จรัญ ภักดีธนากุล

ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล (เกิด 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493) เป็นนักนิติศาสตร์ชาวไทย อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมและผู้พิพากษาศาลยุติธรรม และยังเป็นผู้บรรยายวิชากฎหมายลักษณะพยานที่เนติบัณฑิตยสภาอีกด้วย

จรัญ ภักดีธนากุล
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม 2551 – 31 มีนาคม 2563
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 (74 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล

ประวัติ แก้

จรัญ ภักดีธนากุล เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 เกิดที่จังหวัดพระนคร สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 1 ของสมัยที่ 25) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม สาขาวิชากฎหมาย (B.A. in Law Cantab) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ และเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษจากสำนักเกรส์อิน (Gray's Inn) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

จรัญเริ่มรับราชการเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ รองเลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ เลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ (ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2535) ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540) ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ ในสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544[1] เป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และเลขาธิการประธานศาลฎีกา (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545) ตามลำดับ โดยระหว่างดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา จรัญมีบทบาทในการแถลงข่าวแทนฝ่ายตุลาการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์การเมือง ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนเมษายน 2549 และการมีพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับให้เข้ามาแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าว

ต่อมา จรัญได้รับเลือกเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ โดยวาระการดำรงตำแหน่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แต่ก่อนจะเริ่มดำรงตำแหน่ง ก็ได้ขอโอนย้ายจากข้าราชการตุลาการไปยังข้าราชการพลเรือน โดยไปเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีนั้น นอกจากนี้ ในช่วงปีดังกล่าวซึ่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร และจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ จรัญยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กับทั้งยังอยู่ในฝ่ายสนับสนุนรับร่างด้วย

ต่อมา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 จรัญได้รับเลือกจากวุฒิสภาให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขานิติศาสตร์อย่างแท้จริงตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม ปีนั้นเอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2550 จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ได้รับปริญญา​นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต​กิตติมศักดิ์​ ประจำปี​ 2562​ จากมหาวิทยาลัย​ขอนแก่น​

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (77 ง): 1. 25 กันยายน 2544. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๗, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๗, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓