อนุชา บูรพชัยศรี

อนุชา บูรพชัยศรี (เกิด 23 มกราคม พ.ศ. 2510) เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[1] โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[2] รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สองสมัย เป็นนักธุรกิจที่ก้าวสู่วงการการเมืองในปี พ.ศ. 2550

อนุชา บูรพชัยศรี
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 สิงหาคม พ.ศ. 2565
นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้า ธนกร วังบุญคงชนะ
ดำรงตำแหน่ง
18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564
นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้า นฤมล ภิญโญสินวัฒน์
ถัดไป ธนกร วังบุญคงชนะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 23 มกราคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
พรรค ประชาธิปัตย์ (2550–2563)
รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรส สุดารัตน์ บูรพชัยศรี

ประวัติแก้ไข

นายอนุชา บูรพชัยศรี (ชื่อเล่น : เจมส์) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (รุ่นเดียวกับอนุทิน ชาญวีรกุล) มัธยมศึกษาตอนปลายจาก วิทยาลัยเซเครทฮาร์ท (Sacred Heart College) ประเทศออสเตรเลีย จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาบัณฑิตที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยอเดเลด ต่อจากนั้นเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่คณะวิทยาศาสตร์ สาขาการพลังงานและการเผาไหม้ มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ และปริญญาโทอีกใบจากคณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3][4] ปัจจุบัน กำลังศึกษาหลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 63 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย

งานการเมืองแก้ไข

อนุชา ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อครั้งเขตเลือกตั้งยังเป็นแบบเขตใหญ่ (แบบทีม 3 คน) ร่วมกับนายกรณ์ จาติกวณิช และนายสมเกียรติ ฉันทวานิช และได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาฯ ทั้งสามคน

อนุชาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาฯเป็นสมัยที่สอง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 อนุชาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งที่สาม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ)[5] และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามลำดับ[6] อีกทั้งได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[7] ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 เขาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอีกหน้าที่หนึ่ง[8] ภายหลังจาก ธนกร วังบุญคงชนะ ลาออกหลังได้รับการเลื่อนบัญชีรายชื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[9]

งานภาคเอกชนแก้ไข

  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมโทรเอ็นจิเนียริ่งแอนด์แมชชีนเนอรี่ จำกัด
  • กรรมการบริหาร บริษัทในกลุ่มเอ็มอีซี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ครม.ตั้ง “ธนกร” เป็นโฆษกทำเนียบฯ แทน “อนุชา” ขยับนั่งรองเลขาฯ นายกฯ
  2. ครม.เคาะ “อนุชา” นั่งโฆษกรัฐบาลคนใหม่
  3. เปิดประวัติ 'อนุชา บูรพชัยศรี' หลัง ครม. อนุมัติตั้งเป็นโฆษกรัฐบาล
  4. ประวัติอนุชา บูรพชัยศรี ข้อมูลล่าสุดของอนุชา บูรพชัยศรี
  5. คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๐๗๗/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  6. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 สิงหาคม 2563
  7. อนุชา บูรพชัยศรี คนออกจากประชาธิปัตย์แล้วได้ดี เป็นโฆษกรัฐบาล
  8. "'บิ๊กตู่'จิ้มแล้ว! เซ็นแต่งตั้ง'อนุชา บูรพชัยศรี'คัมแบ็กนั่งโฆษกรัฐบาลคนใหม่". naewna.com. 2022-08-18.
  9. ได้สมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ก่อนหน้า อนุชา บูรพชัยศรี ถัดไป
ธนกร วังบุญคงชนะ    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)
  อยู่ในวาระ
นฤมล ภิญโญสินวัฒน์    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564)
  ธนกร วังบุญคงชนะ

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข