รัฐสภาสกอตแลนด์

รัฐสภาสกอตแลนด์ หรือ รัฐสภาสกอต (อังกฤษ: Scottish Parliament, แกลิกสกอต: Pàrlamaid na h-Alba; สกอต: Scots Pairlament)[1][2][3] เป็นสภานิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยวที่ได้รับอำนาจปกครองตนเองแห่งสกอตแลนด์ มีที่ตั้งอยู่ที่บริเวณโฮลีรูด ในเอดินบะระ โดยนิยมเรียกขานถึงรัฐสภาสกอตแลนด์แบบสั้นๆ ว่า โฮลีรูด (Holyrood) รัฐสภาสกอตแลนด์]มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 129 คน ซึ่งเรียกว่า สมาชิกรัฐสภาสกอตแลนด์ (Members of the Scottish Parliament หรือ MSPs) มีวาระคราวละ 5 ปี[4] โดยใช้ระบบการลงคะแนนเรียกว่าระบบสมาชิกเพิ่มเติม ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจำนวน 73 คนซึ่งเป็นผู้แทนแบบแบ่งเขตเลือกตั้งโดยใช้ระบบการลงคะแนนแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด และอีก 56 ที่นั่งได้จัดสรรเพิ่มจากคะแนนรวมในแปดเขตซึ่งมีผู้แทนแบบสมาชิกเพิ่มเขตละ 7 คน[5] การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 โดยมีพรรคชาติสกอตได้คะแนนเสียงข้างมาก

รัฐสภาสกอต

Pàrlamaid na h-Alba
Scots Pairlament
สมัยที่ 6
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
ประธานสภา
อลิสัน จอห์นสโตน, พรรคชาติสกอต
ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
ฮัมซา ยูซาฟ, พรรคชาติสกอต
ตั้งแต่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2023
ผู้นำฝ่ายค้าน
ดักลาส รอซ, พรรคอนุรักษ์นิยมสกอต
ตั้งแต่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
โครงสร้าง
สมาชิก129 ที่นั่ง
Scottish-parliament.svg
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายรัฐบาล (71)
  •   SNP (64)
  •   กรีน (7)

ฝ่ายค้าน (57)

อื่นๆ (1)

การเลือกตั้ง
แบบผสม (ระบบสมาชิกเพิ่มเติม)
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
6 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
ที่ประชุม
Scottish Parliament Debating Chamber 2.jpg
ที่ทำการรัฐสภา
สกอตแลนด์ เอดินบะระ
เว็บไซต์
www.parliament.scot

แต่แรกเริ่มนั้นรัฐสภาสกอตแลนด์เคยมีฐานะเป็นสภานิติบัญญัติแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์ซึ่งมีเอกราชเป็นของตนเอง โดยก่อตั้งขึ้นราวศตวรรษที่ 13 จนกระทั่งมีการรวมอาณาจักรเข้ากับราชอาณาจักรอังกฤษภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 เพื่อก่อตั้งเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[6] จึงมีเหตุให้ทั้งรัฐสภาสกอตแลนด์และรัฐสภาอังกฤษนั้นต้องยุติบทบาทลง โดยมีรัฐสภาบริเตนใหญ่เข้ารับหน้าที่แทน โดยมีที่ตั้งอยู่ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน[6]

ต่อมาในภายหลังจากการลงประชามติเพื่อการปกครองตนเอง ค.ศ. 1997 ซึ่งชาวสกอตแลนด์ได้ลงประชามติเห็นชอบให้รัฐสภาสกอตแลนด์มีอำนาจนิติบัญญัติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 โดยตราขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตของบทบาทและหน้าที่ด้านนิติบัญญัติของรัฐสภาสกอตแลนด์ที่สามารถตรากฎหมายบังคับใช้เองได้ และยังกำกับไว้อย่างชัดเจนถึงอำนาจนิติบัญญัติในบริเวณที่สงวนไว้ให้เฉพาะกับรัฐสภาสหราชอาณาจักรเท่านั้น[7] จึงทำให้รัฐสภาสกอตแลนด์มีอำนาจนิติบัญญัติในทุกด้านที่ไม่ได้สงวนไว้เฉพาะให้แก่สภาเวสต์มินสเตอร์เท่านั้น รัฐสภาสหราชอาณาจักรยังสงวนไว้ซึ่งบทบาทในการปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขต่างๆ ของรัฐสภาสกอตแลนด์ และยังสามารถเพิ่มหรือลดขอบเขตอำนาจในการตรากฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้[8] รัฐสภาสกอตแลนด์มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1999[9]

อ้างอิง

แก้
  1. "Makkin Yer Voice Heard in the Scottish Pairlament". Scottish Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2007. สืบค้นเมื่อ 10 February 2007.
  2. "SPCB Leid Policy" (PDF). Scottish Parliament. สืบค้นเมื่อ 10 February 2007.
  3. The Scots for Scottish is in fact Scots เก็บถาวร 2011-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. A five year term was set by the Scottish Elections (Reform) Act 2020, having been changed on two occasions previously (by the Fixed-term Parliaments Act 2011 and the Scottish Elections (Dates) Act 2016) from the four year term specified by the Scotland Act 1998.
  5. "How the Scottish Parliament works" (PDF). Scottish Parliament. October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-20. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
  6. 6.0 6.1 "The Scottish Parliament – Past and Present" (PDF). Scottish Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 August 2016. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
  7. "Scotland Act 1998: Scottish Parliament Reserved Issues". Office of Public Sector Information (OPSI). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2007. สืบค้นเมื่อ 14 November 2006.
  8. Murkens, Jones & Keating (2002), p. 11.
  9. "Scottish Parliament Official Report – 12 May 1999". Scottish Parliament. สืบค้นเมื่อ 5 November 2006.


บรรณานุกรม

แก้
  • Balfour, A. & McCrone, G. (2005): Creating a Scottish Parliament, StudioLR, ISBN 0-9550016-0-9
  • Burrows, N. (1999): "Unfinished Business – The Scotland Act 1998", Modern Law Review, Vol. 62, No. 2 (March 1999), pp. 241–260
  • Dardanelli, P. (2005): Between Two Unions: Europeanisation and Scottish Devolution, Manchester University Press, ISBN 0-7190-7080-5
  • Hassan, Gerry (1999): A Guide to the Scottish Parliament: The Shape of Things to Come, The Stationery Office", ISBN 0-11-497231-1
  • Hassan, Gerry (2019): The Story of the Scottish Parliament: The First Two Decades Explained, Edinburgh University Press, ISBN 978-1-4744-5490-2
  • Kingdom, J. (1999): Government and Politics in Britain, An Introduction, Polity, ISBN 0-7456-1720-4
  • MacLean, B. (2005): Getting It Together: Scottish Parliament, Luath Press Ltd, ISBN 1-905222-02-5
  • McFadden, J. & Lazarowicz, M. (2003): The Scottish Parliament: An Introduction, LexisNexis UK, ISBN 0-406-96957-4
  • Murkens, E.; Jones, P. & Keating, M. (2002): Scottish Independence: A Practical Guide, Edinburgh University Press, ISBN 0-7486-1699-3
  • Taylor, Brian (1999): The Scottish Parliament, Polygon, Edinburgh, ISBN 1-902930-12-6
  • Taylor, Brian (2002): The Scottish Parliament: The Road to Devolution, Edinburgh University Press, ISBN 0-7486-1759-0
  • Young, John R. (1996): The Scottish Parliament, 1639–1661: A Political and Constitutional, Edinburgh: John Donald Publishers ISBN 0-85976-412-5

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

55°57′07″N 3°10′30″W / 55.9519°N 3.1751°W / 55.9519; -3.1751