สกลธี ภัททิยกุล
สกลธี ภัททิยกุล (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2520) อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[2] อดีตแกนนำ กปปส. และผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2565
สกลธี ภัททิยกุล | |
---|---|
สกลธีเมื่อปี 2561 | |
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 10 เมษายน พ.ศ. 2561 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2565[1] | |
ผู้ว่าการ | อัศวิน ขวัญเมือง |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก ชินทัต มีศุข |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | ลลิตา ฤกษ์สำราญ ศุภมาศ อิศรภักดี เฉลิมชัย จีณะวิจารณะ รชฏ พิสิษฐบรรณกร |
ถัดไป | ชื่นชอบ คงอุดม สุรชาติ เทียนทอง อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี |
เขตเลือกตั้ง | เขตบางซื่อ, เขตหลักสี่, เขตจตุจักร และเขตพญาไท |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2550–2561) พลังประชารัฐ (2561–2564, 2566–2567) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | กปปส. |
คู่สมรส | นันท์นัดดา ภัททิยกุล |
บุตร | 2 คน |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้สกลธี เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2520[3] มีชื่อเล่นว่า จั้ม เป็นบุตรชายคนโตของ พลเอกวินัย ภัททิยกุล อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กับนางศศิณี ภัททิยกุล
สกลธี จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียลและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบปริญญาโทด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่าและ มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เคยรับราชการอยู่ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และถูกดึงตัวโดยจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้ไปช่วยงานเป็นเลขานุการส่วนตัว
ชีวิตส่วนตัว สกลธีสมรสกับนางนันท์นัดดา ภัททิยกุล มีบุตร 2 คน เป็นบุตรสาว 1 คนและบุตรชาย 1 คน นอกจากนี้สกลธี เคยเป็นผู้จัดการทีมมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย ชุดซีเกมส์ 2009 ที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว และเอเชียนเกมส์ 2010 ที่กว่างโจว ประเทศจีน
การทำงาน
แก้สกลธี เข้ารับราชการในกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ต่อมาได้ทำหน้าที่เลขานุการของจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 สกลธี ได้ลาออกจากราชการเพื่อไปสมัครลงรับเลือกตั้งกับทางพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจากการเป็นบุตรชายของ พลเอกวินัย เลขาธิการ คมช. จึงทำให้ถูกมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของ คมช. แต่ทั้งนายสกลธี พลเอกวินัย และทางพรรคประชาธิปัตย์ได้ปฏิเสธเรื่องนี้อย่างสิ้นเชิง
ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 สกลธี ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรุงเทพมหานคร เขต 4 คือ เขตจตุจักร, บางซื่อ, หลักสี่ คู่กับบุญยอด สุขถิ่นไทย และอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ซึ่งได้รับเลือกตั้งทั้ง 3 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 สกลธี ได้ลงสมัครในกรุงเทพมหานคร เขต 11 คือ เขตหลักสี่ โดยมีคู่แข่งคือ สุรชาติ เทียนทอง บุตรชายของเสนาะ เทียนทอง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในปี พ.ศ. 2561 สกลธีได้เข้าดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 1215/2561[4] ลงนามโดย พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง สืบต่อจาก พลตำรวจเอกชินทัต มีศุข ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561
วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 สกลธีได้ไปร่วมงานเปิดตัว พรรคพลังประชารัฐ[5] ต่อมาในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สกลธีได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคพลังประชารัฐ ประจำปี 2562 ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์[6] แต่หลังจากนั้นในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 สกลธีก็ได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ[7]
ในปี พ.ศ. 2565 สกลธีได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามผู้สมัครอิสระ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สกลธีได้ปรากฏตัวในงานเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคพลังประชารัฐ[8] ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ[9] โดยสกลธีกลับเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐอีกครั้ง[10] และรับหน้าที่หัวหน้าทีมดูแลการเลือกตั้งกรุงเทพมหานครของพรรค ร่วมกับ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์[11]
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 สกลธีได้ประกาศผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งอื่น ๆ ของพรรคพลังประชารัฐ [12]
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
แก้ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 สกลธีถือเป็นแนวร่วมคนสำคัญคนหนึ่งของ กปปส. ร่วมกับคนอายุคราวเดียวกัน คือ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, ชุมพล จุลใส และพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์[13][14]
ในกลางดึกของคืนวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 สกลธีได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวระหว่างเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามหมายศาลที่ออกมาในข้อหาการชุมนุม แต่ได้ถูกประกันตัวไปในวงเงิน 600,000 บาท หลังจากนั้นไม่นานนัก[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[17]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ “สกลธี” ไขก๊อกรองผู้ว่าฯ-ประกาศลงชิงเก้าอี้ “พ่อเมืองหลวง” ในนามอิสระ
- ↑ "'บิ๊กป้อม'ร่วมครั้งแรก พปชร.ถกใหญ่ เพิ่ม 17 กก.บห. 'สุริยะ'นอนมาจากร.พ." ข่าวสด. 2019-12-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ข้อมูล ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-14. สืบค้นเมื่อ 2010-07-03.
- ↑ คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 1215/2561 จาก ราชกิจจานุเบกษา 7 May 2018
- ↑ "เปิดตัวยกแรก พลังประชารัฐอ่วม". posttoday. 2018-10-02. สืบค้นเมื่อ 2023-01-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พปชร.เคาะแล้ว'กก.บห.'ทัพใหญ่ เปลี่ยนโลโก้พรรคลบทิ้งเหลี่ยมคมทิ่มแทงตัวเอง". ไทยโพสต์. 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-01-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""สกลธี"ลาออกพลังประชารัฐ ลงชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม". posttoday. 2021-12-24. สืบค้นเมื่อ 2023-01-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'พลังประชารัฐ' เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. 71 คน ให้ 'สกลธี' นำทัพ กทม". workpointTODAY. 2023-01-24. สืบค้นเมื่อ 2023-01-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""พล.อ.ประวิตร"นำทีมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พลังประชารัฐ ชุดใหญ่ 71 คน "บิ๊กเนม-คนดัง-ย้ายค่าย"มาเพียบ!". มติชนสุดสัปดาห์. 2023-01-24. สืบค้นเมื่อ 2023-01-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ยังเป็นสกลธีคนเดิมที่ทุกคนเคยรัก" 'สกลธี' เปิดตัวคุมทีมเลือกตั้ง กทม. กับพรรคพลังประชารัฐ". The MATTER. 2023-01-24. สืบค้นเมื่อ 2023-01-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สกลธีกลับพลังประชารัฐ ขอบคุณประวิตร ขอใช้ทุกความสามารถทำนโยบายเลือกตั้งให้ตอบโจทย์คนกรุงเทพฯฯ". THE STANDARD. 2023-01-24. สืบค้นเมื่อ 2023-01-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ‘สกลธี’ไขก๊อกสมาชิกพปชร. ขอทบทวน-ศึกษาการเมืองแนวทางใหม่
- ↑ ""4 คุณหนู" ฮาร์ดคอร์ สุดยอดคอนเนกชัน-ใครอย่าแตะ!". ผู้จัดการออนไลน์. 6 Feb 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-03. สืบค้นเมื่อ 16 Apr 2015.
- ↑ "4 เสือ กปปส. เวทีสวนลุมพินี 27 04 57". youtube.com. 27 Apr 2014. สืบค้นเมื่อ 16 Apr 2015.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ตม.จับคาด่านฯ 'สกลธี'แกนนำกปปส". ไทยรัฐออนไลน์. 27 Apr 2014. สืบค้นเมื่อ 16 Apr 2015.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔