ทรัพย์ (อังกฤษ: thing) หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง ซึ่งได้แก่สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา สัมผัสได้ด้วยมือ อาทิ โต๊ะ ตู้ ตั่ง เตียง ช้าง มา วัว ควาย เป็นคำมาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า "ทฺรวฺย"[1]

ทรัพย์สิน หรือเดิมเรียก ทรัพย์สมบัติ[2] (อังกฤษ: property, (โบราณ) propriety) หมายความถึง วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง[1] ซึ่งแบ่งประเภทเป็น อสังหาริมทรัพย์-สังหาริมทรัพย์ ซึ่งเดิมเรียก ทรัพย์สมบัติอันที่พึงเคลื่อนจากที่ได้-ทรัพย์สมบัติอันที่ไม่พึงเคลื่อนจากที่ได้[2], ทรัพย์แบ่งได้-ทรัพย์แบ่งไม่ได้ และ ทรัพย์ในพาณิชย์-ทรัพย์นอกพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งทรัพย์สินออกเป็น สังกมทรัพย์-อสังกมทรัพย์, วิญญาณกทรัพย์-อวิญญาณกทรัพย์ และ โภคยทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปหมดแล้วในประเทศไทย[3] [4] [5]

บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิเช่นนี้เรียก "ทรัพยสิทธิ" (อังกฤษ: real right) อันมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น อาทิ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง โดยเฉพาะผู้ทรงกรรมสิทธิ์นั้นย่อมมีอำนาจที่จะใช้สอย จำหน่ายจ่ายโอน ได้ดอกผล กับทั้งติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน รวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ป็นทรัพย์สินด้วย

กรณีหนึ่งที่จะยกมาสนับสนุนความเห็นของผู้เขียนข้งต้น คือ การที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 บัญญัติว่า 'ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย' บทบัญญัตินี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่ไม่สามารถถือเอาได้ เป็นทรัพย์"

ทรัพย์สิน

แก้

บทบัญญัติของกฎหมาย

แก้
ประเทศ/
เขตการปกครอง
บทบัญญัติต้นฉบับ คำแปลบทบัญญัติ
ไทย ไทย ป.พ.พ.
บ.1 หลักทั่วไป, ล.3 ทรัพย์

"ม.138 เก็บถาวร 2011-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้"
Civil and Commercial Code
Book 1 : General Provisions, Title 3 : Things[6]

"Section 138.
Property includes things as well as incorporeal objects, susceptible of having a value and of being appropriated."
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น Minpō (ญี่ปุ่น: 民法)
Part 1 : General Provisions, Chapter 4 : Things[7]

"Article 86 (Real Estate and Movables).
1. Land and any fixtures thereto are regarded as real estate.
2. Any Thing which is not real estate is regarded as movable.
3. A bearer's certificate of claims is deemed to be movable.".
มินโป
ภ.1 บททั่วไป, หม.4 ทรัพย์

"ม.86 (อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์)
1. ที่ดินและทรัพย์อันติดตรึงกับที่ดิน ชื่อว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์
2. สิ่งใดที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ ชื่อว่าเป็นสังหาริมทรัพย์
3. ใบรับรองสิทธิเรียกร้องอันออกให้แก่ผู้ถือ ชื่อว่าเป็นสังหาริมทรัพย์"
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส French Civil Code (ฝรั่งเศส: Code civil des Français)
Book 2 : Of property, and the different modifications of property; Title 1 : Of the Distinction of Property[8]

"Article 516.
All property is movable or immovable."
ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส
บ.2 ทรัพย์สินและการดัดแปรทรัพย์สิน, ล.1 การจัดประเภททรัพย์สิน

"ม.516
ทรัพย์สินทั้งปวงมีทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์ (เคลื่อนที่ได้) และอสังหาริมทรัพย์ (เคลื่อนที่มิได้)"
สเปน สเปน Spanish Civil Code (สเปน: Código Civil de España)
Book 2 : Of property, and the different modifications of property; Title 1 : Classifications of property[9]

"Section 333 (Defenition).
All things that are or may be appropriated are regarded as movable or immovable property."
ประมวลกฎหมายแพ่งแห่งสเปน
บ.2 ทรัพย์สินและการดัดแปรทรัพย์สิน, ล. 1 การจัดประเภททรัพย์สิน

"ม.333 (บทอธิบายศัพท์)
สิ่งทั้งปวงซึ่งถือเอาหรืออาจถือเอาได้ ชื่อว่าเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์"
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ Civil Code of the Philippines
Book 2 : property, ownership and its modifications; Title 1 : Classification of property[10]

"Article 414 (Preliminary provisions).
All things which are or may be the object of appropriation are considered either:
(1) Immovable or real property; or
(2) Movable or personal property."
ประมวลกฎหมายแพ่งแห่งฟิลิปปินส์
บ.2 ทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ และการดัดแปรทรัพย์สิน, ล.1 การจัดประเภททรัพย์สิน

"ม.414 (บุริมบท)
สิ่งทั้งปวงซึ่งเป็นหรืออาจเป็นวัตถุแห่งการถือเอา ชื่อว่าเป็น
(1) อสังหาริมทรัพย์ หรือ
(2) สังหาริมทรัพย์"
แคนาดา รัฐควิเบก
แคนาดา
Civil Code of Quebec (ฝรั่งเศส: Code civil du Québec)
Book 4 : Property; Title 1 : Kinds of property and its appropriation; Chapter 1 : Kinds of property[11]

"Article 899.
Property, whether corporeal or incorporeal, is divided into immovables and movables."
ประมวลกฎหมายแพ่งแห่งควิเบก
บ.4 ทรัพย์สิน, ล.1 ประเภทและการถือเอาทรัพย์สิน, หม.1 ประเภทของทรัพย์สิน

"ม.899
ทรัพย์สิน ไม่ว่ามีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่าง จำแนกเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์"

นิยาม

แก้

กฎหมายของประเทศอื่น ๆ ในระบบซีวิลลอว์มิได้ให้นิยามของทรัพย์สินไว้เป็นแต่จำแนกว่าทรัพย์สินมีลักษณะอย่างไร

ขณะที่ตามกฎหมายไทยแล้ว ป.พ.พ. ม.138 เก็บถาวร 2011-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ให้ ทรัพย์สิน (อังกฤษ: property) หมายความถึง ทรัพย์คือวัตถุมีรูปร่าง และหมายความรวมถึงวัตถุที่ไม่มีรูปร่างด้วย ซึ่งวัตถุทั้งสองประเภทนี้อาจมีราคาและอาจถือเอาได้

  1. ที่ว่า "วัตถุมีรูปร่าง" นั้นหมายความถึง วัตถุที่ประกอบด้วยรูปและร่างในตัวเองโดยลำพัง มีตัวตน มีสัดส่วน ควมกว้าง ความยาว ความสูง ความต่ำ ความอ้วน ความผอม ความกลม ความรี เป็นต้น แม้จะเป็นปรมาณูเล็กน้อยจนไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็ตาม เช่น บ้าน ที่ดิน ช้าง ม้า วัว ตวาย เงินตรา เชื้อโรค ฯลฯ[12]
  2. ที่ว่า "วัตถุไม่มีรูปร่าง" หมายความถึง วัตถุที่มีสมบัติในตัวเองเป็นสิ่งไร้ส่วนสัด ไม่มีความเต็ม ไม่กินที่ เป็นต้น อาทิ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สิทธิเรียกร้อง ฯลฯ[12]
  3. ที่ว่า "ซึ่งอาจมีราคา" (อังกฤษ: valuable) หมายความว่า สิ่งนั้นมีคุณค่าในตัวเอง ซึ่งไม่จำต้องเป็นคุณค่าในทางเศรษฐกิจ แต่อาจเป็นคุณค่าในทางจิตใจก็ได้ เช่น จดหมายจากมารดาย่อมมีคุณค่ามากสำหรับบุตร ตราไปรษณียากรที่บุคคลสะสมไว้ด้วยใจรัก เป็นต้น[13]
  4. ที่ว่า "ซึ่งอาจถือเอาได้" (อังกฤษ: appropriated) หมายความว่า สิ่งนั้นอาจเข้าถือเอาเพื่อให้มีสิทธิเหนือมันได้[13]

ประเภทของทรัพย์สิน

แก้

อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์

แก้

อสังหาริมทรัพย์ (อังกฤษ: immovable (ซีวิลลอว์), realty (คอมมอนลอว์)) หมายความว่า ทรัพย์ที่นำไปไม่ได้ คือ ทรัพย์ที่ติดกับที่ ได้แก่ ที่ดิน และทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย[1]

สังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมะ (อังกฤษ: movable (ซีวิลลอว์), personalty (คอมมอนลอว์)) หมายความว่า ทรัพย์ที่นำไปได้ ได้แก่ ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย[1]

ทรัพย์แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้

แก้

ทรัพย์แบ่งได้ (อังกฤษ: divisible thing) คือ ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วน ๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว[14]

ทรัพย์แบ่งไม่ได้ (อังกฤษ: indivisible thing) คือ ทรัพย์อันอาจจะแยกออกจากกันไม่ได้ นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย[15] เช่น ป.พ.พ. ม.1118[ลิงก์เสีย] ให้หุ้นของบริษัท และม.1394[ลิงก์เสีย] ให้ภาระจำยอม เป็นทรัพย์แบ่งไม่ได้

ทรัพย์นอกพาณิชย์และทรัพย์ในพาณิชย์

แก้

ทรัพย์นอกพาณิชย์ (อังกฤษ: non-commercial thing) คือ ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย[1] เช่น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ สายลม ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์

ทรัพย์ในพาณิชย์ (อังกฤษ: commercial thing) คือ ทรัพย์ทั้งหลายที่มิใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์

สังกมทรัพย์และอสังกมทรัพย์

แก้

สังกมทรัพย์ (อังกฤษ: fungible thing) คือ สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกติอาจใช้ของอื่นอันเป็นประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากันแทนได้[1]

อสังกมทรัพย์ (อังกฤษ: non-fungible thing) คือ สังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจใช้ของอื่น ที่เป็นประเภทและชนิดเดียวกัน มีปริมาณเท่ากันแทนได้[1]

ทรัพย์สินทั้งสองประเภทนี้ ปัจจุบันกฎหมายไทยได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ยังมีอยู่ในกฎหมายของบางประเทศ[5]

วิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์

แก้

วิญญาณกทรัพย์ หรือ สวิญญาณกทรัพย์ (อังกฤษ: living thing) คือ สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย[1]

อวิญญาณกทรัพย์ (อังกฤษ: non-living thing) คือ สิ่งที่ไม่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ทอง ที่ดิน[1]

ทรัพย์ทั้งสองประเภทนี้มีในกฎหมายโบราณของประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่มีที่ใช้แล้ว

โภคยทรัพย์

แก้

โภคยทรัพย์ (อังกฤษ: consumable thing) คือ สังหาริมทรัพย์ซึ่งเมื่อใช้ย่อมเสียภาวะเสื่อมสลายไปในทันใดเพราะการใช้นั้น หรือซึ่งใช้ไปในที่สุดย่อมสิ้นเปลืองหมดไป[1]

ทรัพย์สินประเภทนี้ ปัจจุบันกฎหมายไทยได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ยังมีอยู่ในกฎหมายของบางประเทศ[5]

ส่วนควบของทรัพย์

แก้

ส่วนควบ (อังกฤษ: component part) คือ ส่วนของทรัพย์ ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป[1]

อุปกรณ์

แก้

อุปกรณ์ (อังกฤษ: accessory) คือ สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแลใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น[1]

ดอกผลของทรัพย์

แก้

ดอกผล (อังกฤษ: fruit) คือ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างที่เกิดขึ้นจากการมีหรือใช้ทรัพย์ที่เป็นประธาน (อังกฤษ: principal thing) หากเป็นทรัพย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ประธาน ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ประธานโดยการมีหรือใช้ทรัพย์ประธานนั้นตามปรกนิยม และเจ้าของทรัพย์ประธานสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์ประธานนั้น ทรัพย์ที่เกิดขึ้นนั้นเรียก "ดอกผลธรรมดา" (อังกฤษ: natural fruit) หากเป็นทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์ประธานจากการที่ผู้อื่นใช้ทรัพย์ประธานนั้น โดยสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่เกิดขึ้นนั้นเรียก "ดอกผลนิตินัย" (อังกฤษ: legal fruit)[16]

ทรัพยสิทธิ

แก้

ทรัพยสิทธิ (อังกฤษ: real right; ละติน: jus in rem) คือ สิทธิทางทรัพย์ กล่าวคือ สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย[1] ประกอบด้วย

  1. กรรมสิทธิ์ (อังกฤษ: ownership) คือ สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย[1]
  2. ครอบครอง (อังกฤษ: possession) คือ การที่บุคคลที่เข้ายึดถือทรัพย์สิ่งหนึ่งเพื่อตนเอง ทำให้ได้ไปซึ่ง "สิทธิครอบครอง" (อังกฤษ: possessory right)[17] ไม่ถึงกับเป็นกรรมสิทธิ์แต่อาจเติบใหญ่เป็นกรรมสิทธิ์ได้[18]
  3. ภาระจำยอม (อังกฤษ: servitude) คือ ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น อสังหาริมทรัพย์เช่นนั้นเรียก "ภารยทรัพย์" (อังกฤษ: servient estate) เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งเรียก "สามยทรัพย์" (อังกฤษ: dominant estate)[1]
  4. สิทธิอาศัย (อังกฤษ: right of habitation) คือ สิทธิที่บุคคลจะอาศัยในโรงเรือนของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า[19]
  5. สิทธิเหนือพื้นดิน (อังกฤษ: right of superficies) คือ สิทธิในการเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนที่ดินหรือใต้ดินในที่ดินของผู้อื่น[20]
  6. สิทธิเก็บกิน (อังกฤษ: usufruct) คือ สิทธิที่บุคคลสามารถครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น[21]
  7. ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (อังกฤษ: charge on immovable) คือ การที่อสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในเหตุอันยังให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือได้ใช้และถือประโยชน์แห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตามที่ระบุกันไว้[22]

เชิงอรรถ

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 ราชบัณฑิตยสถาน, 2551 : ออนไลน์.
  2. 2.0 2.1 ดู มาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติกระบวนพิจารณาความแพ่ง รัตนโกสินทรศก 115
  3. บัญญัติ สุชีวะ, 2551 : 9.
  4. ไพจิตร ปุญญพันธุ์, 2539 : 862-865.
  5. 5.0 5.1 5.2 มานิตย์ จุมปา, 2551 : 27.
  6. Thailand Civil and Commercial Code (online), Online : n.d.
    Civil and Commercial Code of Thailand, Book 1 : General Provisions, Title 3 : Things
  7. Ministry of Justice of Japan, 2009 : Online.
    Japanese Civil Code, Part 1 : General Provisions, Chapter 4 : Things
  8. The Napoleon Series, 2009 : Online.
    French Civil Code; Book 2 : Of property, and the different modifications of property; Title 1 : Of the Distinction of Property
  9. University of Girona, 2009 : Online.
    Spanish Civil Code; Book 2 : Of property, and the different modifications of property; Title 1 : Classifications of property เก็บถาวร 2009-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. R.A. No. 386 - Civil Code of the Philippines, 2009 : Online.
    Civil Code of the Philippines; Book 2 : property, ownership and its modifications; Title 1 : Classification of property เก็บถาวร 2010-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. Official Publisher of Quebec, 2009 : Online.
    Civil Code of Quebec; Book 4 : Property; Title 1 : Kinds of property and its appropriation; Chapter 1 : Kinds of property เก็บถาวร 2012-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. 12.0 12.1 เสนีย์ ปราโมช, 2521 : 11-12.
  13. 13.0 13.1 มานิตย์ จุมปา, 2551 : 15.
  14. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 43.
  15. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 44.
  16. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 101.
  17. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 309.
  18. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 310.
  19. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 441.
  20. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 434.
  21. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 428.
  22. มานิตย์ จุมปา, 2551 : 450.

อ้างอิง

แก้

ภาษาไทย

แก้

ภาษาต่างประเทศ

แก้