เหรียญลูกเสือสดุดี

เหรียญลูกเสือสดุดี มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า "The Boy Scout Citation Medal" เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ สร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 เช่นเดียวกันกับเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามกีรติ ลูกเสือสดุดีพิเศษ ขึ้นอีกชั้นหนึ่งในพระราชบัญญัติลูกเสือ

เหรียญลูกเสือสดุดี
เหรียญลูกเสือสดุดี (เรียงจากซ้ายไปขวา) ชั้นที่ 3, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 1
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย
ประเภทเหรียญราชอิสริยาภรณ์ประเภทบำเหน็จในราชการ
วันสถาปนาพ.ศ. 2507
ประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
ผู้สมควรได้รับผู้กำกับลูกเสือ เจ้าหน้าที่ลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือที่ได้เสียสละตนเพื่อพัฒนากิจการลูกเสือไทย
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเหรียญลูกเสือสรรเสริญ
รองมาเหรียญลูกเสือยั่งยืน

ลักษณะ แก้

เหรียญลูกเสือสดุดี เป็นเหรียญเงิน ลักษณะกลมรี มีขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 3.2 เซนติเมตร ด้านหน้า มีตราหน้าเสือประกอบวชิระ ริมขอบส่วนบนมีอักษรว่า "ลูกเสือ" และส่วนล่าง มีอักษรว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์" ตราหน้าเสือประกอบวชิระ และตัวอักษรให้ทำเป็นลายดุน ด้านหลัง เป็นพื้นเกลี้ยงจารึกนามของผู้ซึ่งได้รับพระราชทาน และวันที่พระราชทาน ขอบส่วนบนมีห่วงห้อย แพรแถบขนาดกว้าง 2.4 เซนติเมตร มีริ้วสีเหลืองกว้าง 1.2 เซนติเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีดำกว้าง 6 มิลลิเมตร

เหรียญนี้ใช้ห้อยกับแพรแถบ ประดับที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้าย โดยการพระราชทานจะพระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้รับพระราชทานวายชนม์ ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก

การพระราชทาน แก้

สำหรับพระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ เจ้าหน้าที่ลูกเสือ และบุคคลอื่น บรรดา ที่มีอุปการคุณต่อการลูกเสือถึงขนาด หรือที่ได้อุทิศกำลังกาย หรือ กำลังความคิด ในการประกอบกิจให้บังเกิดคุณประโยชน์แก่การลูกเสือ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 [1] ดังนี้

แพรแถบย่อ
 
ชั้นที่ 1
 
ชั้นที่ 2
 
ชั้นที่ 3

เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ 1 แก้

พระราชทานแก่ผู้ที่มีอุปการคุณต่อการลูกเสือถึงขนาด หรือผุ้ที่ได้อุทิศกำลังกาย กำลังความคิด ในการประกอบกิจการให้บังเกิดคุณประโยชน์แก่การลูกเสืออย่างยิ่ง ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ 2 แก้

พระราชทานแก่ผู้ที่มีอุปการคุณต่อการลูกเสือ ดังต่อไปนี้

  1. บริจาคเงินหรือทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ ครั้งเดียว หรือหลายครั้งรวมกัน เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด
  2. ช่วยเหลือเป็นอย่างดีในการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ระดับที่ 1 วิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น หรือขั้นความรู้ชั้นสูง โดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 50 ครั้ง หรือระดับที่ 2 การให้การฝึกอบรมแก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือโดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง
  3. ช่วยเหลือกิจการลูกเสือด้านอื่น ๆ จนเกิดผลดีแก่การลูกเสือติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และปีหนึ่ง ๆ ไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง
  4. ช่วยเหลือและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคณะลูกเสือไทย กับคณะลูกเสือต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง

เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ 3 แก้

พระราชทานแก่ผู้ที่มีอุปการคุณต่อการลูกเสือดังต่อไปนี้

  1. บริจาคเงินหรือทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง รวมกันเป็นจำนวนเงิน ไม่น้อยกว่า ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด
  2. ช่วยเหลือเป็นอย่างดีในการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับที่ 1 วิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น หรือขั้นความรู้ขั้นสูง โดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 25 ครั้ง หรือระดับที่ 2 การให้การฝึกอบรมแก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือโดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง
  3. ช่วยเหลือเป็นอย่างดี ในการฝึกอบรมวิชานายหมู่ลูกเสือ หรือวิชาลูกเสือประเภทต่าง ๆ โดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรม ครั้งละ 3 วัน ไม่น้อยกว่า 50 ครั้ง
  4. ช่วยเหลือกิจการลูกเสือด้านอื่น ๆ จนเกิดผลดีแก่การลูกเสือติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี และปีหนึ่ง ๆ ไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง
  5. ช่วยเหลือ และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคณะลูกเสือไทย กับคณะลูกเสือต่างประเทศเป็นอย่างดี

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-17. สืบค้นเมื่อ 2018-07-10.