หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล (เกิด 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) ชื่อเล่น คุณชายอุ๋ย เป็นนักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย รองประธานกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 17 อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
ปรีดิยาธร เทวกุล | |
---|---|
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธรใน พ.ศ. 2551 | |
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 31 พฤษภาคม 2544 – 7 ตุลาคม 2549 | |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล |
ถัดไป | ธาริษา วัฒนเกส |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | ทนง พิทยะ |
ถัดไป | ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ดำรงตำแหน่ง 18 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | สุวิทย์ ยอดมณี |
ถัดไป | ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 |
พรรคการเมือง | อิสระ |
คู่สมรส | ประภาพรรณ เทวกุล ณ อยุธยา |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เป็นโอรสของพลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหม่อมแตงไทย เทวกุล ณ อยุธยา เคยสมรสกับปอลิน อินทสุกิจ มีบุตรชาย 2 คน คือ หม่อมหลวงปรมาภรณ์ เทวกุล (คุณเปรม) และหม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล (พิธีกรรายการโทรทัศน์ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "คุณปลื้ม") ต่อมาสมรสใหม่กับประภาพรรณ เทวกุล ณ อยุธยา มีบุตรสาว คือ หม่อมหลวงพุดจีบ เทวกุล
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จาก Wharton School มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เมื่อปี 2513 และอบรมหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2532[1][2]
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เริ่มทำงานที่ธนาคารกสิกรไทย ตั้งแต่ปี 2514 จนได้รับตำแหน่งกรรมการรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส จากนั้นดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี 2533 และยน พ.ศ. ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน[3] และพลเอก สุจินดา คราประยูร และดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก ช่วงปี 2535–2536 [4]
จากนั้นรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2544[5] ต่อจากหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล ในรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ได้รับรางวัลผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งเอเชีย ประจำปี 2549 (Central Bank Governor of the Year -Asia 2006) จากการคัดเลือกของนิตยสาร The Banker ในเครือ Financial Times ประเทศอังกฤษ [6][7]
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการ มูลนิธิอาจารย์ป๋วย ประธานกรรมการสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
งานการเมือง
แก้รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน
แก้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2533 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี พ.ศ. 2534[8] และได้รับแต่งตั้งอีกครั้ง ใน ครม. 48
รัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร
แก้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอก สุจินดา คราประยูร[9] ต่อจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกุวฒิสภา ในปี พ.ศ. 2535-2536
รัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
แก้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธรรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ [10] ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาได้ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 โดยการลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 โดยเหตุผลหลักตามที่ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธรได้แถลงในการลาออกนั้นคือ ความไม่พอใจในการนำคนจากรัฐบาลที่แล้ว (สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) มาทำงาน และการดำเนินงานของรัฐมนตรีบางคนที่เอื้อประโยชน์ให้สื่อบางรายเป็นการเฉพาะ[11]
นโยบายที่สำคัญ
แก้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ในสมัยที่ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท ด้วยการสำรองเงินลงทุนจากต่างประเทศ 30 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลาหนึ่งปีโดยไม่ให้ดอกเบี้ย ผลของมาตรการนั้นทำให้ ตลาดหลักทรัพย์ตกไปมากกว่า 100 จุดในหนึ่งวันและทำให้ต้องมีการพักการซื้อขายชั่วคราว ภายหลังจากการออกมาตรการไม่ถึงหนึ่งวัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวโดยยกเว้น เงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และเงินลงทุนในอีกหลายประเภท
รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
แก้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[12] และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม 2557[13] ถึง 30 กันยายน 2558[14]
วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เขากล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสามเดือนแรก ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2557 ใช้เงินทั้งสิ้น 364,465.4 ล้านบาท โดยมีการใช้งบคงค้างและงบประมาณประจำปี 2558 เพื่อสร้างงาน เร่งลงทุนขนาดเล็กทั่วประเทศโดยเน้นซ่อม สร้าง มากกว่าสนองตอบความต้องการของประชาชนจริง ๆ บางส่วนให้แต่ละกระทรวงไปคิดหาวิธีใช้เงินเอง และแจกเงินให้ชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ เขายังกล่าวว่า "ที่รัฐบาลใช้เงินรอบนี้ 40,000 ล้านบาท ก็ดีกว่าไปขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวปีละ 250,000 ล้านบาท และทำแค่ปีเดียวเท่านั้น ไม่เรียกว่าเป็นโครงการประชานิยม เพราะไม่ได้ต้องการคะแนนเสียง ตอนนี้ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ"[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[18]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
รางวัลที่ได้รับ
แก้- ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร ประเภททั่วไป ประจำปีการศึกษา 2558 จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ชีวประวัติ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
- ↑ "Misc > เกี่ยวกับ ก.ล.ต. > คณะกรรมการ ก.ล.ต." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๖๙ หน้า ๒, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ "การทำงานดำรงตำแหน่ง หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-11. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ "เรื่อง ผู้ว่าการ ธปท. ได้รับรางวัลผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งเอเชีย ประจำปี 2549". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-22. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ "'The Banker' editor Brian Caplen, left, awards the plaque of honour to MR Pridiyathorn Devakula". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-25. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๒๓ ง หน้า ๔, ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๑ หน้า ๒, ๑๗ เมษายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง หน้า ๑, ๙ ตุลาคม ๒๕๔๙
- ↑ คนในข่าว - "อุ๋ย"หนีถอย! "อ๋อย"ท้าชน! (1)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง หน้า ๑, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ ๒๒/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๙๓ ง หน้า ๑, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๖/๒๕๕๘ เปลี่ยนแปลงรายชื่อคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๑๑ ง หน้า ๒๓, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
- ↑ 4หมื่นล.แจกชาวนา ไร่ละพัน กระตุ้นเศรษฐกิจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล | ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (31 พฤษภาคม 2544 – 7 ตุลาคม 2549) |
ธาริษา วัฒนเกส | ||
กิตติรัตน์ ณ ระนอง | รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.61) (31 สิงหาคม 2557 – 19 สิงหาคม 2558) |
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ | ||
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ | รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.56) (8 ตุลาคม 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550) |
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ | ||
ทนง พิทยะ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.56) (8 ตุลาคม 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550) |
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ | ||
สุวิทย์ ยอดมณี | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม.46) (9 ธันวาคม 2533 – 23 กุมภาพันธ์ 2534) |
ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ |