เหรียญลูกเสือสรรเสริญ

เหรียญลูกเสือสรรเสริญ เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ สำหรับพระราชทานแก่ลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือ[1]

เหรียญลูกเสือสรรเสริญ
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ (เรียงจากซ้ายไปขวา) ชั้นที่ 3, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 1
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย
ประเภทเหรียญราชอิสริยาภรณ์ประเภทบำเหน็จในราชการ
วันสถาปนา27 ตุลาคม พ.ศ. 2482
ประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย
ภาษิตเสียชีพอย่าเสียสัตย์
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
ผู้สมควรได้รับลูกเสือ เจ้าหน้าที่ลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือที่ได้เสียสละตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์เป็นที่น่าสรรเสริญ
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ประธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถิติการมอบ
รายแรกเล็กซัน วิเศษรัตน์
22 ตุลาคม พ.ศ. 2483
รายล่าสุด7 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเหรียญจักรมาลา
เหรียญจักรพรรดิมาลา
เหรียญบุษปมาลา
รองมาเหรียญลูกเสือสดุดี
หมายเหตุเดิมเหรียญลูกเสือสรรเสริญ เป็นเหรียญที่ระลึกลูกเสือ ในปัจจุบันเป็นเหรียญที่ออกตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551

ประวัติของเหรียญลูกเสือสรรเสริญ

แก้

ต้นแบบของเหรียญลูกเสือสรรเสริญ มาจาก "เหรียญที่ระลึกลูกเสือ" ซึ่งพระราชทานให้ลูกเสือที่ออกจากประจำการไปเป็นเสือป่า ต่อมาได้พัฒนาเป็นต้นเค้าของเหรียญลูกเสือสรรเสริญซึ่งมีสามชั้นคือทอง นาค เงิน ก่อนที่มาสู่เหรียญลูกเสือสรรเสริญในปัจจุบัน ลูกเสือที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญครั้งแรก เป็นเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน) ได้แก่ลูกเสือตรีเล็กซัน วิเศษรัตน์ เลขประจำตัว 887 สังกัดกองลูกเสือเสนาจังหวัดหนองคายที่ 1 (หนองคายวิทยาคาร) ซึ่งได้ช่วยเหลือเด็กหญิงอรรตพนธ์ สงกะศิริ ให้พ้นอันตรายจากการจมน้ำตายที่ท่าวัดหายโศก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2483

ลักษณะของเหรียญและชนิดของเหรียญ

แก้

ลักษณะของเหรียญ

แก้

ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 มาตรา 56 [2] ได้กำหนดลักษณะของเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ไว้ว่า

"มาตรา 56 เหรียญลูกเสือสรรเสริญเป็นเหรียญเงินมีลักษณะกลมรี ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 3.2 เซนติเมตร ด้านหน้าตรงกลางมีตราหน้าเสือประกอบวชิระ ริมขอบส่วนบนมีอักษรว่า “ลูกเสือ” และส่วนล่างมีอักษรว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ตราหน้าเสือประกอบวชิระและตัวอักษรให้ทำเป็นลายดุน ด้านหลังเป็นพื้นเกลี้ยงจารึกนาม เลขหมายประจำตัวของผู้ซึ่งได้รับพระราชทานนามหน่วยลูกเสือที่สังกัด และวันที่พระราชทาน ที่ขอบส่วนบนของเหรียญมีห่วงห้อยแพรแถบ ขนาดกว้าง 2.4 เซนติเมตร มีริ้วสีดำกว้าง 1.2 เซนติเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีเหลือง กว้าง 6 มิลลิเมตร ประดับที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้าย"

ชนิดของเหรียญ

แก้

ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 มาตรา 56 และ 57[3] ได้แบ่งชนิดของเหรียญลูกเสือสรรเสริญ เป็น 3 ชั้น คือ

ชั้นที่ 1

แก้

มีเฟลอร์เดอลีส์ ทำด้วยโลหะเงินประดับที่แพรแถบ 2 ดอกตามแนวนอน จะพระราชทานแก่ผู้มีความดี ความชอบซึ่งได้ทำการรักษาความปลอดภัยหรือสันติสุขเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์หรือได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตราย ทั้งนี้ โดยตนเองได้ฝ่าอันตรายจนถึงขนาดที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญนี้ หรือตนเองได้ประสบอันตรายถึงทุพพลภาพหรือถึงเสียชีวิต

ชั้นที่ 2

แก้

มีเฟลอร์เดอลีส์ ทำด้วยโลหะเงินประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลาง 1 ดอก จะพระราชทานแก่ผู้มีความดีความชอบซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตรายโดยตนเองได้ประสบอันตรายหรือฝ่าอันตราย หรือแก่ผู้ซึ่งได้ทำความดีความชอบในข้อต่อไปนี้ ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยครั้ง และในแต่ละข้อไม่น้อยกว่าสิบครั้ง คือ

  • ช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ยากลำบากที่ควรช่วย
  • ช่วยเหลือหรือป้องกันผู้อื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่นให้พ้นอันตราย
  • ช่วยสัตว์ให้พ้นจากการทรมานหรือพ้นทุกขเวทนา
  • ทำการปฐมพยาบาล
  • ช่วยเหลือราชการ
  • ช่วยเหลือกิจการอันเป็นสาธารณกุศล
  • ช่วยเหลือผู้ปกครอง
  • ช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ของโรงเรียน หรือสถานที่ทำงานซึ่งไม่ใช่หน้าที่ตามปกติ

ชั้นที่ 3

แก้

ไม่มีเฟลอร์เดอลีส์ประดับที่แพรแถบ จะพระราชทานแก่ผู้มีความดีความชอบซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตรายแม้เพียงครั้งเดียว หรือแก่ผู้ซึ่งได้ทำความดีความชอบตามเกณฑ์สำหรับเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 2 ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่าห้าสิบครั้งและในแต่ละข้อไม่น้อยกว่าห้าครั้ง

แพรแถบย่อ
 
ชั้นที่ 1
 
ชั้นที่ 2
 
ชั้นที่ 3

รายนามผู้ได้รับเหรียญลูกเสือสรรเสริญ

แก้

เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 1

แก้
ประจำปี รายชื่อ ตำแหน่ง สังกัด เหตุการณ์ อ้างอิง
2563 นายอธิวัฒน์ พรมสุข ลูกเสือวิสามัญ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 [4] [5]

เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 2

แก้
ประจำปี รายชื่อ ตำแหน่ง สังกัด เหตุการณ์ อ้างอิง
2566 นายวุฒิศักดิ์ มั่งคั่ง ลูกเสือวิสามัญ โรงเรียนนครนายกวิทยาคม จังหวัดนครนายก กระโดดน้ำช่วยเหลือนักท่องเที่ยว 3 พ่อแม่ลูกรอดตาย นายวุฒิศักดิ์ ได้รับบาดเจ็บติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566[6] [7]
2565 นายสุขวัฒ แก้วเจริญ ลูกเสือสามัญ รุ่นใหญ่ โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์ จังหวัดสมุทรปราการ ช่วยคนขับรถซึ่งประสบอุบัติเหตุพุ่งลงคลอง[8] [9]
2564 นายอิทธิเดช ไทรชมภู ครู โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ จังหวัดนนทบุรี [10]
2562 เด็กหญิงจารุวรรณ ศรีสุขใส เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางน้ำ จนพ้นอันตราย[11] [12]
เด็กชายปรวิทย์ สุขเมฆ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 3

แก้
ประจำปี รายชื่อ ตำแหน่ง สังกัด เหตุการณ์ อ้างอิง
2566 เด็กชายศิราพัช ศรีงาม ลูกเสือสามัญ โรงเรียนศาลาคู้ กรุงเทพ ทำ CPR ช่วยเด็กจมน้ำจนรอดชีวิต[13] [7]
2565 นายอนิรุทธิ์ อมรแก้ว รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน โรงเรียนวัดมุขธารา จังหวัดนครศรีธรรมราช [9]
นายวรรณประกรณ์ จุมพลน้อย ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 (สมาน สุเมโธ) จังหวัดขอนแก่น
2564 นายสมชาย ถาวรผล ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน โรงเรียนบ้านสระเกษ จังหวัดเพชรบูรณ์ [10]
นายภูมินิวัฒน์ ปานอินทร์ ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ โรงเรียนบ้านราหุล จังหวัดเพชรบูรณ์
2563 นายธนกฤต สิงห์เรือง ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ จังหวัดอุบลราชธานี [5]
นายศิวกร สิงห์เรือง ผู้กํากับกลุ่มลูกเสือ โรงเรียนประสิทธิ์ศึกษาสงเคราะห์ จังหวัดอุบลราชธาน
2562 เด็กชายชนัญญู เพชรอาวุธ ลูกเสือสามัญ โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางน้ำ จนพ้นอันตราย[11] [12]
นางสาวเรขา ข่ายเงิน ผู้กำกับกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ โรงเรียนบ้านซำตะเคียน จังหวัดพิษณุโลก ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บสาหัส จากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์[11]
นางนงลักษณ์ เศรษฐพูธ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุรถบรรทุกชนกับรถหกล้อ[11]
นายครรชิต คูณสาร ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุรถบรรทุกชนกับรถหกล้อ[11]

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-11.
  2. พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 (http://kormor.obec.go.th/act/act071.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  3. พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 (http://kormor.obec.go.th/act/act071.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  4. "'อธิวัฒน์ พรมสุข'นักศึกษา ปวช. ปี 3 อีกหนึ่งผู้กล้าที่ช่วยดันประตูห้องเย็นเพื่อให้ 8 ชีวิตได้อยู่รอด". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  5. 5.0 5.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ประจำปี ๒๕๖๓ [จำนวน ๓ ราย ๑. นายอธิวัฒน์ พรมสุข ฯลฯ]
  6. "ศธ. ยกย่อง! 'ฮีโร่ ม.6' กระโดดน้ำช่วย 'พ่อแม่ลูก' ให้รอดชีวิต". komchadluek. 2023-06-16.
  7. 7.0 7.1 พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ประจำปี ๒๕๖๖ [๑. นายวุฒิศักดิ์  มั่งคั่ง ๒. เด็กชายศิราพัช  ศรีงาม]
  8. "เก๋งซิ่งเสียหลักจมคลอง เด็ก 14 โดดลงน้ำช่วยคนขับออกมาได้". เดลินิวส์.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญ  ประจำปี  ๒๕๖๕ [รวม ๓ ราย ๑. นายสุขวัฒ  แก้วเจริญ ฯลฯ]
  10. 10.0 10.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี  เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ประจำปี ๒๕๖๔ [จำนวน ๓ ราย ๑. นายอิทธิเดช ไทรชมภู ฯลฯ]
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 คำกราบทูล ของนายวีระกุล อรัณยะนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ในพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามของลูกเสือ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๒ (royaloffice.th)
  12. 12.0 12.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ประจำปี ๒๕๖๒
  13. "ชื่นชม "ด.ช.ศิราพัช ศรีงาม" นักเรียน ป.6 ช่วยเด็กจมน้ำ ทำ CPR จนรอดชีวิต (คลิป)". www.sanook.com/news. 2022-10-23.