อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี

อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นผู้ริเริ่มเสนอ กฎหมายปฏิรูปเครดิตบูโร[1] อดีตรองหัวหน้าพรรคพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตเลขาธิการพรรคกล้า อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตจตุจักร หลักสี่ บางซื่อ พญาไท พรรคประชาธิปัตย์ ประธานกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย กรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า

อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี
อรรถวิชช์ ในปี พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า
ดำรงตำแหน่ง
16 ตุลาคม 2565 – 10 ตุลาคม 2566
เลขาธิการพรรคกล้า
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2565
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 มีนาคม พ.ศ. 2521 (46 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (?—2563)
กล้า (2563—2565)
ชาติพัฒนากล้า (2565—ปัจจุบัน)
คู่สมรสพิณ สุวรรณภักดี
บุตร2 คน
บุพการี
  • สมพงศ์ สุวรรณภักดี (บิดา)
  • ภคินี สุวรรณภักดี (มารดา)
ชื่อเล่นเอ๋

ประวัติ แก้

อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เกิดวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2521 ชื่อเล่น เอ๋[2] เป็นบุตรของนายสมพงศ์ สุวรรณภักดี อดีตอัยการ กับนางภคินี สุวรรณภักดี อดีตรองกรรมการผู้จัดการธนาคารมหานคร

อรรถวิชช์ สมรสกับพิณ สุวรรณภักดี (สกุลเดิม บูรพชัยศรี) มีบุตร 2 คน[3]

อรรถวิชช์ มีงานอดิเรกคือ การสะสมรถโบราณ โดยได้ดำรงตำแหน่งเป็น เลขาธิการสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย และเป็นเลขาธิการที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมาอีกด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีค่ายมวยเป็นของตัวเอง ชื่อ "ส.สุวรรณภักดี" ที่มีนักมวยในสังกัดเป็นแชมเปี้ยนของเวทีมวยลุมพินีในรุ่นแบนตัมเวต (118 ปอนด์) คือขวานเพชร ส.สุวรรณภักดี[4]

การศึกษา แก้

ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล รุ่น 75 (ศิษย์เก่าดีเด่น) ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นรหัส 38 (ศิษย์เก่าดีเด่น)[5] ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยบอสตัน [6]ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

นอกจากนั้น เขายังผ่านการศึกษาอบรมอีกหลายหลักสูตร อาทิ ประกาศนียบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ ประกาศนียบัตรแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งด้านนโยบายสาธารณะโดยสันติวิธี ประกาศนียบัตรชั้นสูงหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า ประกาศนียบัตร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการตลาดทุน ประกาศนียบัตร หลักสูตรการพัฒนากรรมการบริษัทมืออาชีพ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) DCP รุ่น107 ประกาศนียบัตร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง  มหานคร รุ่น 3 ประกาศนียบัตร หลักสูตรนักบริหารระดับสูง “ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม” นมธ.รุ่น1

อรรถวิชช์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคได้แนะนำให้ไปเรียนต่อในระดับปริญญาโท จนสำเร็จการศึกษาในสาขากฎหมายการเงินการธนาคารจาก มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และลงสมัคร ส.ส.ครั้งแรกกับพรรคประชาธิปัตย์จนได้รับการเลือกตั้งในเวลาต่อมา

การทำงาน แก้

อรรถวิชช์ เคยรับราชการสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง[7] มีผลงานเด่นหลายเรื่อง อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การกำกับดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลให้อยู่ในระดับร้อยละ 28 ต่อปี การกำกับธุรกิจบัตรเครดิต[8] และการควบรวมกิจการบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม ธนาคารทหารไทย และธนาคารดีบีเอสไทยทนุ รวมถึงงานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน การธนาคาร หลายฉบับ

พ.ศ. 2550 อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ชนะ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 4 คือ เขตจตุจักร, บางซื่อ, หลักสี่ สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ โดยร่วมทีมกับบุญยอด สุขถิ่นไทย และสกลธี ภัททิยกุล

พ.ศ. 2554 อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ชนะ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 9 คือ เขตจตุจักร สังกัด พรรคประชาธิปัตย์

พ.ศ. 2558 อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[9] หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร

ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 อรรถวิชช์ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่าได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เพื่อไปร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่กับกรณ์ จาติกวณิช อดีตรองหัวหน้าพรรคที่ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์มาแล้วก่อนหน้านั้นโดยได้กราบลาชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่นายอรรถวิชช์ให้ความเคารพนับถือเมื่อวันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563[10]

โดยในวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 9.30 น. อรรถวิชช์ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรณ์พร้อมผู้ร่วมก่อตั้ง 5 คนจะได้เดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่[11]

พ.ศ. 2566 อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เสนอกฎหมายปฏิรูปเครดิตบูโรภาคประชาชน ร่วมกับ สภาองค์กรของผู้บริโภค[12]

ทรัพย์สิน แก้

ในปี 2557 เขาเคยชี้แจงต่อ ป.ป.ช. ว่าตนมีทรัพย์สิน 201 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับทรัพย์สินของภรรยาและบุตรจะมี 366.7 ล้านบาท หนี้สิน 1.7 ล้านบาท พร้อมกับชี้แจงว่ามีรายได้ 202,217 บาทต่อเดือน เป็นเงินกองทุนเลี้ยงชีพ และค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ""อรรถวิชช์" จับมือ ภาคประชาชน-นักการเงิน "ปฏิรูปเครดิตบูโร" จ่อ เสนอ ก.ม." www.thairath.co.th. 2023-11-05.
  2. "ข้อมูล ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-14. สืบค้นเมื่อ 2010-07-03.
  3. "เปิดใจ ชีวิตหลังรัฐประหาร "อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี" คุณชายนักไฮด์ปาร์กแห่ง กปปส". mgronline.com. 2014-07-03.
  4. อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี - ปชป
  5. "พรรคประชาธิปัตย์ - Democrat Party, Thailand - คอลัมน์: ก็อซซิปการเมือง: รุ่นปู่-รุ่นหลาน . ปรบมือรัว ๆ ยินดีกับ "นายหัวชวน หลีกภัย"อดีตนายกรัฐมนตรี และ "เสี่ยเอ๋" อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ที่คว้ารางวัล "เกียรติภูมินิติโดม" รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ . ขอบอก รางวัล "เกียรติภูมินิติโดม" ศิษย์เก่าดีเด่นนิติ- ธรรมศาสตร์ เป็นรางวัลอันทรงเกียรติ ที่ต้องการเชิดชูศิษย์เก่าดีเด่นที่ทำงานเสียสละเพื่อส่วนรวม . ปีนี้จัดเป็นปีแรกโดยสมาคมนิติศาสตร์ ร่วมกับ คณะนิติ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจัดพิธีมอบกันไปแล้วรวม 180 ราย ในงาน "นิติศาสตร์รำลึก 2561" กระชับสัมพันธ์ศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบัน และคณาจารย์ . งานนี้ 'เสี่ยเอ๋" ยิ้มร่า อธิบายถึงที่มาของรางวัลนี้ว่า มีการเปิดให้เพื่อน ๆ แต่ละรุ่นมีส่วนร่วมด้วยในการโหวตกันมาผ่านทางไลน์และโทรศัพท์ เพราะถือว่าเป็นรางวัลแห่งเกียรติภูมิของรุ่น . "ผมรู้สึกเป็นเกียรติมาก โดยเฉพาะการได้รับรางวัลพร้อมกับ "ท่านชวน" เรียกได้ว่า เป็นรุ่นปู่กับรุ่นหลาน เพราะ "ท่านชวน" นิติโดมรุ่น 2501 ส่วนผม นิติโดม รุ่น 2538 ครับ" แหม ๆ ๆ รุ่นปู่ รุ่นหลาน ตบเท้ารับรางวัลรัว ๆ อย่างนี้ การันตี คนค่ายสีฟ้า คุณภาพคับแก้วครับพ้ม . ขอบคุณข้อมูลจาก : เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 ก.พ. 2561 #DemocratTH #ประชาธิปัตย์ | Facebook". www.facebook.com.
  6. "Homepage". Boston University (ภาษาอังกฤษ).
  7. "อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี "อย่าหาเหตุผลให้ความเลว"". bangkokbiznews. 2014-04-01.
  8. "สภาผ่านพรบ.บัตรเครดิต". posttoday. 2012-11-21.
  9. "'สุขุมพันธุ์' เซ็นตั้ง 'อรรถวิชช์-อดิศักดิ์' นั่งที่ปรึกษา ผู้ว่าฯ กทม". www.thairath.co.th. 2015-10-23.
  10. 'อรรถวิชช์'ลาปชป.อีกราย!เผยตกลงกับ'กรณ์'ทำงานการเมืองแบบ'ถึงไหนถึงกัน'
  11. "กรณ์"ถือฤกษ์10โมงครึ่ง14ก.พ.เปิดชื่อพรรคที่มี"พยางค์เดียว"
  12. "หน้าหลัก". สภาองค์กรของผู้บริโภค. 2566-09-14.
  13. https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2015/03/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%AA.%E0%B8%AA.-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87-1-%E0%B8%9B%E0%B8%B5.pdf
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

แหล่งข้อมูลอื่น แก้