เคียร์ สตาร์เมอร์

นักการเมืองและนักกฎหมายชาวบริติช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 2024

เซอร์ เคียร์ รอดนีย์ สตาร์เมอร์ KCB KC (อังกฤษ: Sir Keir Rodney Starmer; เกิด 2 กันยายน ค.ศ. 1962) เป็นนักการเมืองชาวบริติชและเนติบัณฑิต ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรตั้งแต่กรกฎาคม ค.ศ. 2024 และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานตั้งแต่ค.ศ. 2020 สตาร์เมอร์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาเขตฮอลบอร์นและเซนต์แพนคราสตั้งแต่ ค.ศ. 2015 และก่อนหน้านั้นเขาดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านระหว่างปี 2020 ถึง 2024 และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักอัยการระหว่างปี 2008 ถึง 2013 สตาร์เมอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากริชี ซูแน็ก หลังจากพรรคแรงงานชนะในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2024[1]

เซอร์ เคียร์ สตาร์เมอร์
Sir Keir Starmer
ภาพถ่ายทางการ ค.ศ. 2024
นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 กรกฎาคม ค.ศ. 2024
(0 ปี 77 วัน)
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
รองแอนเจลา เรย์เนอร์
ก่อนหน้าริชี ซูแน็ก
ผู้นำฝ่ายค้าน
ดำรงตำแหน่ง
4 เมษายน ค.ศ. 2020 – 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2024
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน
ลิซ ทรัสส์
ริชี ซูแน็ก
ก่อนหน้าเจเรมี คอร์บิน
ถัดไปริชี ซูแน็ก
หัวหน้าพรรคแรงงาน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
4 เมษายน ค.ศ. 2020
รองแอนเจลา เรย์เนอร์
ก่อนหน้าเจเรมี คอร์บิน
ตำแหน่งรัฐมนตรีเงา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเงา
2016–2020การออกจากสหภาพยุโรป
รัฐมนตรีเงา
2015–2016การตรวจคนเข้าเมือง
สมาชิกรัฐสภา
เขตฮอลบอร์นและเซนต์แพนคราส
เริ่มดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม ค.ศ. 2015
ก่อนหน้าแฟรงก์ ด็อบสัน
คะแนนเสียง27,763 (48.9%)
ผู้อำนวยการฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 – 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013
แต่งตั้งโดยบารอเนสสกอตแลนด์แห่งอัสธาล
ก่อนหน้าเคน แม็คโดนัลด์
ถัดไปแอลลิสัน ชอนเดอรส์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เคียร์ รอดนีย์ สตาร์เมอร์

(1962-09-02) 2 กันยายน ค.ศ. 1962 (62 ปี)
เซาธ์วาร์ก, ลอนดอน, อังกฤษ
พรรคการเมืองพรรคแรงงาน
คู่สมรสวิกตอเรีย อาเล็กซานเดอร์ (สมรส 2007)
บุตร2
การศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาไรเกต
โรงเรียนดนตรีและการแสดงกิลด์ฮอลล์
ศิษย์เก่า
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

สตาร์เมอร์เกิดที่กรุงลอนดอน และเติบโตขึ้นที่เซอร์รีย์ โดยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของรัฐที่โรงเรียนรีเกตแกรมมาสคูลซึ่งต่อมาในระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้นได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนเอกชนแทน เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลีดส์เมื่อ ค.ศ.​ 1985 และต่อมาได้จบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ที่เซนต์ เอ็ดมันด์ ฮอลล์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ใน ค.ศ. 1986

ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาทางเนติบัณฑิตแล้ว สตาร์เมอร์ได้เริ่มทำงานเป็นทนายความเฉพาะทางด้านจำเลยคดีอาญาซึ่งเน้นคดีความด้านสิทธิมนุษยชน โดยได้เข้าเป็นสมาชิกประจำสำนักงานเนติบัณฑิตโดท์ตีสตรีทก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายในพระราชินีฯ (Queen's Counsel) ใน ค.ศ. 2002 ใน ค.ศ. 2008 สตาร์เมอร์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักอัยการจนถึง ค.ศ. 2013 โดยภายหลังจากเสร็จสิ้นวาระการทำงานในสำนักอัยการแล้วเขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธชั้นอัศวิน (KCB) ใน ค.ศ. 2014

สตาร์เมอร์ชนะการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสามัญชนใน ค.ศ.​ 2015 และได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีการอพยพเงาในปึค.ศ. ​2015 และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีเงาในเดือนตุลาคม ค.ศ.​ 2016 ในตำแหน่งรัฐมนตรีการออกจากสหภาพยุโรปเงาซึ่งมีขึ้นในภายหลังจากเหตุการณ์เบร็กซิต โดยเขาได้เสนอให้มีการทำประชามติครั้งที่สองในเรื่องนี้โดยเขาได้ลงความเห็นว่าจะตัดสินใจเลือกลงคะแนนเพื่อที่จะคงอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป ภายหลังจากการพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ.​ 2019 เขาได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานแทนเจเรมี คอร์บิน เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2020

สตาร์เมอร์นำพรรคแรงงานสู่ชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2024 ทำให้วาระของรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมที่ดำเนินมา 14 ปีสิ้นสุดลง โดยพรรคแรงงานเป็นพรรคที่มีจำนวนที่นั่งมากที่สุดในสภาสามัญชน สตาร์เมอร์กล่าวว่านโยบายภายในประเทศจะให้ความสำคัญกับการทำให้เศรษฐกิจโตขึ้น ปฏิรูประบบการขออนุญาตก่อสร้าง โครงสร้างพื่นฐาน พลังงาน การศึกษา การดูแลเด็กและเยาวชน และการทำให้สิทธิแรงงานเข้มแข็งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ได้กล่าวถึงในคำแถลงนโยบายทางการเมืองของพรรคแรงงานที่เปิดเผยก่อนการเลือกตั้ง สตาร์เมอร์ยังมีนโยบายจัดตั้งกองรักษาความมั่นคงชายแดนเพื่อมาแทนที่แผนการส่งผู้ลี้ภัยไปประเทศรวันดาอีกด้วย ในทางการต่างประเทศ สตาร์เมอร์สนับสนุนยูเครนในการต้านการรุกรานของรัสเซีย และสนับสนุนอิสราเอลในสงครามอิสราเอลฮามาส แต่ก็สนับสนุนให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในฉนวนกาซาทันทีตั้งแต่กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 เช่นกัน หลังจากก่อนหน้านี้ปฏิเสธที่จะสนับสนุนการหยุดยิง

ปฐมวัยและการศึกษา (ค.ศ. 1976-1985)

แก้
 
โรงเรียนมัธยมไรเกต ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สตาร์เมอร์เคยศึกษาอยู่

เคียร์ รอดนีย์ สตาร์เมอร์เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1962 ในเซาธ์วาร์ก ลอนดอน[2][3][4] เขาเติบโตในเมืองออกซ์เตดในเซอร์รีย์[5][6][7] เป็นบุตรคนที่สองจากสี่คน โดยมารดาชื่อโจเซฟีน ดำรงอาชีพพยาบาล และบิดาชื่อรอดนีย์ สตาร์เมอร์ ดำรงอาชีพช่างผลิตแม่แบบ[7][8] มารดาของสตาร์เมอร์เป็นโรคสติลล์[9][3] บิดามารดาสตาร์เมอร์เป็นผู้สนับสนุนพรรคแรงงานทั้งสองคน และตั้งชื่อบุตรตามชื่อของผู้นำพรรคแรงงานในสภาคนแรกคือเคียร์ ฮาร์ดี[10][11] แต่สตาร์เมอร์ได้กล่าวใน ค.ศ. 2015 ว่าไม่ทราบว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่[12]

สตาร์เมอร์ผ่านการสอบ 11-plus ซึ่งเป็นการสอบของเด็กประถมเพื่อเข้าโรงเรียนมัธยม และได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมไรเกต ซึ่ง ณ ตอนนั้นเป็นโรงเรียนมัธยมที่ได้รับการสนับสนุนโดยสมัครใจจากองค์กรไม่แสวงหากำไร และมีคัดเลือกนักเรียนที่ได้เข้ารับการศึกษาตามผลการเรียน[2][11] ต่อมาโรงเรียนมัธยมไรเกตได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนอิสระที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาใน ค.ศ. 1976 ขณะที่สตาร์เมอร์ยังเป็นนักเรียนอยู่ โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านโรงเรียนได้ทำข้อตกลงกับนักเรียนปัจจุบัน ทำให้บิดามารดาสตาร์เมอร์ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาจนสตาร์เมอร์อายุครบ 16 ปี[13][14][15] และเมื่อครบกำหนด โรงเรียนซึ่งในตอนนั้นได้เปลี่ยนสถานะเป็นมูลนิธิแล้วได้มอบทุนการศึกษาให้กับสตาร์เมอร์ ทำให้บิดามารดาไม่ต้องชำระค่าเล่าเรียนจนจบการศึกษา สตาร์เมอร์เลือกที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดนตรีและฟิสิกส์เป็นวิชาเฉพาะในช่วงการศึกษาสองปีสุดท้าย และได้คะแนน A Level เกรด B B และ C ตามลำดับ[16] สตาร์เมอร์มีเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มีชื่อเสียงได้แก่ นอร์แมน คุก (แฟตบอยสลิม) ซึ่งสตาร์เมอร์ได้เรียนไวโอลินร่วมด้วย แอนดรูว์ คูเปอร์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางพรรคอนุรักษนิยม และนักข่าวสายอนุรักษนิยม แอนดรูว์ ซัลลิแวน สตาร์เมอร์กล่าวว่าเขากับซัลลิแวน "ทะเลาะกันทุกเรื่อง ... การเมือง ศาสนา ว่ามาเรื่องไหนก็ทะเลาะกันหมด"[7]

ในช่วงวัยรุ่น สตาร์เมอร์เคลื่อนไหวทางการเมืองกับพรรคแรงงาน และเป็นสมาชิกของปีกยุวชนสังคมนิยมพรรคแรงงานตอนอายุ 16 ปี[17][7] สตาร์เมอร์เป็นนักเรียนที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อศึกษาในโรงเรียนดนตรีและการแสดงกิลด์ฮอล์จนอายุ 18 โดยสตาร์เมอร์เล่นฟลูต เปียโน รีคอร์เดอร์ และไวโอลิน[18] ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 สตาร์เมอร์โดนตำรวจจับระหว่างไปพักร้อนที่โกตดาซูร์เพราะจำหน่ายไอศกรีมโดยผิดกฎหมายระหว่างการเรี่ยไร สตาร์เมอร์หลบหนีได้อย่างสำเร็จ โดยตำรวจยึดไอศกรีมเท่านั้น ไม่มีการจับกุม[19][20] สตาร์เมอร์ศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยลีดส์ และได้เข้าร่วมชุมนุมพรรคแรงงานของมหาวิทยาลัย สตาร์เมอร์สำเร็จการศึกษาโดยได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ปริญญานิติศาสตรบัณฑิตใน ค.ศ. 1985 เป็นคนแรกในครอบครัวที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี[10][21] สตาร์เมอร์ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เป็นนักเรียนวิทยาลัยเซนต์เอดมันด์ฮอลล์ สำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านกฎหมายแพ่งใน ค.ศ. 1986[22][10]

งานนักกฎหมาย (ค.ศ. 1987-2013)

แก้

เนติบัณฑิต

แก้

สตาร์เมอร์เริ่มเป็นเนติบัณฑิต โดยเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภามิดเดิลเทมเปิลใน ค.ศ. 1987 โดยได้เป็นกรรมการสภาใน ค.ศ. 2009[2][3] และเป็นเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายให้กับกลุ่มเคลื่อนไหว ลิเบอร์ตี จนถึง ค.ศ. 1990[10] สตาร์เมอร์เป็นสมาชิกสำนักงานกฎหมายดาวตีสตรีทเชมเบอร์ส (Doughty Street Chambers) ตั้งแต่ ค.ศ. 1990 เป็นต้นไป โดยทำงานเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก[9][10]

สตาร์เมอร์ได้รับการประสาทปริญญาเนติบัณฑิตในประเทศแถบแคริบเบียนหลายประเทศ[23] เพื่อว่าความให้กับนักโทษที่ถูกตัดสินคดีให้รับโทษประหารชีวิต[7] สตาร์เมอร์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับเฮเลน สตีล และเดวิด มอร์ริส เรื่องคดีแมกไลเบลในชั้นต้นและอุทธรณ์ในศาลอังกฤษ และยังว่าความให้ในศาลยุโรปอีกด้วย[24] สตาร์เมอร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายในพระราชินีวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2002 อายุ 39 ปี[25] ในปีเดียวกันนั้น สตาร์เมอร์ได้เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานกฎหมายดาวตีสตรีทเชมเบอร์ส ใน ค.ศ. 2005 สตาร์เมอร์ได้กล่าวว่า "ผมถือว่าการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายในพระราชินีเป็นเรื่องแปลก เพราะผมเคยชอบสนับสนุนการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์"[26] ในช่วงเวลานี้ สตาร์เมอร์ร่วมเดินขบวนชุมนุมและเขียนความเห็นกฎหมายไม่เห็นด้วยกับสงครามอิรัก หลังจากการการบุกครองอิรัก ค.ศ. 2003 โดยเขากล่าวใน ค.ศ. 2015 ว่าสงคราม "ไม่ถูกต้องตามกฎหมายสากลเพราะไม่มีข้อมติสหประชาชาติอนุญาตให้บุกครองได้"[27][7]

สตาร์เมอร์เป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับคณะกรรมการตำรวจไอร์แลนด์เหนือและสมาคมผู้บัญชาการตำรวจ อีกทั้งยังเป็นกรรมการที่ปรึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตให้กับกระทรวงการต่างประเทศ เครือจักรภพ และการพัฒนา ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ถึง 2008[3][10] คณะกรรมการไอร์แลนด์เหนือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญช่วยให้ประชาคมกลับมาหลอมรวมกันได้หลังจากรัฐบาลทำความตกลงกู๊ดฟรายเดย์ สตาร์เมอร์ได้อ้างว่าการทำงานในแวดวงตำรวจไอร์แลนด์เหนือเป็นสิ่งที่ทำให้เขาตัดสินในทำงานการเมืองในที่สุด เขากล่าวว่า "ผมสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรต่าง ๆ ได้ตอนที่ผมร่วมงานในวงการตำรวจเร็วกว่าตอนที่ผมทำงานดำเนินคดีแบบยุทธศาสตร์ ... ผมเข้าใจมากขึ้นว่าสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เมื่ออยู่ข้างในและได้รับความไว้วางใจจากคนทำงาน"[28]

 
สตาร์เมอร์ในฐานะผู้อำนวยการฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน ป. 2012

ผู้อำนวยการฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน

แก้

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 อัยการสูงสุดอังกฤษและเวลส์ แพทริเชีย สกอตแลนด์ แต่งตั้งสตาร์เมอร์ให้เป็นผู้อำนวยการสำนักอัยการและผู้อำนวยการฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน สตาร์เมอร์ดำรงตำแหน่งต่อจากเคน แมคโดนัลด์ ซึ่งสนับสนุนการแต่งตั้งของสตาร์เมอร์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 อย่างเปิดเผย[10][11] สตาร์เมอร์ถือเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนในระบบกฎหมายอย่างมาก[10] ใน ค.ศ. 2011 สตาร์เมอร์ทดลองให้มีการนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ใช้กระดาษเป็นครั้งแรก[29] สตาร์เมอร์ได้ดูแลคดีใหญ่หลายคดีในช่วงวาระการเป็นผู้อำนวยการ โดยหนึ่งในคดีใหญ่คือคดีฆาตกรรมสตีเฟน ลอว์เรนส์[30]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 สตาร์เมอร์แถลงว่าสำนักอัยการมีคำสั่งฟ้องคดียื่นบัญชีเท็จสมาชิกรัฐสภาพรรคแรงงานสามคนและสมาชิกสภาขุนนางพรรคอนุรักษนิยมหนึ่งคน เกี่ยวเนื่องกับกรณีอื้อฉาวการเบิกค่าใช้จ่ายของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งสมาชิกรัฐสภาทั้งสามคนศาลตัดสินว่ามีความผิดจริง[31][32] หลังจากเหตุจลาจลในประเทศอังกฤษ ค.ศ. 2011 สตาร์เมอร์เน้นการดำเนินคดีผู้ก่อจลาจลอย่างรวดเร็วมากกว่าการเพิ่มโทษจำคุกให้ยาวที่สุด ซึ่งต่อมาสตาร์เมอร์คิดว่าช่วย "ให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว"[33][34] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 สตาร์เมอร์แถลงว่าจะมีการสั่งฟ้องคริส ฮิวน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในขณะนั้น ความผิดฐานแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม โดยสตาร์เมอร์กล่าวถึงคดีว่า "เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ พวกเราก็ไม่เกรงกลัวที่จะฟ้องนักการเมือง"[35] ใน ค.ศ. 2013 สตาร์เมอร์แถลงการปฏิรูปกระบวนการสืบสวนคดีที่เกี่ยวกับความผิดทางเพศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการยิวทรี รวมถึงการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดีเก่าด้วย[36][37][38]

สตาร์เมอร์ลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการฟ้องคดีอาญาแผ่นดินในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2013 โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อคืออลิสัน ซอนเดอร์ส[39][40] จาก ค.ศ. 2011 ถึง 2014 สตาร์เมอร์ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธชั้นอัศวิน (KCB) ในบัญชีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปีใหม่ ค.ศ. 2014 สำหรับงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา[41][42]

เริ่มงานการเมือง (ค.ศ. 2015-2020)

แก้

สมาชิกรัฐสภา

แก้

อดีตสมาชิกที่ดำรงตำแหน่งก่อนผม เดอะไรต์ออนะระเบิล แฟรงก์ ดอบสัน ซึ่งผมขอแสดงความขอบคุณยิ่ง เป็นผู้ที่เรียกร้องสิทธิอย่างเข้มแข็งให้กับชาวฮอลบอร์นและเซนต์พานคราสทุกคนตลอดระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูง และรับใช้ชาวฮอลบอร์นและเซนต์พานคราสมา 36 ปี แม้ว่าตัวผมเองคงจะอยู่ไม่นานถึง 36 ปีเหมือนกับท่าน แต่ผมตั้งใจที่จะเดินตามรอยเท้าท่านอย่างแน่นอน แม้ว่าผมอาจจะไม่เล่นมุกแรงเท่าท่านหรือไว้เคราเหมือนท่านก็ตาม

— เคียร์ สตาร์เมอร์กล่าวในสุนทรพจน์ครั้งแรกต่อสภาสามัญชน เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015
 
ภาพถ่ายทางการสมาชิกรัฐสภา ค.ศ. 2017

สตาร์เมอร์ได้รับเลือกให้เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคแรงงานในเขตเลือกตั้งฮอลบอร์นและเซนต์พานคราสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งถือว่าเป็นที่นั่งปลอดภัย หลังจากที่แฟรงก์ ดอบสันตัดสินใจเกษียณจากการเป็นสมาชิกรัฐสภา[43] สตาร์เมอร์ได้รับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2015 ด้วยคะแนนข้างมาก 17,048 คะแนน (%52.9)[44] สตาร์เมอร์ได้รับการเลือกตั้งสมัยที่สองในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2017 ด้วยคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นเป็น 30,509 คะแนน (%70.1) และในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2019 ชนะด้วยคะแนนเสียงลดลงเป็น 27,763 คะแนน (%64.9) และได้รับการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2024 ด้วยคะแนนเสียงที่ลดลงอีกเหลือ 18,884 คะแนน (%48.9)

ช่วงก่อนการลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรป ค.ศ. 2016 สตาร์เมอร์สนับสนุนกลุ่มรณรงค์ บริเตนแกร่งกว่าในยุโรป (Britain Stronger in Europe) ให้สหราชอาณาจักรยังคงอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป[45] สตาร์เมอร์เข้าร่วมกลุ่มการเมืองรัฐสภาพรรคแรงงานเพื่อนอิสราเอล และกลุ่มพรรคแรงงานเพื่อนปาเลสไตน์และตะวันออกกลาง[46] มีนักกิจกรรมหลายคนที่เรียกร้องให้สตาร์เมอร์ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานใน ค.ศ. 2015 หลังจากการลาออกของเอ็ด มิลิแบนด์ แต่สตาร์เมอร์ปฏิเสธที่จะลงเลือกตั้งเพราะยังไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมากพอในขณะนั้น[47][48] ระหว่างการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคแรงงาน สตาร์เมอร์สนับสนุนแอนดี เบอร์นแฮม ซึ่งได้รับคะแนนอันดับสองรองจากเจเรมี คอร์บิน[49]

รัฐมนตรีเงา

แก้

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 สตาร์เมอร์ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทยเงาในคณะรัฐมนตรีเงาของคอร์บิน และสตาร์เมอร์ลาออกจากตำแหน่งนี้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 ร่วมกับรัฐมนตรีเงาคนอื่นที่ลาออกด้วยเพื่อประท้วงการนำพรรคของคอร์บิน[50][51] หลังจากคอร์บินชนะการเลือกตั้งผู้นำพรรคอีกครั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 2016 สตาร์เมอร์รับตำแหน่งใหม่ในฐานะรัฐมนตรีว่าการออกจากสหภาพยุโรปเงา[52]

ในระหว่างที่สตาร์เมอร์ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีเบร็กซิตเงา สตาร์เมอร์ได้ถามเทรีซา เมย์และรัฐบาลของเมย์ ว่ามีแผนจุดสิ้นสุดหลังจากสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปเป็นอย่างไร และเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยแผนเกี่ยวกับเบร็กซิตต่อสาธารณะ รวมถึงเรียกร้องให้มีการทำประชามติครั้งที่สอง[53] หลังจากที่พรรคแรงงานแพ้การเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2019 คอร์บินประกาศว่าจะไม่นำพรรคแรงงานสู่การเลือกตั้งครั้งหน้าหลังจาก "ผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรองแล้ว"[54] สตาร์เมอร์เริ่มที่จะถอยห่างจากช่วงที่คอร์บินเป็นผู้นำพรรค และนโยบายหาเสียงหลายอย่าง โดยใน ค.ศ. 2024 สตาร์เมอร์เปิดเผยว่าเขาคิดว่า "ยังไงก็แพ้เลือกตั้ง ค.ศ. 2019 แน่นอน"[55]

การลงรับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคแรงงาน

แก้

วันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2020 สตาร์เมอร์ประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคแรงงาน[56][57][58] สตาร์เมอร์ได้รับการสนับสนุนจากอดีตนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ และนายกเทศมนตรีลอนดอนซาดิก ข่าน สตาร์เมอร์หาเสียงเลือกตั้งโดยมีนโยบายฝ่ายซ้าย และมีจุดยืนต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด โดยกล่าวว่าเขาเห็นด้วยกับคอร์บินที่วางตัวพรรคแรงงานเป็นพรรคแห่งการต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด[59][60] สตาร์เมอร์กล่าวว่าจะสานต่อนโยบายยกเลิกค่าธรรมเนียมเล่าเรียน และจัดให้รัฐเป็นเจ้าของกิจการราง ไปรษณีย์ พลังงาน และประปา และเรียกร้องให้ระบบสุขภาพแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระบบยุติธรรมเลิกการจ้างภายนอก[61] สตาร์เมอร์ได้รับการประกาศชนะเลือกตั้งหัวหน้าพรรคแรงงานวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2020 หลังจากได้คะแนนมากกว่า รีเบคกา ลอง-เบลีย์ และลิซา แนนดี โดยได้รับสัดส่วนคะแนน 56.2% ในการเลือกตั้งรอบแรก[62][63][64]

การที่ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานถือเป็นเกียรติอันสูงสุดในชีวิตผม ผมอยากขอบคุณรีเบคกาและลิซาที่หาเสียงเลือกตั้งอย่างทรงพลัง และขอบคุณสำหรับมิตรภาพและการสนับสนุนของทั้งสองท่านตลอดมา ผมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่พรรคแรงงานที่ทำงานอย่างหนัก และทีมหาเสียงเลือกตั้งที่สุดยอดของผม เปี่ยมไปด้วยความคิดบวก และจิตที่อยากให้เกิดความหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ผมขอขอบคุณเจเรมี คอร์บิน ที่นำพรรคเราผ่านช่วงอันยากลำบากไปได้ และเติมพลังให้กับการเคลื่อนไหวของพวกเรา ท่านเป็นเพื่อนร่วมงานและเพื่อนเป็นการส่วนตัวของผม และถึงสมาชิกและผู้สนับสนุนพรรคทุกคนผมขอพูดว่า ไม่ว่าท่านจะเลือกผมหรือไม่ ผมจะเป็นตัวแทนของท่าน ผมจะรับฟังท่าน และผมจะทำให้พรรคเกิดความสามัคคีให้ได้

— เคียร์ สตาร์เมอร์กล่าวสุนทรพจน์รับตำแหน่ง เดือนเมษายน ค.ศ. 2020

การดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน (ค.ศ. 2020-2024)

แก้

เนื่องจากสตาร์เมอร์ได้รับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 สตาร์เมอร์จึงกล่าวในสุนทรพจน์รับตำแหน่งว่าเขาจะหลีกเลี่ยงการเล่นเกมการเมือง และจะทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ของชาติ[65] ต่อมาสตาร์เมอร์วิพากษ์วิจารณ์การบริหารการแพร่ระบาดของโควิด 19 ของรัฐบาลมากขึ้นหลังจากเรื่องอื้อฉาวปาร์ตี้เกต[66] ในเดือนพฤษภาคม 2022 สตาร์เมอร์กล่าวว่าเขาจะลาออกหากเขาได้รับใบแจ้งค่าปรับตายตัวสำหรับการละเมิดข้อบังคับโควิด-19 ในขณะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อมที่ฮาร์ตลีพูลและการเลือกตั้งท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา[67] เรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นนี้ถูกเรียกว่าเบียร์เกต[68] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2022 ตำรวจเดอแรมได้แถลงว่าสตาร์เมอร์ไม่ได้กระทำความผิด[69]

ท่ามกลางการลาออกของรัฐมนตรีในรัฐบาลบอริส จอห์นสันมากเป็นประวัติการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2022 สตาร์เมอร์ได้เสนอญัตติให้ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยกล่าวว่าจอห์นสันไม่ควรอยู่ในตำแหน่งต่อไป[70][71] สตาร์เมอร์ยังวิจารณ์จอห์นสันและผู้สืบทอดตำแหน่งได้แก่ ลิซ ทรัสส์ และริชี ซูนัค เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เช่น เรื่องอื้อฉาวของคริส พินเชอร์และวิกฤตรัฐบาลที่ตามมา[72] วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ค.ศ. 2022 และวิกฤตรัฐบาลที่ตามมา[73][74][75] วิกฤตค่าครองชีพ และการนัดหยุดงานของลูกจ้างระบบบริการสุขภาพแห่งชาติและอุตสาหกรรมอื่น ๆ[76][77][78]

ในฐานะผู้นำพรรคแรงงาน สตาร์เมอร์มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงจุดยืนทางการเมืองให้ถอยห่างจากฝ่ายซ้ายของพรรคและข้อขัดแย้งมากมายที่เกิดขึ้นในช่วงการนำพรรคของคอร์บิน โดยออกนโยบายเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาการข้ามเรือเล็ก การลดเวลารอคอยในระบบบริการสุขภาพแห่งชาติและ "สร้างระบบบริการสุขภาพแห่งชาติขึ้นใหม่" การเสริมสร้างสิทธิแรงงาน ความเป็นอิสระด้านพลังงานและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การแก้ไขปัญหาอาชญากรรม การปรับปรุงการศึกษาและการฝึกอบรม การปฏิรูประบบบริการสาธารณะ การทำให้ระบบขนส่งทางรางกลับมาเป็นของรัฐ และการสรรหาครูจำนวน 6,500 คน[79] สตาร์เมอร์ยังให้คำมั่นว่าจะปราบปรามการต่อต้านยิวในพรรค[80][81] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 หลังจากรายงานของคณะกรรมการความเสมอภาคและสิทธิมนุษยชน (EHRC) เกี่ยวกับการต่อต้านยิวในพรรค สตาร์เมอร์น้อมรับผลของสอบสวนทั้งหมดและขอโทษชาวยิวในนามของพรรค[82][83] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 การปฏิรูปโครงสร้างพรรคเพื่อปรามแนวคิดต่อต้านยิวของสตาร์เมอร์ทำให้ EHRC ยุติการตรวจสอบพรรค และลูเซียนา เบอร์เกอร์ สมาชิกรัฐสภาพรรคแรงงานที่ลาออกเนื่องจากปัญหาดังกล่าวได้กลับเข้าร่วมพรรคอีกครั้ง[84]

การแต่งตั้งรัฐมนตรีเงา

แก้

ผู้ได้รับการแต่งตั้งเข้าคณะรัฐมนตรีเงาของสตาร์เมอร์รวมถึงสมาชิกรัฐสภาฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาของพรรคแรงงาน โดยแอนเจลา เรย์เนอร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคแรงงานและรองนายกรัฐมนตรีเงา ขณะที่เรเชล รีฟส์ และอีเวตต์ คูเปอร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลังเงาและรัฐมนตรีมหาดไทยเงาตามลำดับ มิลิแบนด์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเงาพลังงานและภูมิอากาศ การแต่งตั้งอื่น ๆ ที่น่าสนใจรวมถึงเดวิด แลมมีในตำแหน่งรัฐมนตรีการต่างประเทศเงา และเวส สตรีทติงในตำแหน่งรัฐมนตรีสาธารณสุขเงา สตาร์เมอร์ได้ปรับคณะรัฐมนตรีเงาสามครั้ง ครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 และครั้งสุดท้ายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2023[85][86]

ผลการเลือกตั้งท้องถิ่น

แก้

สตาร์เมอร์เคยพิจารณาลาออกหลังจากผลการเลือกตั้งท้องถิ่นปี ค.ศ. 2021 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกหลังจากที่สตาร์เมอร์เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคไม่เป็นที่พึงพอใจ แต่ต่อมาเขารู้สึก "มั่นใจ" ในการตัดสินใจอยู่ต่อ โดยกล่าวว่า "ผมพิจารณาลาออกเพราะผมรู้สึกว่าผมไม่ควรใหญ่กว่าพรรค และถ้าผมไม่สามารถนำพรรคสู่ความเปลี่ยนแปลงได้ อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรค แต่ในที่สุดผมไตร่ตรอง พูดคุยกับหลายคน และตัดสินใจว่าการเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้นกับตัวพรรคเอง ไม่ใช่ตัวผม"[87]

ในช่วงที่สตาร์เมอร์ดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน พรรคเสียที่นั่งเดิมในการเลือกตั้งซ่อมที่ฮาร์ตลีพูล ค.ศ. 2021 แต่สามารถรักษาที่นั่งในการเลือกตั้งซ่อมที่แบตลีย์และสเปน ค.ศ. 2021 การเลือกตั้งซ่อมที่เบอร์มิงแฮม เออร์ดิงตัน ค.ศ. 2022 และการเลือกตั้งซ่อมที่ซิตี้ออฟเชสเตอร์ ค.ศ. 2022 และได้รับที่นั่งเพิ่มจากพรรคอนุรักษนิยมในการเลือกตั้งซ่อมที่เวกฟิลด์ ค.ศ. 2022 ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ค.ศ. 2023 พรรคแรงงานได้ที่นั่งสมาชิกสภาท้องถิ่นเพิ่มมากกว่า 500 ที่นั่งและได้เสียงข้างมากในสภาท้องถิ่นเพิ่ม 22 แห่ง ทำให้กลายเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มรัฐบาลท้องถิ่นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 2002[88] พรรคแรงงานได้รับที่นั่งเพิ่มเติมอีกในการเลือกตั้งท้องถิ่น ค.ศ. 2024 โดยได้รับที่นั่งเพิ่มจากพรรคอนุรักษนิยมในการเลือกตั้งซ่อมที่แบล็คพูลเซาธ์ และชนะการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเขตเวสต์มิดแลนด์สอย่างเฉียดฉิว[89]

การเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2024

แก้

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 ซูนัคประกาศว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 พรรคแรงงานได้คะแนนเหนือพรรคอนุรักษนิยมอย่างมากในการสำรวจความคิดเห็น และจำนวนที่นั่งที่พรรคแรงงานอาจได้เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันในช่วงการหาเสียง[90][91] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024 สตาร์เมอร์ได้เปิดตัวถ้อยแถลงนโยบายของพรรคแรงงานชื่อ Change ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเติบโตทางเศรษฐกิจ การปฏิรูประบบการวางแผน โครงสร้างพื้นฐาน พลังงานสะอาด ระบบสุขภาพ การศึกษา การดูแลเด็ก และการเสริมสร้างสิทธิของแรงงาน[92][93] การตั้งรัฐวิสาหกิจพลังงานขึ้นมาใหม่ (Great British Energy) แผน "ความเจริญรุ่งเรืองแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" การลดเวลารอคอยของผู้ป่วยในระบบสุขภาพแห่งชาติ และการนำระบบขนส่งทางรางกลับมาเป็นของรัฐ (Great British Railways)[94] นอกจากนี้ยังรวมถึงการสร้างความมั่งคั่งและนโยบายสนับสนุนธุรกิจและสนับสนุนแรงงาน ถ้อยแถลงนโยบายยังสัญญาจะให้สิทธิ์เลือกตั้งแก่ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป การปฏิรูปสภาขุนนาง และการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับค่าธรรมเนียมการศึกษาในโรงเรียนเอกชน โดยเงินที่ได้รับจะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงการศึกษาของรัฐ[95][96]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024 สตาร์เมอร์นำพรรคแรงงานสู่ชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไป ทำให้วาระของรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมที่ยาวนานถึงสิบสี่ปีสิ้นสุดลง โดยพรรคแรงงานกลายเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสภาสามัญชน[97] พรรคแรงงานได้เสียงข้างมาก 174 ที่นั่ง และมีจำนวนที่นั่งรวม 411 ที่นั่ง ซึ่งเป็นผลการเลือกตั้งที่ดีที่สุดอันดับสามของพรรคในแง่ของจำนวนที่นั่งนับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปค.ศ. 1997 และ ค.ศ. 2001 พรรคกลายเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ค.ศ. 2005 ในสกอตแลนด์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ค.ศ. 2010 และยังคงสถานะเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในเวลส์[98]

สตาร์เมอร์กล่าวในสุนทรพจน์ฉลองชัยชนะว่าขอบคุณเจ้าหน้าที่พรรคสำหรับความพยายามอย่างหนักเกือบห้าปีในการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนพรรคแรงงานในระหว่างที่พรรคอนุรักษนิยมเป็นใหญ่ และขอให้พวกเขาเฉลิมฉลองเหตุการณ์นี้ แต่เตือนถึงความท้าทายข้างหน้าและให้คำมั่นว่ารัฐบาลจะทำงานเพื่อการฟื้นฟูประเทศชาติ[99][100]

เราทำสำเร็จแล้ว! ท่านรณรงค์ ท่านต่อสู้ ท่านลงคะแนนเสียง และตอนนี้จังหวะก็มาถึงแล้ว การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นขึ้นแล้ว และกระผมต้องยอมรับจริง ๆ ว่ารู้สึกดี เราทำงานเปลี่ยนแปลงพรรคสี่ปีครึ่ง นี่คือเหตุว่าทำไมเราต้องทำ เพื่อพรรคแรงงานที่เปลี่ยนไป พร้อมที่จะรับใช้ประเทศของเรา พร้อมที่จะฟื้นฟูบริเตนเพื่อรับใช้ชนชั้นแรงงาน และประชาชนทั่วประเทศจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับข่าวที่บรรเทาความกังวล ภาระที่ยกออกจากบ่าของประเทศที่ยิ่งใหญ่นี้ และตอนนี้เราสามารถมองไปข้างหน้า ก้าวเข้าสู่รุ่งเช้า แสงอาทิตย์แห่งความหวัง ตอนแรกซีดจางแต่เข้มแข็งขึ้นตลอดวัน แสงส่องอีกครั้งในประเทศที่มีโอกาสหลังจากสิบสี่ปีในการกอบกู้อนาคตคืนมา เราสัญญาว่าเราจะยุติความวุ่นวายและเราจะทำตามสัญญา เรากล่าวว่าเราจะเปิดหนังสือหน้าใหม่และเราได้ทำตามนั้น วันนี้เราเริ่มบทถัดไป เริ่มงานของการเปลี่ยนแปลง ภารกิจฟื้นฟูประเทศชาติ และเริ่มสร้างประเทศของเราใหม่

อ้างอิง

แก้
  1. "Results: parties by seats". BBC News.
  2. 2.0 2.1 2.2 Anon (2024). ,. ukwhoswho.com. Who's Who (176th ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc. doi:10.1093/ww/9780199540884.013.U43670.  
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Who is Keir Starmer? The grammar school 'superboy' who became Labour's next PM". The Daily Telegraph. 6 July 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2024. สืบค้นเมื่อ 7 July 2024.
  4. Tsjeng, Zing (2024-02-09). "Keir Starmer Shares His Vision For Britain – And Lets Vogue In On The Person Behind The Policies". British Vogue (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-07-07.
  5. Moss, Stephen (9 April 2016). "Labour's Keir Starmer: 'If we don't capture the ambitions of a generation, it doesn't matter who is leading the party'". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
  6. "Sir Keir Starmer: 'My mum's health battles have inspired me'". Ham & High. 27 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2020. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Maguire, Patrick (31 March 2020). "Keir Starmer: The sensible radical". New Statesman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2020.
  8. Boyden, Katie. "Inside Keir Starmer's family life from wife Victoria to toolmaker dad". Metro UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 July 2024.
  9. 9.0 9.1 Stewart, Heather (27 March 2020). "Keir Starmer had no enemies. Can he keep it that way?". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 Bates, Stephen (1 August 2008). "The Guardian profile: Keir Starmer". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 10 April 2020.
  11. 11.0 11.1 11.2 Moss, Stephen (21 September 2009). "Keir Starmer: 'I wouldn't characterise myself as a bleeding heart liberal . . .'". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2019.
  12. "Sir Keir Starmer: 'My mum's health battles have inspired me'". Ham & High (ภาษาอังกฤษ). 27 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 31 May 2024.
  13. "Schools (status) 1980". Hansard. Uk Parliament Publications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2018. สืบค้นเมื่อ 10 April 2020.
  14. Harris, Tom (12 August 2021). "Lord Ashcroft's unauthorised biography of Keir Starmer is as dry as the Labour leader". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
  15. Turner, Camilla (28 January 2023). "Exclusive: 'Hypocrite' Keir Starmer benefited from private school charity". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2023. สืบค้นเมื่อ 29 January 2023.
  16. Glancy, Josh (June 23, 2024). "Keir Starmer up close: my three months with the 'normal bloke' who would be PM". The Sunday Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2024. สืบค้นเมื่อ 1 July 2024.
  17. "Who is Keir Starmer?". BuzzFeed. 12 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2020. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
  18. "Hello: MP Keir Starmer On The Hill". 22 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2020. สืบค้นเมื่อ 11 May 2020.
  19. Stacey, Kiran (23 June 2023). "Keir Starmer was caught as a student illegally selling ice-creams on French Riviera". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2024. สืบค้นเมื่อ 15 June 2024.
  20. "Keir Starmer: Labour leader hoping for keys to Downing Street". BBC News. 6 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2024. สืบค้นเมื่อ 15 June 2024.
  21. "Labour leadership winner: Sir Keir Starmer". BBC News. 4 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2020. สืบค้นเมื่อ 10 April 2020.
  22. "People of Today". Debretts.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2015. สืบค้นเมื่อ 4 July 2016.
  23. "Middle Temple". Middle Temple. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2020. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  24. "Corrections and clarifications". The Guardian. 16 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2023. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  25. "No. 56538". The London Gazette. 16 April 2002. p. 4622.
  26. "Starmer embraces the Monarchy". Camden New Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2024. สืบค้นเมื่อ 23 May 2024.
  27. Starmer, Keir (30 November 2015). "Airstrikes in Syria are lawful, but I'll be voting against them". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2020. สืบค้นเมื่อ 10 April 2020.
  28. "About Keir Starmer – MP for Holborn and St Pancras and Labour Leader". Keir Starmer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2024. สืบค้นเมื่อ 15 June 2024.
  29. Bowcott, Owen (2 December 2011). "Lawyers with laptops log on in cost-saving measure". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2 July 2020.
  30. "Joint CPS and MPS statement on Stephen Lawrence case". Crown Prosecution Service. 18 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2012. สืบค้นเมื่อ 5 January 2012.
  31. Sparrow, Andrew (5 February 2010). "Three Labour MPs and one Tory peer face expenses abuse charges". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2020.
  32. Evans, Martin (20 September 2011). "Expenses MPs and their sentences: how long each served". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2 July 2020.
  33. Bawdon, Fiona; Lewis, Paul; Newburn, Tim (3 July 2020). "Rapid riot prosecutions more important than long sentences, says Keir Starmer". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2020.
  34. Bawdon, Fiona (22 December 2011). "England riots: all-night courts praised, but were they a publicity stunt?". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2020.
  35. Starmer, Keir (23 November 2011). "Letter to the Daily Mail from CPS about the Chris Huhne case". The blog of the Crown Prosecution Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2012.
  36. Meikle, James (6 March 2013). "Prosecutor demands overhaul of sexual abuse investigations". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 July 2020.
  37. Laville, Sandra (6 March 2013). "Specialist Met unit in London to tackle gang-led child sex abuse". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2 July 2020.
  38. Starmer, Keir (6 April 2014). "A voice for victims of crime". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
  39. Branagh, Ellen (23 July 2013). "Stephen Lawrence barrister Alison Saunders to take over from Keir Starmer as new Director of Public Prosecutions". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
  40. "Saunders to replace Starmer at DPP". Liverpool Daily Post. 23 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2019. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
  41. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :9
  42. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :10
  43. "Keir Starmer to stand for Labour in Holborn and St Pancras". The Guardian. 13 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2019. สืบค้นเมื่อ 12 December 2016.
  44. "Holborn & St. Pancras Parliamentary Constituency". BBC News. 8 May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2019. สืบค้นเมื่อ 20 June 2018.
  45. "How did Keir Starmer vote on Brexit? – Birmingham Live". www.birminghammail.co.uk. 29 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2024. สืบค้นเมื่อ 15 June 2024.
  46. Birawi, Zaher; Andrews, Robert (14 April 2020). "Keir Starmer as Labour Party leader: What this means for Palestine". Middle East Monitor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2020. สืบค้นเมื่อ 30 May 2020.
  47. Weaver, Matthew (15 May 2015). "Labour activists urge Keir Starmer to stand for party leadership". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2015. สืบค้นเมื่อ 17 May 2015.
  48. Davies, Caroline (17 May 2015). "Keir Starmer rules himself out of Labour leadership contest". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2015. สืบค้นเมื่อ 17 May 2015.
  49. Wilkinson, Michael (13 September 2015). "Splits emerge as Jeremy Corbyn finalises Labour's shadow cabinet". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.
  50. "Keir Starmer resigns as shadow home office minister". ITV News. 27 June 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2019. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  51. "MPs vote no confidence in Jeremy Corbyn after shadow cabinet revolt: As it happened". 28 June 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
  52. "Jeremy Corbyn has appointed Sir Keir Starmer as Shadow Brexit Secretary and the Tories should be worried". politicalbetting.com. 6 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2016. สืบค้นเมื่อ 7 December 2016.
  53. "Keir Starmer battles to keep Labour support for people's vote alive". The Guardian. 7 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2020. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
  54. "Jeremy Corbyn: 'I will not lead Labour at next election'". BBC News. 13 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2019. สืบค้นเมื่อ 7 July 2023.
  55. "Starmer: 'I knew we'd lose 2019 election with Corbyn'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 12 June 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2024. สืบค้นเมื่อ 15 June 2024.
  56. "Keir Starmer enters Labour leadership contest". BBC News. 4 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2020. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  57. "Keir Starmer to launch Labour leadership bid in Stevenage". The Guardian. PA Media. 4 January 2020. ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2020. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  58. "Keir Starmer enters Labour leadership contest". BBC. 4 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2020. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  59. Jankowicz, Mia (30 December 2019). "Labour was 'right' to take 'radical' position on austerity, says Keir Starmer". The New European. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.
  60. "Starmer vows to protect Labour left-wing radicalism as Momentum backs Long Bailey". ITV News. 11 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.
  61. Gye, Hugo (11 February 2020). "Keir Starmer promises to abolish tuition fees and nationalise industries if he becomes PM". i News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.
  62. "Leaderhip Elections 2020 Results". The Labour Party. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2020. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
  63. "New Labour leader Keir Starmer vows to lead party into 'new era'". BBC News. 4 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2020. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  64. "Labour leadership winner: Sir Keir Starmer". BBC News. 4 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2020. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
  65. "READ IN FULL: Sir Keir Starmer's victory speech after being named new Labour leader". Politics Home (ภาษาอังกฤษ). 2020-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-07-03.
  66. "Keir Starmer reveals how he 'set trap' for Boris Johnson over partygate scandal". Sky News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2024. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
  67. Sparrow, Andrew (9 May 2022). "Keir Starmer and Angela Rayner to resign if fined over Beergate claims". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2024. สืบค้นเมื่อ 9 May 2022.
  68. Culbertson, Alix (6 May 2022). "Beergate: Sir Keir Starmer insists there was 'no party' after Durham Police say they will investigate claims he broke lockdown rules". Sky News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2022. สืบค้นเมื่อ 6 May 2022.
  69. Whannel, Kate (8 July 2022). "Sir Keir Starmer cleared by police over Durham lockdown beers". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
  70. Sommerlad, Joe (12 July 2020). "No confidence vote: What is Sir Keir Starmer's motion and could Boris Johnson be ousted early?". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2022. สืบค้นเมื่อ 18 July 2022.
  71. Diver, Tony (7 July 2022). "Keir Starmer's ultimatum: Go now, Boris, or I'll bring no confidence vote in Parliament". Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 18 July 2022.
  72. Finnis, Alex (2022-07-07). "Why Boris Johnson is resigning and a timeline of his final days as Tory leader". inews.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2024-07-24.
  73. Morris, Sophie (2022-09-22). "Sir Keir warns mini-budget 'does nothing' for working people - but doesn't say if he would reverse tax cuts". Sky News. สืบค้นเมื่อ 2024-07-24.
  74. Cooney, Christy (2022-10-15). "Keir Starmer criticises 'grotesque chaos' under Liz Truss government". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-07-24.
  75. Stewart, Heather (2022-10-20). "Keir Starmer renews call for immediate general election after Truss resigns". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-07-24.
  76. McTernan, John (2022-08-02). "Keir Starmer is right – for Labour to win power, it can't wade in on every strike going". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-07-24.
  77. Scott, Jennifer (2023-02-06). "NHS strikes 'badge of shame for government', says Sir Keir Starmer". Sky News. สืบค้นเมื่อ 2024-07-24.
  78. Maddox, David; Greig, Geordie; Thomas, Rebecca (2024-06-24). "Starmer's strongest warning yet to striking doctors: I won't give 35 per cent rise". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2024-07-24.
  79. Cecil, Nicholas (26 September 2022). "Sir Keir Starmer to declare Labour is 'party of the centre-ground' once again". Evening Standard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2022. สืบค้นเมื่อ 5 May 2023.
  80. "Labour leadership winner: Sir Keir Starmer". BBC News. 4 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2020. สืบค้นเมื่อ 16 July 2023.
  81. "A guide to Labour Party anti-Semitism claims". BBC News. 18 November 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2023. สืบค้นเมื่อ 5 May 2023.
  82. Walker, Peter (29 October 2020). "Keir Starmer: EHRC antisemitism report is day of shame for Labour". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  83. Syal, Rajeev (29 October 2020). "Antisemitism in Labour: what did the report find and what happens next". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  84. "Labour no longer being monitored by equalities watchdog after antisemitism reforms". Sky News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2023. สืบค้นเมื่อ 15 February 2023.
  85. Cunliffe, Rachel (4 September 2023). "Keir Starmer's reshuffle was politically ruthless". New Statesman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2023. สืบค้นเมื่อ 4 September 2023.
  86. Chaplain, Chloe (4 September 2023). "Keir Starmer purges soft left and surrounds himself with Blairites for General Election push". inews.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2023. สืบค้นเมื่อ 4 September 2023.
  87. "Sir Keir Starmer considered quitting after 2021 local elections and Hartlepool loss". Sky News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2024. สืบค้นเมื่อ 15 June 2024.
  88. Joshua Nevett (5 May 2023). "Local elections 2023: Labour eyes power after crushing Tory losses". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2023. สืบค้นเมื่อ 5 May 2023.
  89. Seddon, Paul (4 May 2024). "Seven takeaways from the local elections". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2024. สืบค้นเมื่อ 9 June 2024.
  90. Walker, Peter (20 February 2024). "Another Canada 93? Tory Sunak critics fear extinction-level election result". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2024. สืบค้นเมื่อ 14 June 2024.
  91. Hunt, Wayne (1 June 2024). "Can the Tories avoid the fate of Canada's Conservatives?". The Spectator. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2024. สืบค้นเมื่อ 14 June 2024.
  92. "Change". The Labour Party (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2024. สืบค้นเมื่อ 15 June 2024.
  93. "Labour manifesto 2024: Find out how Labour will get Britain's future back". The Labour Party (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 23 May 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2024. สืบค้นเมื่อ 12 June 2024.
  94. Reid, Jenni (13 June 2024). "Britain's Labour Party pledges 'wealth creation' as it targets landslide election victory". CNBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2024. สืบค้นเมื่อ 13 June 2024.
  95. Mason, Rowena (13 June 2024). "Change and growth: five key takeaways from the Labour manifesto launch". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 13 June 2024.
  96. Gibbons, Amy; Sigsworth, Tim (16 May 2024). "Labour Party manifesto 2024: Keir Starmer's election promises". The Telegraph. ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2024. สืบค้นเมื่อ 13 June 2024.
  97. Brown, Faye (5 July 2024). "'Change begins now', Starmer says - as Labour win historic landslide". Sky News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 July 2024.
  98. "UK general election results live: Labour set for landslide as results come in across country". BBC News. 4 July 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2024. สืบค้นเมื่อ 4 July 2024.
  99. ""UK Gets Its Future Back": Labour's Keir Starmer In Victory Speech". NDTV.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-07-05.
  100. Staff, Pa Political (2024-07-05). "Labour leader Sir Keir Starmer's victory speech in full". Evening Standard (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-07-07.