คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองในประเทศไทย

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ย่อ: คปค.) เป็นคณะบุคคลประกอบด้วยทหาร ตำรวจ และพลเรือน มีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้า ซึ่งก่อรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 มีที่ตั้ง ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ถัดไปคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ก่อตั้ง19 กันยายน พ.ศ. 2549 (18 ปีก่อน)
ยุติ1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (18 ปีก่อน)
ประเภทคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง
สํานักงานใหญ่กองบัญชาการกองทัพบก
หัวหน้า
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
บุคลากรหลัก

ที่มาของ คปค.

แก้

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นำพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายรายงานสถานการณ์เมื่อเวลา 00.19 น. ของวันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และพลเอก สนธิ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลอันมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่เคลือบแคลงสงสัยว่าการบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่เคารพ เทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง แม้หลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอมคลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ พลเอก สนธิ และคณะ จึงก่อรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง และทำหน้าที่เป็น คปค.

สมาชิก

แก้
 
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะ

การจัดส่วนงาน และการแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ

แก้

กองบัญชาการ คปค. ประกอบด้วยส่วนงาน 4 ส่วน คือ

  • คปค. มีหัวหน้า คปค. เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีหน้าที่ดังนี้
    • บริหารราชการแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน และให้เป็นไปตามนโยบายที่ คปค. กำหนด
    • อำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล บริหารงานของกระทรวง ทบวง กรม ในความรับผิดชอบให้สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด
  • สำนักเลขาธิการ มีเลขาธิการ คปค. เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบงานธุรการ และกลั่นกรองบรรดาแถลงการณ์ คำสั่ง หรือประกาศ หรือเอกสารอื่นใดที่ประกาศให้ทราบทั่วไป ก่อนนำเสนอหัวหน้า คปค.
  • คณะที่ปรึกษา มีประธานที่ปรึกษา คปค. เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาต่อ คปค. ในนโยบายความมั่นคงด้านต่าง ๆ ตามที่ คปค. ร้องขอ หรือที่ริเริ่มขึ้นเอง
  • ฝ่ายกิจการพิเศษ มีเลขาธิการฝ่ายกิจการพิเศษเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีหน้าที่อำนวยการและประสานงานให้เป็นไปตามคำสั่งของ คปค.

สำนักโฆษก

แก้

มีหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้องแก่สื่อมวลชนและประชาชน มีสมาชิก 9 คนดังต่อไปนี้

คณะโฆษกทางโทรทัศน์

แก้

มีหน้าที่อ่านแถลงการณ์ คำสั่ง และประกาศต่าง ๆ ของ คปค. ออกอากาศเป็น รายการพิเศษทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยมีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นแม่ข่าย มีรายนามดังต่อไปนี้

คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย

แก้

ชื่อภาษาอังกฤษ

แก้

เดิม คปค. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy" (ย่อ: CDRM) ต่อมาได้ตัดคำว่า "under Constitutional Monarchy" ออก เพื่อไม่ให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความว่า คปค. เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ชื่อภาษาอังกฤษจึงเป็น "Council for Democratic Reform" (ย่อ: CDR)[2]

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

แก้

หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 คปค. แปรสภาพเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

อ้างอิง

แก้
  1. "การจัดส่วนงาน และ การแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2006-10-02.
  2. Council for Democratic Reform

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถัดไป
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
(รสช.) (23 กุมภาพันธ์ 2534 – 21 เมษายน 2535)
  คปค.
(19 กันยายน – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549)
  คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) (1 ตุลาคม 2549 – 7 กุมภาพันธ์ 2551)