พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)

ศาสตราจารย์ พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ หรือ สิทธิ จุณณานนท์ (ชื่อเดิม สุทธิ จุณณานนท์) (29 มิถุนายน 2438 - 27 มิถุนายน 2520) เป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ ในสมัยรัฐบาลเสนีย์ ปราโมช อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรม ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 อดีตอธิบดีกรมอัยการ ในปี พ.ศ. 2484 และเป็นสมาชิกเสรีไทย

ศาสตราจารย์
พระยาอรรถการีย์นิพนธ์
(สิทธิ จุณณานนท์)

ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน 2488 – 31 มกราคม 2489
นายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้า ทวี บุณยเกตุ
ถัดไป พระยาอัชราชทรงสิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ – 8 เมษายน 2491
นายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไป พระมนูภาณวิมลศาสตร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 29 มิถุนายน พ.ศ. 2438
จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 (81 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรส คุณหญิงพร้อมเพรา อรรถการีย์นิพนธ์
บุตร 8 คน
ยศเดิม อำมาตย์เอก

ประวัติแก้ไข

สิทธิ จุณณานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2438  ที่ตำบลวัดทอง คลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของนายใต้เพ็ง และนางสุ่น จุณณานนท์ และได้สมรสกับคุณหญิงพร้อมเพรา อรรถการีย์นิพนธ์ มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ

  1. นางศิริโฉม สมานนท์
  2. นางจิรดา โพธิ
  3. นายแพทย์นิพนธ์ จุณณานนท์ 
  4. นายวิฑูร จุณณานนท์
  5. นายวิสุทธิ์ จุณณานนท์
  6. นายอรรถ จุณณานนท์
  7. นายบดี จุณณานนท์
  8. นางศุภนิตย์ จุณณานนท์

พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ ในปี พ.ศ. 2455 และในปี พ.ศ. 2456 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตในปี พ.ศ. 2460 โดยสุทธิ จุณณานนท์เริ่มรับราชการในกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ด้วยอายุ 19 ปี [1]

พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ด้วยวัย 81 ปี 364 วัน

ประวัติการทำงานแก้ไข

  • พ.ศ. 2484 เป็นอธิบดีกรมอัยการ
  • พ.ศ. 2488 เป็นรัฐมนตรี[2]
  • พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2489 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ[3] และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (นายกสภามหาวิทยาลัยลำดับที่ 3)
  • พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2506 เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโอนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2500, พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2506 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[4][5][6]

บรรดาศักดิ์แก้ไข

  • พ.ศ. 2462 เป็นรองอำมาตย์เอก[7]
  • พ.ศ. 2463 เป็นอำมาตย์ตรี
  • พ.ศ. 2463 เป็นหลวงอรรถการีย์นิพนธ์
  • พ.ศ. 2466 เป็นอำมาตย์โท
  • พ.ศ. 2469 เป็นพระอรรถการีย์นิพนธ์
  • พ.ศ. 2471 เป็นอำมาตย์เอก
  • พ.ศ. 2473 เป็นพระยาอรรถการีย์นิพนธ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

บรรณานุกรมแก้ไข

  • ธานินทร์ กรัยวิเชียร. นักกฎหมายในอุดมคติ. กรุงเทพฯ : เนติบัณฑิตยสภาในพระบรม-ราชูปถัมภ์, 2546.
  • คณะผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่น 22. “ประวัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม”, ดุลพาท. 29, 3 (พฤษภาคม – มิถุนายน 2525) หน้า 55 – 59.

อ้างอิงแก้ไข

  1. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) ณ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2521.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  7. นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง พระยาอรรถการีย์นิพนธ์
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๔๙, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๔๑, ๗ มกราคม ๒๕๐๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๓๖, ๑๘ สิงหาคม ๒๔๗๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๙๖ ง หน้า ๒๓๖๓, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๐๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๔๙, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๐๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๕, ๗ ตุลาคม ๒๔๘๓