พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าธานีนิวัต (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 – 8 กันยายน พ.ศ. 2517) เป็นอดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ อดีตประธานองคมนตรี และอดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นตรี
พระรูปพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2475
ก่อนหน้าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ถัดไปเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
หม่อมหม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมราชวงศ์นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร
หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล
หม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
พระมารดาหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา
ประสูติ7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
สิ้นพระชนม์8 กันยายน พ.ศ. 2517 (88 ปี)
ลายพระอภิไธย
มหาอำมาตย์เอก นายกองเอก
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
12 มีนาคม พ.ศ. 2494 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495
(1 ปี 282 วัน)[1]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
ถัดไปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506
(0 ปี 12 วัน)[2]
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
(0 ปี 5 วัน)[3]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก่อนหน้าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ถัดไปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พระประวัติ แก้ไข

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าธานีนิวัต เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุณฑลจินดา; ธิดาของหลวงวรศักดาพิศาล (กาจ กุณฑลจินดา) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง

หม่อมเจ้าธานีนิวัติผนวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุคุณคณาภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระศีลาจารย์[4] วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ได้ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วไปเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร[5]

หลังจากลาผนวช ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนรอตติงดีน และโรงเรียนรักบี้ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (B.A.) สาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) จากวิทยาลัยเมอร์ตันคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2451 แล้วเสด็จกลับมาทรงรับราชการในปีถัดมา ทรงดำรงตำแหน่งปลัดกรมพลำภัง (กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน), ข้าหลวงมหาดไทย มณฑลกรุงเก่า, [6]ราชเลขานุการในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้ช่วยราชเลขานุการ[7] และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ทรงศักดินา 3000 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465[8]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตเป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469 แทนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ที่กราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง[9] แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เต็มตามตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470[10] ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการจนถึงปี พ.ศ. 2475 จึงทรงออกจากตำแหน่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 [11] หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2493 จึงทรงแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[12] และวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรี แทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร ที่ทรงย้ายไปเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[13] ต่อมาวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงศักดินา 11,000[14] เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ รัฐสภาจึงแต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2494[15] สุดท้ายทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรีอีกครั้งในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495[16]

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีก 2 ครั้ง คือตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ถึงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวัน[17] และตั้งแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศฟิลิปปินส์[18]

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสกสมรสกับหม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขุม) ธิดาของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) กับโต (สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร) มีพระโอรสธิดา 4 คน ดังนี้[19]

  1. หม่อมราชวงศ์ไม่มีชื่อ (เพศชาย)
  2. หม่อมราชวงศ์นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร
  3. หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล
  4. หม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2517 สิริพระชันษา 88 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ กับทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ และประดิษฐานพระโกศพระศพไว้ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ณ พระเมรุหลวง วัดเทพศิรินทราวาส และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการเก็บพระอัฐิ เลี้ยงเพลสามหาบ และทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์อีก 10 รูป สดับปกรณ์

การดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี แก้ไข

พระเกียรติยศ แก้ไข

พระอิสริยยศ แก้ไข

  • หม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล

(7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)

  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต

(11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)

  • พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

(8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 8 กันยายน พ.ศ. 2517)

ธรรมเนียมพระยศของ
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
 
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระยศ แก้ไข

พระยศพลเรือน แก้ไข

  • มหาอำมาตย์เอก[20]
  • อำมาตย์โท[21]

พระยศกระทรวงวัง แก้ไข

  • มหาเสวกตรี[22]
  • มหาเสวกโท[23]

พระยศกองเสือป่า แก้ไข

  • นายหมู่โท[24]
  • นายหมวดตรี
  • นายหมวดเอก[25]
  • นายกองตรี[26]
  • นายกองโท[27]
  • นายกองเอก[28]

ประธานองคมนตรี แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้ไข

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม แก้ไข

พงศาวลี แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, เล่ม 69, ตอน 18, 20 มีนาคม พ.ศ. 2494, หน้า 402
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ประธานองคมนตรี),
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ประธานองคมนตรี),
  4. "พระบรมวงษ์เธอ พระวรวงษ์เธอหม่อมเจ้าทรงผนวชแลหม่อมราชวงษ์ผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (15): 168–9. 10 กรกฎาคม 2441. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, การทรงผนวชและบวชนาคหลวง, เล่ม 26, ตอน 0 ง, 1 สิงหาคม พ.ศ. 2452, หน้า 919-924
  6. ตำแหน่งปลัดกรมพลำภัง (กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน)
  7. ผู้ช่วยราชเลขานุการ
  8. "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ทรงศักดินา 3000" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนเสนาบดีกระทรวงธรรมการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 269–270. 4 สิงหาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เสนาบดีกระทรวงวัง และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ กับอธิบดีศาลฎีกา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 722–723. 20 มีนาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (33 ก): 479. 21 มิถุนายน 2492. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (18 ก): 400. 28 มีนาคม 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (32 ก): 646–647. 6 มิถุนายน 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (27 ก): 495–498. 9 พฤษภาคม 2493. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (18 ก): 402–403. 20 มีนาคม 2494. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (27 ก): 640–641. 29 เมษายน 2495. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (52 ก ฉบับพิเศษ): 25–26. 24 พฤษภาคม 2506. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (69 ก ฉบับพิเศษ): 8–9. 8 กรกฎาคม 2506. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. พิทยลาภพฤฒิยากร, กรมหมื่น. อัตตชีวประวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2556, หน้า 90
  20. พระราชทานยศมหาอำมาตย์เอก
  21. พระราชทานยศอำมาตย์โท
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๖, ๒๔ ธันวาคม ๒๔๕๙
  23. พระราชทานยศ
  24. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  25. พระราชทานยศเสือป่า
  26. พระราชทานยศนายกองตรี
  27. พระราชทานนายกองโท
  28. พระราชทานยศนายกองเอก
  29. เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
  30. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
  31. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  32. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 33, ตอน 0 ง, 25 มีนาคม พ.ศ. 2459, หน้า 3717
  34. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๒๕๖๗, ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๖
  35. เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)
  36. "ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 45 (ตอน 0ง): หน้า 2368. 6 พฤศจิกายน 2471. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 70, ตอน 10 ง, 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496, หน้า 529
  38. เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)
  39. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศกระทรวงวัง เรื่อง การประดับเสมาบรมราชาภิเษก เล่ม 43 หน้า 3721 วันที่ 16 มกราคม 2470
  40. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 67 หน้า 2129, 30 สิงหาคม 2498
  41. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 75 หน้า 2278, 20 กันยายน 2498
  42. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 78 ตอนที่ 12 หน้า 320, 7 กุมภาพันธ์ 2504
  43. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 41 หน้า 1319, 30 เมษายน 2506
  44. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 101 หน้า 2354, 15 ตุลาคม 2506
  45. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 83 ตอนที่ 47 ฉบับพิเศษ หน้า 17, 1 มิถุนายน 2509