วิษณุ เครืองาม

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2494) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลหลายชุดและในหลายหน่วยงาน และเป็นราชบัณฑิตสาขาวิชากฎหมายปกครอง[1]

วิษณุ เครืองาม
วิษณุ ใน พ.ศ. 2563
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(9 ปี 2 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2549
(3 ปี 264 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
รักษาราชการแทน
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2566 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 164 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสมศักดิ์ เทพสุทิน
(รัฐมนตรีว่าการ)
ถัดไปทวี สอดส่อง
(รัฐมนตรีว่าการ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
รักษาราชการแทน
ดำรงตำแหน่ง
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(0 ปี 14 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
(รัฐมนตรีว่าการ)
ถัดไปสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
(รัฐมนตรีว่าการ)
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(9 ปี 0 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
บรรหาร ศิลปอาชา
ชวลิต ยงใจยุทธ
ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าบดี จุณณานนท์
ถัดไปบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2494 (72 ปี)
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสวัชราภรณ์ เครืองาม
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
ปร.ด.
วิชาชีพนักการเมือง
นักกฎหมาย
ศาสตราจารย์
ลายมือชื่อ

วิษณุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2515[1] แล้วเริ่มรับราชการในปีนั้นด้วยการเป็นอาจารย์กฎหมายที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และที่อื่น ๆ จน พ.ศ. 2534 ได้โอนมาสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายหลังยังได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในช่วง พ.ศ. 2535–2543 เลขาธิการคณะรัฐมนตรีในช่วง พ.ศ. 2536–2545 และกรรมการกฤษฎีกาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน

วิษณุเคยทำงานด้านการเมืองกับรัฐบาลหลายชุด เช่น ดำรงตำแหน่งโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2535 ช่วงที่พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากที่มีรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 ตลอดจนดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2545 ในคณะรัฐมนตรีที่มีทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหลังจากที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

ในการทำงานกับพลเอก ประยุทธ์ วิษณุมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าหาข้อเบี่ยงเลี่ยงกฎหมายให้ฝ่ายของพลเอก ประยุทธ์ จนฝ่ายอื่นและสื่อสังคมตั้งฉายาให้วิษณุว่า "บิดาแห่งการยกเว้น"[2][3] หรือ "บิดาแห่งข้อยกเว้น"[4][5][6]

นอกจากตำแหน่งหน้าที่ข้างต้นแล้ว วิษณุยังเป็นประธานและกรรมการในคณะกรรมการหลายคณะ เป็นนายกและกรรมการในสภาของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ทั้งยังมีงานเขียนบทความและหนังสืออีกจำนวนหนึ่ง

ประวัติ

แก้

วิษณุเกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2494 ที่ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีชื่อเดิมว่า พิธาน เครืองาม เป็นบุตรของบุญทรง และถาวร เครืองาม มีน้องสาวชื่อ ศิริมา นิลรัตน์ น้องชาย 2 คนชื่อ พลอากาศตรี นายแพทย์เฉลิมชัย เครืองาม และศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต เครืองาม

วิษณุสมรสกับวัชราภรณ์ เครืองาม (แป้ง) เดิมชื่อ วราภา มีบุตรชาย 1 คนชื่อ วิชญะ เครืองาม[7] บุตรชายสมรสกับนันทนัช ศิรธรานนท์ บุตรีของเจตน์ ศิรธรานนท์

การศึกษา

แก้

วิษณุจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนกอบกาญจน์ศึกษา และโรงเรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ และมัธยมปีที่ 4-5 จากโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทองพระราชทานทุนภูมิพล) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย (โดยสอบไล่ได้ลำดับที่ 2) จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

วิษณุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท Master of Laws (LL.M.) และปริญญาเอก Doctor of the Science of Law (J.S.D.) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐ ด้วยทุนรัฐบาล

การทำงาน

แก้

งานราชการ

แก้

วิษณุเริ่มรับราชการใน พ.ศ. 2515 เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปีต่อมาได้ย้ายมาประจำที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2529

ใน พ.ศ. 2534 วิษณุได้โอนมารับราชการพลเรือนในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 สมัย ในระหว่าง พ.ศ. 2535 – 2543 และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2536 – 2545

นอกจากนั้น ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน และได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2, กฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน) ต่อมาในวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการกฤษฎีกาพร้อมกับอาคม เติมพิทยาไพสิฐ[8]

งานการเมือง

แก้

วิษณุเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา (2535-2539) เคยรักษาการในตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2535 สมัยรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร และได้เข้าร่วมงานการเมืองอีกครั้งในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2545 โดยรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[9] (2 สมัย) รับผิดชอบงานเกี่ยวกับกฎหมายของรัฐบาล ต่อมาหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[10] และเป็นศาสตราภิชานคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[11]

หลังสิ้นสุดภารกิจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2551 วิษณุไม่ได้เข้ารับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ แต่ยังรับหน้าที่ในคณะกรรมการของรัฐอีกหลายคณะ กระทั่งในปี พ.ศ. 2557 รับตำแหน่งที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดูแลด้านกฎหมายยุติธรรม และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[12] รับผิดชอบดูแลงานกระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และราชบัณฑิตสภา[13]ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ได้รับแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี(นาย เศรษฐา ทวีสิน) ด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติราชการ

งานการศึกษา

แก้

นอกจากนี้ วิษณุยังเคยเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[23]

งานธุรกิจ

แก้

วิษณุเป็นประธานกรรมการบริษัทบางกอกโพสต์ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[24]

งานเขียน

แก้

วิษณุมีผลงานหนังสือ เช่น

  • ครัว ครม.
  • ภูฏาน วิมานปลายฟ้า
  • โลกนี้คือละคร
  • เล่าเรื่องผู้นำ
  • หลังม่านการเมือง
  • เดินดินกินข้าวแกง
  • ลงเรือแป๊ะ
  • ชีวิตดั่งหาดทรายและทะเล
  • เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก

รางวัลเกียรติคุณ

แก้
  • พ.ศ. 2534 รับพระราชทานรางวัลตัวอย่างบุคคลผู้พูดภาษาไทยได้ถูกต้อง และเหมาะสม จากมหาวิทยาลัยมหิดลและราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2534
  • พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขานิติศาสตร์ ประจำปี 2539 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2540 ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะนิติศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2540
  • พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2540 (รางวัลครุฑทองคำ) ของสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541[ต้องการอ้างอิง]
  • พ.ศ. 2541 ได้รับรางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2541 จากสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย
  • พ.ศ. 2543 ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2543
  • พ.ศ. 2544 ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2546 ได้รับแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตทางนิติศาสตร์
  • พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลบุษบกทองผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย[25]
  • พ.ศ. 2556 ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[ต้องการอ้างอิง]
  • พ.ศ. 2556 ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2557 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม (ราชบัณฑิต)". ราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2558. สืบค้นเมื่อ 2562-12-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. The Isaander (2562-09-24). "วิษณุ เครืองาม: นักการเมืองที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย". ประชาไท. กรุงเทพฯ: ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 2562-12-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "'วัน อยู่บำรุง'โพสต์อัด'วิษณุ'แถ แถ๊ดๆ ติดแฮชแท็ก'บิดาแห่งการยกเว้น'". โพสต์ทูเดย์. กรุงเทพฯ: โพสต์ทูเดย์. 2562-09-18. สืบค้นเมื่อ 2562-12-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""อนุสรณ์"เหน็บ"วิษณุ"เป็นบิดาแห่งข้อยกเว้น". เดลินิวส์. กรุงเทพฯ: เดลินิวส์. 2562-12-12. สืบค้นเมื่อ 2562-12-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "'เพื่อไทย' จวก 'วิษณุ' บิดาแห่งข้อยกเว้น ปมอุ้ม 'ปาวีณา'". กรุงเทพธุรกิจ. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ. 2562-12-12. สืบค้นเมื่อ 2562-12-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ปิยบุตร ยกคำพูดในตำรา ย้อนเกล็ด วิษณุ ปมถวายสัตย์ฯ วอนเลิกเป็น บิดาแห่งข้อยกเว้น". กะปุก. กรุงเทพฯ: กะปุก. 2562-09-18. สืบค้นเมื่อ 2562-12-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ป๊าไม่ได้ดัน! ดร.โอม "วิชญะ เครืองาม"
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกา
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๒๒ ง หน้า ๑, ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง หน้า ๗, ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙
  11. ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง หน้า ๑, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
  13. นายกฯ"แบ่งงาน 6 รองนายกฯ....
  14. คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เก็บถาวร 2012-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  15. คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เก็บถาวร 2013-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  16. สภามหาวิทยาลัยทักษิณ >> สภามหาวิทยาลัยชุดปัจจุบัน เก็บถาวร 2016-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  17. สภามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เก็บถาวร 2013-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  18. คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  19. สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เก็บถาวร 2013-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  20. กรรมการสภามหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2017-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  21. สภามหาวิทยาลัยเก็บถาวร 2012-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  22. สภาสถาบันพระปกเกล้าสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  23. "เปิดประวัติ วิษณุ เครืองาม "เนติบริกร" รัฐบาลทักษิณ". mgronline.com. 2006-06-23.
  24. "เปิดตัววิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯหลายสมัย เป็นประธานกรรมการบริษัทบางกอกโพสต์". matichon.co.th. 2024-05-09.
  25. ข่าวประชาสัมพันธ์ มธ. เก็บถาวร 2020-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 26 กันยายน 2556
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๗, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๖, ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๒๖, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
  33. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี หน้า ๙๕ เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข, ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
ก่อนหน้า วิษณุ เครืองาม ถัดไป
พงศ์เทพ เทพกาญจนา    
รองนายกรัฐมนตรี (ครม.61-62)
ฝ่ายกฎหมาย

(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
  อนุทิน ชาญวีรกูล
ภูมิธรรม เวชยชัย
สมศักดิ์ เทพสุทิน
ปานปรีย์ พหิทธานุกร
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ปองพล อดิเรกสาร
   
รองนายกรัฐมนตรี (ครม.54-55)
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
  หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
(รัฐมนตรี)
   
รักษาราชการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(ครม.62)

(21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563)
  สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
(รัฐมนตรี)
ไพบูลย์ คุ้มฉายา
(รัฐมนตรี)
   
รักษาราชการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(ครม.61)

(6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
(รัฐมนตรี)
บดี จุณณานนท์    
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม.48)
(28 เมษายน พ.ศ. 2535 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
  มนตรี เจนวิทย์การ