ลอนดอน
ลอนดอน (อังกฤษ: London, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈlʌndən/ ( ฟังเสียง) ลันเดิน) หรือ กรุงลอนดอน หรือ นครลอนดอน เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเทมส์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ บริเวณปากแม่น้ำซึ่งไหลลงสู่ทะเลเหนือ บริเวณนี้ยังเป็นย่านชุมชมเก่าแก่ซึ่งมีผู้อาศัยมากกว่า 2,000 ปี ลอนดอนเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรป และยังเป็นหนึ่งในเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก[7] มีประชากรจำนวน 8,866,180 คนใน ค.ศ. 2022 จึงถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในยุโรป คิดเป็น 13.4% ของประชากรในสหราชอาณาจักร และ 16% ของประชากรในประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุนี้ลอนดอนจึงมีสถานะเป็นเมกะซิตี เขตมหานครลอนดอนยังถือเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคยุโรปตะวันตกด้วยจำนวนประชากร 15 ล้านคน[8] คำขวัญภาษาละตินของนครลอนดอน คือ “Domine dirige nos” แปลว่า “พระเจ้าทรงนำทางพวกเรา“ ชาวลอนดอนมักถูกเรียกว่า ลอนดอนเนอร์ (อังกฤษ: Londoner)
ลอนดอน | |
---|---|
นครลอนดอนและปริมณฑล | |
พิกัด: 51°30′28″N 00°07′41″W / 51.50778°N 0.12806°W | |
ประเทศ | บริเตนใหญ่ |
ภาค | ลอนดอน |
เขต | นครหลวง และ 32 เทศบาล |
ก่อตั้งโดยชาวโรมัน | โดยชื่อว่า ลอนดิเนียม ประมาณ ค.ศ. 50 |
การปกครอง | |
• หน่วยงานท้องถิ่น | สำนักเขตนครลอนดอนและปริมณฑล |
• สภา | สภาลอนดอน |
• นายกเทศมนตรี | ซาดีก คาน (คอน) |
• สำนักงานใหญ่ | โถงเมือง |
• รัฐสภา UK - สภาลอนดอน - รัฐสภายุโรป | 74 เขตเลือกตั้ง 14 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งลอนดอน |
พื้นที่ | |
• นครหลวงและปริมณฑล | 1,580 ตร.กม. (609 ตร.ไมล์) |
ความสูง[1] | 24 เมตร (79 ฟุต) |
ประชากร | |
• นครหลวงและปริมณฑล | 7,355,400 คน |
• ความหนาแน่น | 4,761 คน/ตร.กม. (12,331 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 8,278,251 คน |
• รวมปริมณฑล | 13,063,441 คน |
• ชาว | ลอนดอนเนอร์ |
• ชนกลุ่ม [6] | 69.6% ขาว 58.2% ขาวบริเตน 2.6% ไอริชขาว 8.8% ผิวขาวอื่น ๆ 3.4% ลูกครึ่ง 1.0% ขาวและคาริบเบียนดำ 0.5% ขาวและแอฟริกาดำ 0.9% เอเชียขาวและใต้ 0.9% ขาวและดำอื่น ๆ 12.9% เอเชียใต้ 6.4% อินเดีย 2.2% ปากีสถาน 2.2% บังกลาเทศ 2.0% เอเชียใต้อื่น ๆ 10.8% ดำ 4.4% คาริบเบียนดำ 5.5% แอฟริกาดำ 0.8% ดำอื่น ๆ 3.3% เอเชียตะวันออกและอื่น ๆ 1.4% จีน 1.9% อื่น ๆ |
เขตเวลา | UTC0 (GMT) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+1 (BST) |
รหัสไปรษณีย์ | หลากหลาย |
เว็บไซต์ | www.london.gov.uk |
ลอนดอนถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป ก่อตั้งโดยชาวโรมันในชื่อ ล็อนดินิอูง ราวคริสต์ศักราช 47-50[9] นครเวสต์มินสเตอร์ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงลอนดอนยังเป็นที่ตั้งของรัฐบาล และ รัฐสภาสหราชอาณาจักร นครลอนดอนเติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในช่วงศตวรรษที่ 19[10] ชื่อ "ลอนดอน" ยังสื่อถึงมหานครซึ่งตั้งอยู่บริเวณโดยรอบ โดยในอดีตเคยใช้สื่อถึงการแบ่งเทศมณฑลของอังกฤษอันประกอบไปด้วย มิดเดิลเซกซ์, เอสเซกซ์, เซอร์รีย์, เคนต์ และ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์[11] ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมโดยหน่วยงานท้องถิ่น 33 แห่งและหน่วยงานบริหารกรุงลอนดอน (Greater London Authority) ตั้งแต่ ค.ศ. 1965 เป็นต้นมา[12]
ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน[13] การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเคยมีสถานะเป็นเมืองหลวงของโลก และเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญที่สุดในโลกมาถึงปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก[14][15] ลอนดอนยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการศึกษาของยุโรป และเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง อาทิ อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนซึ่งมีจุดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน มีชื่อเสียงด้านสังคมศาสตร์และการเงิน รวมถึงยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดินซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานวิจัยระดับโลก[16][17] ลอนดอนเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากที่สุดในยุโรป และเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และมีท่าอากาศยานที่พลุกพล่านที่สุดในยุโรป โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว์เป็นท่าอากาศยานหลัก[18] แม้จะมีการถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนภายหลังเบร็กซิต ทว่าลอนดอนยังคงสถานะการเป็นเมืองที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากที่สุดของยุโรป และเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก[19] ลอนดอนยังเป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของโลกโดยมีภาษามากกว่า 300 ภาษาถูกใช้ในลอนดอน[20]
ลอนดอนมีแหล่งมรดกโลกจำนวน 4 แห่ง: สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว, หอคอยแห่งลอนดอน, เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (รวมถึงโบสถ์เซนต์มาร์กาเร็ต) และเมืองนาวีกรีนิชซึ่งเป็นที่ตั้งหอดูดาวหลวงเกรนิช และการกำหนดเวลามาตรฐานกรีนิช[21] สถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ พระราชวังบักกิงแฮม, ลอนดอนอาย, พิคะดิลีเซอร์เคิส, อาสนวิหารนักบุญเปาโล, สะพานทาวเวอร์ และ จัตุรัสทราฟัลการ์ กรุงลอนยังมีจำนวนพิพิธภัณฑ์, หอศิลป์, หอสมุด และสถานที่ทางวัฒนธรรมมากที่สุดในสหราชอาณาจักรซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์บริติช, หอศิลป์แห่งชาติ, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ, เทตมอเดิร์น, หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ และ โรงละครรวมทั้งรวมภาพยนตร์ชื่อดังหลายแห่ง และเป็นที่ตั้งของภัตตาคารระดับโลกหลายแห่ง ลอนดอนยังเป็นที่ตั้งของสโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกซึ่งได้รับความนิยมทั่วโลก อาทิ อาร์เซนอล, เชลซี, ทอตนัมฮอตสเปอร์, เวสต์แฮมยูไนเต็ด, ฟูลัม และ คริสตัลพาเลซ สนามกีฬาเวมบลีย์ยังเป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่มีชื่อเสียงของโลก ถูกใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมสำคัญหลายครั้ง รวมถึงการแข่งขันเทนนิสแกรนด์สแลมวิมเบิลดัน และ ฟุตบอลเอฟเอคัพ ลอนดอนยังเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ ได้แก่ ลอนดอนมาราธอน และเคยเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
ประวัติศาสตร์
แก้ชื่อ ลอนดอน นักประวัติศาสตร์คาดว่าน่าจะมาจากชื่อกรุงลอนดอนในสมัยโรมันว่า ลอนดีนิอุม (ละติน: Londinium) ซึ่งเป็นภาษาละติน และเพี้ยนมาเป็นชื่อ "ลอนดอน" ในภายหลัง ถึงแม้ว่าชาวโรมันจะพิชิตอังกฤษได้ก็ตาม ลอนดิเนียมแห่งนี้อยู่เพียงสิบเจ็ดปีเท่านั้น ในปี ค.ศ. 61 ชาวเผ่าไอซินี นำโดยราชินีโบดิก้า บุกเข้ายึดลอนดึเนียม เผาทั้งเมือง และเข่นฆ่าชาวโรมันอย่างเหี้ยมโหด[22] แต่ในเวลาถัดมา ชาวโรมันสามารถยึดเมืองกลับคืนมาได้ และชนะการรบกับราชินีโบดิก้า ในราวศตวรรษที่ 2 ลอนดิเนียมรุ่งเรืองถึงขีดสุด และลอนดอนโรมันมีประชากรประมาณ 60,000 คน
ลอนดอนประสบอัคคีภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ส่งผลให้ผู้คนเชื่อว่าเลข 666 เป็นเลขแห่งความโชคร้าย การสร้างเมืองใหม่ใช้เวลาถึง 10 ปีด้วยกัน แต่ลอนดอนยังคงเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2560 กรุงลอนดอนนอกจากประสบกับเหตุก่อการร้ายยังประสบอัคคีภัย มีคนเสียชีวิต รวม 20 ราย หากรวมผู้ก่อการร้ายด้วยจะเป็น 24ราย
ฤดูกาลและภูมิอากาศ
แก้สำหรับฤดูกาลโดยทั่วไปของอังกฤษ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ฤดู แถมยังขึ้นชื่อว่าเป็นเมือง 4 ฤดูในหนึ่งวันอีกด้วย นั่นก็เพราะในบางวันที่ลอนดอนจะมีทั้งแดดออก ฝนตก หนาวเย็นและอบอุ่นสลับกันไป ซึ่งอากาศในช่วงกลางวันจะอบอุ่นกว่าค่าเฉลี่ยได้ 5-10 องศา และอากาศในตอนกลางคืนจะหนาวเย็นกว่าได้ประมาณ 5 องศา
1.ฤดูใบไม้ผลิ
ฤดูใบไม้ผลิ เป็นฤดูที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงได้บ่อยที่สุด อาจมีทั้งอากาศอบอุ่น แสงแดดจัด หนาวเย็นและฝนตกสลับกันไป หรือสภาพอากาศเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในวันเดียวกันซึ่งทั้งนี้ช่วงฤดูใบไม้ผลิก็จะอยู่ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
- เดือนมีนาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 9 องศาเซลเซียส
- เดือนเมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 11 องศาเซลเซียส
- เดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 14 องศาเซลเซียส
2. ฤดูร้อน
ฤดูร้อน สภาพอากาศจะมีความอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ และมีแสงแดดส่องตลอดวัน โดยช่วงฤดูร้อนก็จะอยู่ในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม และยังเป็นช่วงที่กลางวันยาวนานมาก บางช่วง 2 ทุ่มกว่าแล้วเพิ่งจะเริ่มมืด โดย
- เดือนมิถุนายน มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16 องศาเซลเซียส
- เดือนกรกฎาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส
- เดือนสิงหาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส
3. ฤดูใบไม้ร่วง
ฤดูใบไม้ร่วง เป็นฤดูที่ใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีและร่วงหล่นลงมามากกว่าปกติ แต่ก็ให้ความสวยงามและบรรยากาศที่น่าเที่ยวไม่น้อย โดยช่วงฤดูใบไม้ร่วงจะอยู่ระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน โดย
- เดือนกันยายน มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 17 องศาเซลเซียส
- เดือนตุลาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 13 องศาเซลเซียส
- เดือนพฤศจิกายน มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส
4. ฤดูหนาว
ฤดูหนาวเป็นฤดูที่มีหิมะตก เหมาะกับการท่องเที่ยวสำหรับคนที่อยากสัมผัสกับหิมะเป็นที่สุด แต่จะมีหิมะตกบางพื้นที่เท่านั้น และกลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวันอีกด้วย หรือกล่าวง่ายๆก็คือช่วงนี้จะมืดเร็วกว่าปกตินั่นเอง บางช่วงยังไม่ 5 โมงเย็นท้องฟ้าจะเริ่มมืดแล้ว ซึ่งช่วงฤดูหนาวก็จะอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมาพันธ์ โดย
- เดือนธันวาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 7 องศาเซลเซียส
- เดือนมกราคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 7 องศาเซลเซียส
- เดือนกุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 7 องศาเซลเซียส
เครดิต: ตะลอนเที่ยวดอตคอม
เศรษฐกิจ
แก้ลอนดอนถูกจัดอับดับโดย Mastercard Worldwide (มาสเตอร์การ์ด เวิรลด์ไวด์) ว่าเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อันดับหนึ่งของโลก [23] ลอนดอนยังเป็นศูนย์กลางของการอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมธนาคารและการประกันภัยด้วย การอุตสาหกรรมในลอนดอนมีความหลากหลายตั้งแต่อุตสาหกรรมที่ไม่มีฝีมือจนถึงช่างฝีมือ รวมทั้งอุตสาหกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในร้านค้าต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1747 อาชีพของคนในลอนดอน ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีถึง 215 อาชีพ และเพิ่มขึ้นเป็น 492 อาชีพในปี ค.ศ. 1792 ในปี ค.ศ. 1700 ร้อยละ 20 ของประชากรในอังกฤษที่อาศัยอยู่ในเมือง 2 ใน 3 ของประชากรเมืองเหล่านี้อาศัยอยู่ในลอนดอน การขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศได้ส่งผลให้กิจการธนาคารในลอนดอนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ลอนดอนเป็นที่ตั้งของธนาคารทั้งในและต่างประเทศ ตลาดหุ้น กิจการการประกันภัย ฯลฯ การเจริญเติบโตดังกล่าวมีผลต่อพัฒนาการของการใช้นโยบายการค้าระหว่างประเทศ ในศตวรรษที่ 19 ซึ่งอังกฤษได้หันมาใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (liberalism) แทนที่นโยบายพาณิชย์นิยม (mercantilism).
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้แก่ พระราชวังบักกิงแฮม มหาวิหารเวสมินสเตอร์ หอนาฬิกาบิ๊กเบน สะพานลอนดอน หอคอยลอนดอน ซึ่งเป็นที่คุ้นหูนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเนิ่นนาน
อ้างอิง
แก้- ↑ "ลอนดอน, สหราชอาณาจักร พยากรณ์อากาศ (ที่สนามบินฮีทโธรว์)" (online). สืบค้นเมื่อ 2007-03-16. (อังกฤษ)
- ↑ "T 08: Selected age groups for local authorities in the United Kingdom; estimated resident population; Mid-2006 Population Estimates" (XLS). Office for National Statistics. 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 2007-08-22.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) (อังกฤษ) - ↑ KS01 Usual resident population: Census 2001, Key Statistics for urban areas www.statistics.gov.uk (อังกฤษ)
- ↑ World Gazetteer - World: metropolitan areas (อังกฤษ)
- ↑ "ประชาการของเขตพื้นที่นครลอนดอน". 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 2007-08-27.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)(อังกฤษ) - ↑ "Neighbourhood Statistics". Neighbourhood Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-29. (อังกฤษ)
- ↑ "The Global Financial Centres Index 10"[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Major Agglomerations of the World - Population Statistics and Maps". www.citypopulation.de.
- ↑ "London Government Act: Essex, Kent, Surrey and Middlesex 50 years on". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2013-08-01. สืบค้นเมื่อ 2024-10-01.
- ↑ Chambers, W., The Postman's Knock, Chambers's Edinburgh Journal (1857)
- ↑ "The baffling map of England's counties". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2014-04-25. สืบค้นเมื่อ 2024-10-01.
- ↑ Axford, Barrie; Denver, David (2007). Jones, Bill (บ.ก.). Politics UK (6. ed ed.). Harlow: Pearson Education. ISBN 978-1-4058-2411-8.
{{cite book}}
:|edition=
has extra text (help) - ↑ ,8209-2081045, 00.html Focus: Squeezing the Big Apple -Louise Armitstead, Richard Fletcher, Mark Kleinman and Dominic Rushe (March 12, 2006) business.timesonline.co.uk (อังกฤษ)
- ↑ "Leading 200 science cities | Nature Index 2021 Science Cities | Supplements | Nature Index". www.nature.com.
- ↑ "UK's stock market is in a 'doom loop' that's undermining London's status as a global financial capital, investment bank says | Fortune" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-10-31.
- ↑ "World University Rankings". Times Higher Education (THE) (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-19.
- ↑ "QS World University Rankings 2022". Top Universities (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-13.
- ↑ "Revealed: The most crowded skies on the planet". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "London is Europe's leading economic powerhouse, says new report | London City Hall". www.london.gov.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Languages spoken in the UK population, FAQ - CILT". web.archive.org. 2008-09-24.
- ↑ Centre, UNESCO World Heritage. "United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland - UNESCO World Heritage Convention". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "เส้นเวลาประวัติศาสตร์อังกฤษ—อังกฤษโรมัน". บีบีซี. 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) (อังกฤษ) - ↑ ลอนดอนรั้งศูนย์พาณิชย์โลก กทม.ติดที่ 36 (อังกฤษ)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เก็บถาวร 2005-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - สาระน่ารู้ก่อนเดินทางโดยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย (ไทย)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของส่วนการปกครองท้องถิ่น (อังกฤษ)
- แผนที่ของลอนดอนในอดีต (อังกฤษ)
- บีบีซี - เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลอนดอน (อังกฤษ)
- บริเตนเอ็กซ์เพรส เก็บถาวร 2008-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- เยี่ยมลอนดอน (อังกฤษ)