พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)
พรรคแรงงาน (อังกฤษ: Labour Party) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายกลางในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในสามพรรคการเมืองใหญ่ของประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักร โดยเข้าควบรวมพรรคเสรีนิยมในช่วงต้นยุคปี พ.ศ. 2463 และได้จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภาโดยมีแรมเซย์ แมคโดนัล เป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2467 และระหว่าง พ.ศ. 2472 - 2474 ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคได้ร่วมจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติในภาวะสงครามกับพรรคอนุรักษนิยมระหว่างปี พ.ศ. 2483 - 2488 ต่อมาจึงได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาโดยมีเคลเมนต์ แอตต์ลี เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคยังมีโอกาสได้เป็นรัฐบาลในช่วงปี พ.ศ. 2507 - 2513 ภายใต้นายกรัฐมนตรีเฮโรลด์ วิลสัน และช่วงปี พ.ศ. 2517 - 2522 ซึ่งในช่วงแรกภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีเฮโรลด์ วิลสัน ก่อนที่จะสืบต่อด้วยนายกรัฐมนตรีเจมส์ คัลลาฮาน
พรรคแรงงาน Labour Party | |
---|---|
หัวหน้า | เซอร์ เคียร์ สตาร์เมอร์ |
รองหัวหน้า | แอนเจลา เรย์เนอร์ |
เลขาธิการ | เดวิด เอวานส์ |
ประธาน | แอนเนลีส ด็อดส์ |
หัวหน้าขุนนาง | บาร์รอนเนสสมิธแห่งแบซิลดอน |
คำขวัญ | "Britain's future" / "Let's get Britain's future back" (2024)[1][2] |
ก่อตั้ง | 27 กุมภาพันธ์ 1900[3][4] (ในนามคณะกรรมการตัวแทนแรงงาน) |
ที่ทำการ |
|
ฝ่ายเยาวชน | ยังเลเบอร์ |
ฝ่าย LGBT | LGBT+ เลเบอร์ |
สมาชิกภาพ (ปี 2567) | 366,604[7] |
อุดมการณ์ | |
จุดยืน | ซ้ายกลาง[17] |
กลุ่มระดับสากล | พันธมิตรก้าวหน้า สมาคมพรรคสังคมนิยมสากล (สังเกตการณ์) |
กลุ่มในภูมิภาค | พรรคสังคมนิยมยุโรป |
พรรคที่เกี่ยวข้อง | พรรคสหกรณ์ (สหราชอาณาจักร) (แรงงานและสหกรณ์) เคยเกี่ยวข้อง
|
ความเกี่ยวข้องอื่น ๆ | พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมและแรงงาน (ไอร์แลนด์เหนือ) พรรคแรงงานสังคมนิยมยิบรอลตาร์ (ยิบรอลตาร์)[18] |
สี | แดง |
เพลง | "เดอะเรดแฟลก" |
สาขาพรรคที่กระจายอำนาจ | |
พรรคในรัฐสภา | พรรคแรงงานในรัฐสภา (Parliamentary Labour Party; PLP) |
สภาสามัญชน | 404 / 650 |
สภาขุนนาง | 177 / 786 |
รัฐสภาสกอตแลนด์ | 22 / 129 |
รัฐสภาเวลส์ | 30 / 60 |
นายกเทศมนตรีภูมิภาค[nb] | 11 / 12 |
สภาลอนดอน | 11 / 25 |
ผู้บัญชาการตำรวจ | 8 / 39 |
นายกเทศมนตรีเลือกตั้งโดยตรง | 10 / 16 |
สมาชิกสภาท้องถิ่น[nb][19] | 6,561 / 18,646 |
เว็บไซต์ | |
labour | |
การเมืองสหราชอาณาจักร รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง ^ นายกเทศมนตรีลอนดอนและนายกเทศมนตรีองค์กรบริหารรวม 11 คน ^ สมาชิกสภาองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น (รวมถึงเทศมนตรี 25 คนในนครลอนดอน) สกอตแลนด์ สภาหลักในเวลส์และสภาท้องถิ่นในไอร์แลนด์เหนือ |
พรรคแรงงานได้มีโอกาสเป็นรัฐบาลในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2553 ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์ และนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2540 ด้วยเสียงข้างมากในสภา 179 ที่นั่ง ก่อนจะลดลงมาที่ 169 ที่นั่งในปี พ.ศ. 2544 และ 66 ที่นั่งในปี พ.ศ. 2548 ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2558 พรรคได้รับคะแนนเสียง 232 ที่นั่งในสภาและดำรงตำแหน่งเป็นฝ่ายค้านในปัจจุบัน พรรคแรงงานเป็นพรรคขนาดใหญ่ในเวลส์และได้รับเสียงมากในสมัชชาแห่งเวลส์และมีเสียงส่วนหนึ่งในรัฐสภาสกอตแลนด์ และยังมีสมาชิกของพรรค 13 คนได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิกรัฐสภายุโรป พรรคแรงงานยังเป็นสมาชิกของสมาคมพรรคสังคมนิยมสากลและพรรคสังคมนิยมยุโรปอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2567 พรรคแรงงานโดยการนำของ เคียร์ สตาร์เมอร์ ชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมอย่างถล่มทลาย ส่งผลให้สตาร์เมอร์เป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงานคนแรกในรอบ 14 ปี
อ้างอิง
แก้- ↑ "National Flag Usage & Straplines". General Election Brand Guidelines 2024 (PDF). Labour party. 2024. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-02-29. สืบค้นเมื่อ 2024-05-11.
- ↑ "Labour vow to 'get Britain's future back' as conference kicks off in Liverpool". Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-13.
- ↑ Brivati & Heffernan 2000: "On 27 February 1900, the Labour Representation Committee was formed to campaign for the election of working class representatives to parliament."
- ↑ Thorpe 2008, p. 8.
- ↑ O'Shea, Stephen; Buckley, James (8 December 2015). "Corbyn's Labour party set for swanky HQ move". CoStar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2017. สืบค้นเมื่อ 8 October 2017.
- ↑ "Contact". Labour Party. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2020. สืบค้นเมื่อ 14 September 2020.
- ↑ Helm, Toby (30 March 2024). "Labour membership falls by 23,000 over Gaza and green policies". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 March 2024.
- ↑ Worley, Matthew (2009). The Foundation of the British Labour Party: Identities, Cultures, and Perspectives,1900–39. Farnham: Ashgate Publishing. ISBN 978-0-7546-6731-5 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Nordsieck, Wolfram (2019). "United Kingdom". Parties and Elections in Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2012. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
- ↑ Adams, Ian (1998). Ideology and Politics in Britain Today (illustrated, reprint ed.). Manchester: Manchester University Press. pp. 144–145. ISBN 978-0-7190-5056-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Busky, Donald F. (2000). "Democratic Socialism in Great Britain and Ireland". Democratic Socialism: A Global Survey. Westport, CT: Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-275-96886-1.
- ↑ Bakker, Ryan; Jolly, Seth; Polk, Jonathan (14 May 2015). "Mapping Europe's party systems: which parties are the most right-wing and left-wing in Europe?". London School of Economics / EUROPP – European Politics and Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2015. สืบค้นเมื่อ 26 May 2015.
- ↑ Giddens, Anthony (17 May 2010). "The rise and fall of New Labour". New Statesman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2015. สืบค้นเมื่อ 26 May 2015.
- ↑ Peacock, Mike (8 May 2015). "The European centre-left's quandary". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2015. สืบค้นเมื่อ 26 May 2015.
A crushing election defeat for Britain's Labour party has laid bare the dilemma facing Europe's centre-left.
- ↑ Dahlgreen, Will (23 July 2014). "Britain's changing political spectrum". YouGov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2015. สืบค้นเมื่อ 26 May 2015.
- ↑ Budge 2008, pp. 26–27.[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
- ↑ [12][13][14][15][16]
- ↑ https://archive.today/20140523051814/http://www.gbc.gi/news/news-details.php?id=3695
- ↑ "Open Council Data UK – compositions councillors parties wards elections". opencouncildata.co.uk.