมไทยสร้างชาติ"". pptvhd36.com.
  13. เกิดอะไรขึ้น 'บุญยอด' ลาออกพ้นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  14. "สำลักจริยธรรม บุญยอด'เล่นหนังโป๊!'โกโบริน'จี้ขับพ้นสภาฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓