ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Kasikornbank Public Company Limited; SET:KBANK) (จีนตัวย่อ: 开泰银行 ; จีนตัวเต็ม: 開泰銀行 ; พินอิน: Kāi Tài Yínháng) (ญี่ปุ่น: 開泰銀行; โรมาจิ: Hari Tai Ginkō) เป็นธนาคารในประเทศไทย โดยมีคำขวัญว่า "บริการทุกระดับประทับใจ" ปัจจุบันมีสาขาทั้งสิ้น 1,132 สาขา ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารอันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับธนาคารแห่งปี หรือ Bank of the year ในปี พ.ศ. 2564-2565
![]() | |
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | SET:KBANK |
ISIN | TH1522733780 ![]() |
อุตสาหกรรม | ธุรกิจการเงิน ธนาคาร |
ก่อตั้ง | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (78 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | โชติ ล่ำซำ |
สำนักงานใหญ่ | 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
บุคลากรหลัก | กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (ประธานกรรมการ) ขัตติยา อินทรวิชัย (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) |
รายได้ | ![]() |
สินทรัพย์ | ![]() |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | ![]() |
พนักงาน | 19,153 |
อันดับความน่าเชื่อถือ | Fitch: AA+(tha)[2] |
เว็บไซต์ | www |
ธนาคารกสิกรไทยมีสำนักงานใหญ่แห่งแรกตั้งอยู่ที่ถนนเสือป่า ต่อมาได้ขยายการบริหารงาน ไปยังสำนักถนนสีลม, สำนักถนนพหลโยธิน และสำนักถนนราษฎร์บูรณะ ก่อนจะย้ายสำนักงานใหญ่จากอาคารราษฎร์บูรณะ กลับมายังถนนพหลโยธินในปัจจุบัน
ประวัติ แก้
ธนาคารกสิกรไทย (ชื่อภาษาอังกฤษเดิม: Thai Farmers Bank; TFB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 โดยกลุ่มสกุลล่ำซำ ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 5 ล้านบาท โดยมีพนักงานชุดแรก จำนวน 21 คน มีอาคารที่ทำการ ซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาสำนักถนนเสือป่า ทั้งนี้ งวดบัญชีแรกของธนาคารฯ นับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม สิ้นปีเดียวกัน มียอดเงินฝากจำนวน 12 ล้านบาท และธนาคารฯ มีสินทรัพย์รวม 15 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มีทุนจดทะเบียน 30,486 ล้านบาท มีสินทรัพย์จำนวน 2,339,798 ล้านบาท เงินรับฝากจำนวน 1,567,499 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อจำนวน 1,471,922 ล้านบาท มีสาขาและสำนักงานย่อยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 315 สาขา และส่วนภูมิภาคจำนวน 739 สาขา มีสาขาและสำนักงานตัวแทนต่างประเทศจำนวน 11 แห่ง ได้แก่ สาขาลอสแอนเจลิส สาขาฮ่องกง สาขาหมู่เกาะเคย์แมน สาขาเซินเจิ้น สาขาเฉิงตู สาขาย่อยหลงกั่ง สำนักงานผู้แทนกรุงปักกิ่ง สำนักงานผู้แทนนครเซี่ยงไฮ้ สำนักงานผู้แทนเมืองคุนหมิง สำนักผู้แทนงานกรุงโตเกียว และสำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง สาขาและสำนักงานผู้แทนในต่างประเทศเหล่านี้ ให้บริการและส่งเสริมความสะดวกต่าง ๆ ด้านการค้า การเงินระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่ค้าทั่วโลก[3]
วิวัฒนาการ แก้
- พ.ศ. 2516 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตอเนกประสงค์" ที่ให้บริการถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบเอทีเอ็ม อันเป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2523 - ธนาคารฯ เริ่มออกใบรับฝากเงิน ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Certificate of Deposits) ในตลาดการเงินของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทย ที่ดำเนินการดังกล่าว
- พ.ศ. 2536 - ธนาคารฯ เริ่มนำระบบ "รีเอ็นจิเนียริ่ง" (Reengineering) มาใช้เป็นแห่งแรก ซึ่งส่งผลให้วงการธนาคารพาณิชย์ไทยตื่นตัว กับการปรับปรุงรูปแบบสาขาและการให้บริการ และธนาคารฯ ได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน และเปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)" ทะเบียนเลขที่ บมจ.105 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538 - ธนาคารฯ จับมือกับบริษัทองค์กรภาครัฐและเอกชนที่มีความสัมพันธ์อันดีทางธุรกิจจำนวน 8 ราย ตามนโยบายของรัฐฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมองค์กร" ได้แก่ "บัตรเครดิตร่วมวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดกสิกรไทย-เอ็มเอ็มซี สิทธิผล"เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มคนใช้รถยนต์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 22 มิถุนายน ปีเดียวกัน เดือนถัดมา ธนาคารเริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดกสิกรไทย-โรบินสัน เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่จับจ่ายใช้สอยเป็นแห่งที่สองของประเทศไทย จาก บมจ.ห้างฯโรบินสัน เริ่มเปิดตัว 5 กรกฎาคม ปีเดียวกัน เดือนถัดมาธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดกสิกรไทย-วิภาวดีเฮลท์แคร์" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มคนดูแลสุขภาพเป็นแห่งที่สามของประเทศไทย จาก บมจ.โรงพยาบาลวิภาวดี เริ่มเปิดตัว 14 สิงหาคม ปีเดียวกัน เดือนถัดมาธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดกสิกรไทย-เมอร์เซเดส" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มคนใช้รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์เป็นแห่งที่สี่ของประเทศไทย จาก บจก.ธนบุรีประกอบยนต์ เริ่มเปิดตัว 20 กันยายน ปีเดียวกัน เดือนถัดมาธนาคารฯ เริ่มให้บริการ"บัตรเครดิตร่วมวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดกสิกรไทย-เมืองไทยประกันภัย-เมืองไทยประกันชีวิต" จาก บมจ.เมืองไทยประกันภัย,บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต เป็นบัตรเครดิตที่ลูกค้าทำประกันภัย/ประกันชีวิตเป็นแห่งที่ห้าของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 22 ตุลาคม ปีเดียวกัน เดือนถัดมา ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดกสิกรไทย-เชลล์การ์ด จาก บจก.เชลล์ (ประเทศไทย) เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าคนใช้นํ้ามันที่ปั๊มนํ้ามันเชลล์เป็นแห่งที่หกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 19 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน วันถัดมา ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดกสิกรไทย-แพทยสภา"เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มสำหรับคุณหมอเป็นแห่งที่เจ็ดของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 23 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน และเดือนถัดมา ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดกสิกรไทย-ไทยไดมารู"เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าชาวไทย,อังกฤษ และญี่ปุ่นจับจ่ายใช้สอยเป็นแห่งที่แปดของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 22 ธันวาคม ปีเดียวกัน นับได้ว่าเป็นบัตรเครดิตร่วมบริษัท/องค์กรภาครัฐและเอกชนมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2539 - 23 กรกฎาคม ธนาคารฯ จับมือร่วมกับเดอะมอลล์ เริ่มให้บริการบัตรเครดิตร่วมธนาคารกสิกรไทย-เดอะมอลล์ เจาะกลุ่มคนรักไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งมอลล์ เป็นใบที่เก้าของประเทศไทย
- พ.ศ. 2540 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตสำหรับนิติบุคคล" (Corporate Card) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
- พ.ศ. 2541 - ธนาคารฯ เริ่มเสนอขาย "หุ้นบุริมสิทธิ" ควบ "หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์" (SLIPs) ซึ่งเป็นการระดมทุนรูปแบบใหม่ ขึ้นเป็นรายแรกของประเทศไทย จนกระทั่งต่อมาจึงกลายเป็นแนวทางให้ธนาคารอื่นใช้เป็นวิธีระดมทุน
- พ.ศ. 2542 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตวีซ่าแพลทินัม" เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2543 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตวีซ่ากสิกรไทย-โอลิมปิก 2000" เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2544 - ธนาคารฯ จับมือกับ สภากาชาดไทย เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดร่วมกสิกรไทย-สภากาชาดไทย" เป็นบัตรเครดิตสำหรับผู้บำเพ็ญประโยชน์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 1 สิงหาคม ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2545 - ธนาคารฯ จับมือกับ CGA เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตวีซ่ากสิกรไทย-สมาพันธ์สมาคมศิษย์เก่าในเครือมูลนิธิเซนต์คาเบรียลฯ" เป็นบัตรเครดิตที่ให้ความสำคัญบำเพ็ญประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นใบแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 28 สิงหาคม ปีเดียวกัน และเดือนก่อนหน้านี้ ธนาคารฯ จับมือกับ BEC World เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตวีซ่า/มาสเตอร์การ์ดกสิกรไทย-บีอีซีเวิลด์ เจาะกลุ่มคนดูรายการทีวีช่อง 3 เป็นใบที่สองของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 23 กรกฎาคม เดือนก่อนหน้า ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2546 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วม วิลล่า มาร์เก็ท-ธนาคารกสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 20 เมษายน ปีเดียวกัน เดือนต่อมา ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมแอมเวย์-ธนาคารกสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้านักธุรกิจแอมเวย์เป็นแห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 21 พฤษภาคม ปีเดียวกัน เดือนต่อมาธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ-ธนาคารกสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นแห่งที่สามของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 23 มิถุนายน ปีเดียวกัน และธนาคารฯ จับมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมธรรมศาสตร์-ธนาคารกสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแห่งที่สี่ของประเทศไทย และธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "ร้านกาแฟภายในสาขา" (Coffee Banking) เป็นแห่งแรกของทวีปเอเชีย โดยความร่วมมือกับสตาร์บัคส์ โดยเริ่มต้นที่สาขาอาคารสมัชชาวานิช 2 เป็นแห่งแรก[4]
- พ.ศ. 2547 - ธนาคารฯ จับมือกับคลังพลาซ่า เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมคลังพลาซ่า-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าห้างสรรพสินค้าห้างสำหรับคนจับจ่ายใช้สอยเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 28 มกราคม ปีเดียวกัน เดือนต่อมา ธนาคารฯ จับมือกับเดมเลอร์ไครส์เลอร์ (ประเทศไทย) ปรับโฉม "บัตรเครดิตร่วมเมอร์เซเดส-กสิกรไทย" KBank Mercedes-Credit Card) เริ่มเปิดให้สิทธิประโยชน์สำหรับคนใช้รถเมอร์เซเดส-เบนซ์เป็นแห่งที่สองของประเทศไทยและเดือนต่อมา ธนาคารฯ จับมือกับเครือข่ายซาเลเซียน เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมสมาคมศิษย์เก่าสถาบันเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย (CGA) และ เครือข่ายครอบครัวซาเลเซียน (SFT)-กสิกรไทย เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาพันธ์สมาคมศิษย์เก่าสถาบันในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยและครอบครัวซาเลเซียน ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ อื่นๆ พนักงานบริษัทในเครือศิษย์เก่า และประชาชนทั่วไป แห่งที่หนึ่งและแห่งที่สองและเป็นแห่งที่สามของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 16 กันยายน ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2548 - ธนาคารฯ ได้จับมือกับสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมสวนกุหลาบ-กสิกรไทย เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มเป้าหมายสำหรับศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯสนับสนุนทางด้านการศึกษาและการกีฬาของโรงเรียนฯเป็นใบแรกของประเทศไทย ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตติดชิพอัจฉริยะ" ซึ่งเป็นมาตรฐานของบัตรเครดิตยุคใหม่ และเริ่มดำเนินธุรกิจ ภายใต้ระบบ "เครือธนาคารกสิกรไทย" ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย จำกัด (ปัจจุบันเป็นบริษัท แฟคเตอรี่ แอนด์ อีควิปเมนท์ กสิกรไทย จำกัด (เปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552), บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด, บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด, บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด รวมทั้งสิ้น 6 บริษัท
- พ.ศ. 2549 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรชิพเครดิตมาสเตอร์การ์ด" (Master Credit Chip Card) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2550 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มแพทย์ทุกสาขา โดยการปรับโฉม "บัตรเครดิตร่วมพญาไท-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตสำหรับบุคลากรทางการแพทย์เป็นแห่งแรกของประเทศไทยถัดมา คือ ธนาคารฯเริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ดไทเทเนียม" เป็นใบที่สองของประเทศไทย และธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมนายอินทร์-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตสำหรับร้านหนังสือใบที่สามของประเทศไทยและเจาะกลุ่มคนอ่านหนังสือ เริ่มเปิดตัวเมื่อวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน และธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "K Now" เพื่อให้คำปรึกษา และสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ แก่ลูกค้าทุกระดับ อันเป็นการเพิ่มความสะดวก สบาย และสมบูรณ์ แก่กลุ่มลูกค้าส่วนบุคคล และกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ให้สามารถมีธุรกิจที่เติบโต แข็งแกร่ง ก้าวหน้า อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
- พ.ศ. 2551 - ธนาคารฯ จับมือกับห้างเริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมคาร์ฟูร์-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าห้างคาร์ฟูร์รับสิทธิประโยชน์รับเครดิตเงินคืนที่ห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาเป็นใบแรกของประเทศไทย และธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "KBank Extra Hour" โดยขยายเวลาทำการ ในสาขาที่มีสัญลักษณ์ของบริการฯ ในวันจันทร์-วันพฤหัสบดี ระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น. และ วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-18.00 น. จึงนับเป็นธนาคารพาณิชย์ของไทย ที่เปิดทำการจนถึงเวลา 18.00 น. เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552)
- พ.ศ. 2552 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมแอร์เอเชีย-กสิกรไทย เจาะลูกค้าสำหรับยกกระเป๋าสัมภาระทุกการเดินทาง เริ่มเปิดตัว 28 พฤษภาคม ปีเดียวกัน เริ่มให้บริการ "K-My Debit Card" บัตรเดบิตที่ออกแบบเองได้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2553 - ธนาคารฯ ขยายเวลาทำการ แผนกซื้อขายเงินตราต่างประเทศ จนถึงเวลา 23.00 น. เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (จากเดิมเปิดทำการถึงเวลา 17.00 น.) และเริ่มให้บริการ "ฝากได้ทุกเรื่องกับ KBank" เพื่อรับดูแลทางการเงิน, จัดการปัญหาการเงิน, ดูแลธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ, แนะนำวิธีประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ, ช่วยค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายทางธุรกิจ, ช่วยวางแผนการท่องเที่ยว, ช่วยดูแลทุกเรื่องภายในบ้าน ตลอดจนช่วยจัดการสารพัดเรื่องราวให้แก่ลูกค้า และธนาคารฯ ได้เปิดตัว "บัตรเครดิตเดอะวิสดอมกสิกรไทย" เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2554 - ธนาคารฯ ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้บริการโอนเงินรับปลายทางที่ไปรษณีย์จากกสิกรไทย หรือ K-Bank to Post เป็นช่องทางใหม่ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารกสิกรไทย โดยผู้รับเงินสามารถรับเงินได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ เป็นธนาคารเดียวในประเทศที่ประกาศโอนเงินไปต่างประเทศได้ภายในวันเดียว และธนาคารฯ ร่วมกับเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มเป้าหมายดูแลสุขภาพเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 25 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2555 - ธนาคารฯ จับมือกับบมจ.ห้างฯโรบินสัน เปิดให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมโรบินสัน-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าห้างโรบินสัน ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าช้อปปิ้งโรบินสันในทุกๆด้าน เริ่มเปิดตัว 9 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน และธนาคารฯ เริ่มให้บริการบัตรเดบิต Limited Edition การ์ตูนคาแรคเตอร์ ทั้ง Paul Frank, Angry Birds, Hello Kitty และการ์ตูนแอนนิเมชั่นไทย "ยักษ์" และเป็นธนาคารฯ แรกที่ให้บริการโอนเงินสำหรับแรงงานไปยังพม่า
- พ.ศ. 2556 - ธนาคารฯ จับมือกับ ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดให้บริการ "บัตรเครดิตร่วม His & Her - กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าร้าน His & Her เปิดมิติใหม่ของการช้อปปิ้ง ช็อปได้คุ้ม ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 21 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกันและธนาคารฯ จับมือกับยูเนี่ยนเพย์ ให้บริการ "บัตรเครดิตยูเนี่ยนเพย์"เริ่มเปิดตัว 11 ธันวาคม ปีเดียวกัน เป็นใบที่สองของประเทศไทย เปิดสาขาที่สองในจีนที่เมืองเฉิงตู
- พ.ศ. 2557 - ธนาคารฯ จับมือกับหอการค้าไทยเริ่มให้บริการ "บัตรสมาชิกเครดิตหอการค้า - กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้ารับสิทธิประโยชน์ด้านธุรกิจและชีวิตส่วนตัวเป็นใบแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 4 มิถุนายน และธนาคารฯ เปิดตัวธนาคารท้องถิ่นจดทะเบียนใน สปป.ลาว ถือเป็นธนาคารไทยเต็มรูปแบบแห่งแรกที่ได้รับการจดทะเบียนใน สปป.ลาว
- พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมคิงเพาเวอร์-กสิกรไทย" เจาะกลุ่มนักธุรกิจ และขาช็อปเดินทางไปต่างประเทศเป็นใบแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 21 มกราคม ปีเดียวกัน และปีต่อมาธนาคารฯ จับมือกับเจซีบี เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตเจซีบีกสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายไลฟ์สไตล์ญี่ปุ่นเป็นแห่งที่สองของประเทศไทย เดือนต่อมา ธนาคารฯ จับมือกับ บมจ.ปตท. เปิดตัวบัตรพีทีทีบลูเครดิตการ์ด อีกระดับของความสุขมากกว่า เจาะกลุ่มลูกค้าเติมนํ้ามัน ปตท. และสร้างความสะดวกสบายในการใช้จ่ายให้แก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นในบัตรเดียวเป็นแห่งที่สามของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 12 กันยายน ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2561 - ธนาคารฯ จับมือกับสยามพิวรรธน์ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมวันสยาม-กสิกรไทย" ชีวิตไม่มีวันธรรมดา เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าศูนย์การค้าในกลุ่มวันสยามเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 23 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2563 - ธนาคารฯ จับมือกับช็อปปี้ เปิดให้บริการ "บัตรเครดิตช็อปปี้-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้านักช็อปออนไลน์เชื่อมทุกมิติการช็อปเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 13 สิงหาคม ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2564 - ธนาคารฯ จับมือกับแรบบิทไลน์เพย์ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิต Line Point Credit Card เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายตอบโจทย์ทุกการใช้จ่ายออนไลน์และคุ้นเคยกับการใช้จ่าย e-Wallet เป็นแห่งแรกของประเทศไทย และธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่จากอาคารราษฎร์บูรณะกลับมายังอาคารพหลโยธิน[5]
- พ.ศ. 2565 - ธนาคารฯ จับมือกับ บมจ.ปตท.ธุรกิจนํ้ามันและการค้าปลีก เริ่มให้บริการปรับโฉมดีไซน์ใหม่ "บัตรเครดิต บลูเครดิตการ์ด" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าเติมนํ้ามันและรับคะแนนสะสมที่ร้านค้าในเครือ ปตท.เป็นใบแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2566 - ธนาคารฯ ได้ร่วมมือกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าได้รับบริจาคโลหิตเป็นใบแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 24 กันยายน ปีเดียวกัน และธนาคารฯได้จับมือกับ กลุ่มโรงแรมเบสท์เวสเทิร์น เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมกลุ่มโรงแรมเบสท์เวสเทิร์น-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รับสิทธิประโยชน์เพื่อนักเดินทางกับสิทธิพิเศษจากโรงแรมและรีสอร์ทในเครือ Best Western เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 16 ตุลาคม ปีเดียวกัน เดือนต่อมา ธนาคารฯ ได้จับมือกับ บมจ.จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ และ บมจ.อาร์เอส เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วม GMM Grammy-RS Group-กสิกรไทย" เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่ชื่นชอบคนรักดนตรีและผู้ที่ชื่นชอบคนขายของออนไลน์ เป็นแห่งที่สองและแห่งที่สามของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 30 ตุลาคม ปีเดียวกัน และเดือนต่อมา ธนาคารฯได้จับมือร่วมกับ บมจ.การบินไทย เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมการบินไทย-กสิกรไทย" เจาะกลุ่มสำหรับผู้ที่ชื่นชอบเดินทางด้วยเครื่องบิน เริ่มเปิดตัว 16 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2567 - ธนาคารฯ จับมือกับ ทรูคอร์ปฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตร่วมทรูคอร์ป-กสิกรไทย" เจาะกลุ่มสำหรับธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม เริ่มเปิดตัว 13 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน และเดือนต่อมา ธนาคารฯ จับมือกับวีซ่า เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตวีซ่าโอลิมปิก 2024-กสิกรไทย" เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดตัว 22 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
คณะกรรมการธนาคาร แก้
ลำดับที่ | รายชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร | ประธานกรรมการ (อิสระ) |
2 | นางสาวสุจิตพรรณ ล่ำซำ | รองประธานกรรมการ |
3 | นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย | กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร |
4 | นายพิพิธ เอนกนิธิ | กรรมการและกรรมการผู้จัดการ |
5 | นายพิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ | กรรมการและกรรมการผู้จัดการ |
6 | นายจงรัก รัตนเพียร | กรรมการและกรรมการผู้จัดการ |
7 | นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ | กรรมการและกรรมการผู้จัดการ |
8 | น.ต. พญ.นลินี ไพบูลย์ | กรรมการ |
9 | นายสราวุฒิ อยู่วิทยา | กรรมการ |
10 | นายกลินท์ สารสิน | กรรมการ |
11 | นายวิบูลย์ คูสกุล | กรรมการอิสระ |
12 | นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ | กรรมการอิสระ |
13 | นายสาระ ล่ำซำ | กรรมการ |
14 | นายชนินทธ์ โทณวณิก | กรรมการอิสระ |
15 | นางเจนนิสา คูวินิชกุล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา | กรรมการอิสระ |
16 | นางสาวชนม์ชนัมม์ สุนทรศารทูล | กรรมการและที่ปรึกษากฎหมาย |
17 | นายสุรช ล่ำซำ | กรรมการ |
18 | นางไขศรี เนื่องสิกขาเพียร | กรรมการอิสระ |
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แก้
- ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[6]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
1 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 443,939,592 | 18.55% |
2 | STATE STREET EUROPE LIMITED | 203,656,972 | 8.51% |
3 | SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED | 142,055,420 | 5.94% |
4 | สำนักงานประกันสังคม | 85,905,100 | 3.59% |
5 | BNY MELLON NOMINEES LIMITED | 78,949,299 | 3.30% |
6 | THE BANK OF NEW YORK MELLON | 55,954,035 | 2.34% |
7 | STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY | 51,034,453 | 2.13% |
8 | SOUTH EAST ASIA UK (TYPE A) NOMINEES LIMITED | 39,954,882 | 1.67% |
9 | NORTRUST NOMINEES LIMITED-NT0 SEC LENDING THAILAND CL AC | 32,586,142 | 1.36% |
10 | GIC PRIVATE LIMITED | 31,350,600 | 1.31% |
อ้างอิง แก้
- ↑ 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ เก็บถาวร 2021-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ อันดับเครดิต เก็บถาวร 2021-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ ประวัติธนาคารกสิกรไทย จากเว็บไซต์ของธนาคารฯ
- ↑ "ฉีกกรอบประเพณีแบงก์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
- ↑ "กสิกรไทยย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่มาอาคารพหลโยธิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-29. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
- ↑ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เก็บถาวร 2021-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย