บัญชา ล่ำซำ
บัญชา ล่ำซำ (12 มกราคม พ.ศ. 2467 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2535)[1] ผู้ก่อตั้งบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติสมัยที่ 1 และสมัยที่ 2
บัญชา ล่ำซำ | |
---|---|
เกิด | 12 มกราคม พ.ศ. 2467 กรุงเทพมหานคร |
เสียชีวิต | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 (68 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | ผู้ก่อตั้งบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย |
คู่สมรส | ม.ร.ว. สำอางวรรณ เทวกุล |
บุตร | 3 คน |
ในสมัยที่บัญชายังมีชีวิตอยู่สามารถขยายกิจการธนาคารกสิกรไทย จากการที่มีสินทรัพย์ 700 ล้านบาทมาเป็น 600,000 ล้านบาท จนได้การยกย่องเป็นนายธนาคารแห่งปี 2527 จาก วารสารการเงินธนาคารและนิตยสารดอกเบี้ย และยังได้รับรางวัลนักการตลาดไทยแห่งปี 2534 จากสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยอีกด้วย[2]
ประวัติ
แก้เป็นบุตรคนโตของนาย โชติ-นางน้อม (สกุลเดิม อึ้งภากรณ์) ล่ำซำ เกิดวันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2467 ที่บ้านในซอยผักกาด ถนนเจริญกรุง ใกล้สี่แยกถนนเสือป่า (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งอาคารบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ประทานชื่อให้ บัญชามีน้องชายและน้องสาวรวมแล้ว 7 คนดังนี้[3]
- นางชูจิตร สีบุญเรือง
- คุณหญิงชัชนี (รัชนี) จาติกวณิช
- นางชนาทิพย์ จูตระกูล
- นายบรรยงค์ ล่ำซำ
- นายบรรจบ ล่ำซำ
- นางยุตติ ล่ำซำ
- นายยุพิน เริงประเสริฐวิทย์
ด้านครอบครัว บัญชาสมรสกับ ม.ร.ว. สำอางวรรณ เทวกุล (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) บุตรีของ พล.ต.ม.จ. ปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล กับ ม.ร.ว. สอางค์ เทวกุล (ราชสกุลเดิมคือปราโมช) และยังเป็นพี่สาวต่างมารดาของ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2495 มีบุตรธิดา 3 คนคือ
- นายบัณฑูร ล่ำซำ เกิดวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2496 สมรสกับ อุษา จิระพงศ์
- นางสุภรรณ ปันยารชุน เกิดวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 สมรสกับ กฤติ ปันยารชุน
- นางวรางคณา เดอเลออน[4] เกิดวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2503 สมรสกับ แอนโทนี เดอเลออน
บัญชาถึงแก่กรรม ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 รวมอายุได้ 67 ปี
การศึกษา
แก้บัญชาจบการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (เลขประจำตัว อสช 9950) มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ (แผนกเคมี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัยมิชิแกน แอนน์ อาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา
การทำงาน
แก้- กรรมการผู้จัดการบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (2495 - 2505)
- กรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัดและประธานกรรมการ บริษัท ล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้า จำกัด (2505 - 2520)
- กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (2505 - 2519)
- ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (2519 - 2534)
- ประธานกิตติมศักดิ์ ธนาคารกสิกรไทย (2535)
ประสบการณ์
แก้- กรรมการปูนซีเมนต์ไทย
- กรรมการมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- กรรมการการบินพลเรือน
- กรรมการธนาคารกสิกรไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- กรรมการสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- อิตาลี: พ.ศ. ไม่ปรากฎ - ไนท์ ออฟ ดิ ออเดอร์ ออฟ เมอริท
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.
- ↑ อัสสัมชัญประวัติ.อัสสัมชนิก หน้า 1090
- ↑ อัสสัมชัญประวัติ.อัสสัมชนิก หน้า 1046-1047
- ↑ http://thaiwhoiswho.blogspot.com/2009/09/blog-post_6920.html
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๖ ง หน้า ๘๑๙๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕