ระบบสภาเดียว

(เปลี่ยนทางจาก ระบบสภาเดี่ยว)

ระบบสภาเดียว (อังกฤษ: unicameralism) เป็นระบบการปกครองที่มีองค์นิติบัญญัติหรือรัฐสภาแห่งเดียว ประเทศที่ใช้ระบบสภาเดียวส่วนใหญ่เป็นประเทศเล็กและเป็นรัฐที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีสภาสูง

แนวความคิด

แก้

มุมมองที่นิยมองค์นิติบัญญัติในระบบสภาเดียวเห็นว่า ถ้าสภาสูงเป็นประชาธิปไตยแล้วย่อมเป็นเสมือนภาพสะท้อนของกระจกเงา คือการเป็นประชาธิปไตยเหมือน ๆ กัน จึงเป็นการซ้ำซ้อน ทฤษฎีที่เอนมาทางฝ่ายนี้เห็นว่าหน้าที่ของสภาที่สอง เช่นการพิจารณาหรือแปรญัตติสามารถทำได้โดยกรรมาธิการของสภาได้อยู่แล้ว เพราะการพิทักษ์รัฐธรรมนูญทำได้เพราะมีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่แล้ว

ในหลายกรณี ก็มีรัฐบาลซึ่งขณะนี้เป็นระบบสภาเดียวเคยใช้ระบบสองสภามาแล้วโดยการ ยกเลิกสภาสูงปรากฏให้เห็นอยู่ เหตุผลในการเปลี่ยนเช่นนั้นเนื่องมาจากสภาสูงที่มาจากการเลือกตั้งซ้ำซ้อนกับสภาล่างซึ่งเป็นการกีดขวางการผ่านกฎหมาย กรณีตัวอย่างได้แก่ "แลนด์สติง" (Landsting) หรือสภาสูงในเดนมาร์ก (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2497) อีกเหตุผลหนึ่งเนื่องมาจากสภาที่มาจากการแต่งตั้งได้รับการพิสูจน์ว่าอ่อนแอไม่ปรากฏผลงาน กรณีตัวอย่างได้แก่ คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative Council) ของนิวซีแลนด์ (ยกเลิก พ.ศ. 2494)

ประเทศอื่น ๆ เช่น สหราชอาณาจักร และแคนาดา ในเชิงเทคนิคเป็นระบบสองสภาที่ทำหน้าที่เหมือนระบบสภาเดียว เนื่องจากสภาหนึ่งทำหน้าที่หนักไปในด้านพิธีการมากกว่าและมีอำนาจน้อย ดังนั้น ในสหราชอาณาจักร การควบคุมสภาสามัญได้ก็คือการควบคุมรัฐบาลได้ สภาขุนนาง (House of Lords) มีอำนาจเพียงการชะลอและให้คำแนะนำในการแก้ไขกฎหมายเท่านั้น เคยมีการตกลงกันกว้างขวางพอควรว่าจะปฏิรูปสภาขุนนาง แต่เหตุผลในการสนับสนุนให้ยกเลิกไปเลยนั้นกลับมีน้อยมาก (ดูการปฏิรูปสภาขุนนาง-ภาษาอังกฤษ [Reform of the House of Lords])

ฝ่ายสนับสนุนระบอบสภาเดียวมีเป็นประเทศเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ (เช่น สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และคิวบา) หรือที่เคยเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ (เช่น ยูเครน มอลโดวา เซอร์เบีย) ทั้งนี้เนื่องจากในมุมมองของสังคมนิยม สถาบันของสภาสูงมักถูกมองว่าเป็นฝ่ายอนุรักษนิยม หรือ ผู้สนับสนุนการปกครองโดยชนชั้นหัวกระทิ (elitist) และพวกสนับสนุนชนชั้นกลางโดยธรรมชาติ

รัฐต่ำกว่าประเทศ (subnational entities) บางรัฐที่ใช้ระบบองค์นิติบัญญัติแบบสภาเดียวได้แก่รัฐเนแบรสกา กวม และหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ รัฐและดินแดนของออสเตรเลีย ได้แก่ รัฐควีนส์แลนด์ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และเขตเมืองหลวงออสเตรเลีย ทุกรัฐและดินแดนของประเทศแคนาดา ทุกรัฐของประเทศเยอรมนี และทุกแคว้นของประเทศอิตาลี

ตัวอย่าง

แก้
 
  ประเทศที่มีสภานิติบัญญัติระบบสองสภา
  ประเทศที่มีสภานิติบัญญัติระบบสภาเดียว
  ไม่มีสภานิติบัญญัติ.

ประเทศ

แก้

รัฐต่ำกว่าประเทศ

แก้

แนวโน้มการเป็นระบบสภาเดียวของรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐ

แก้

แนวโน้มการเป็นระบบสภาเดียวของฟิลิปปินส์

แก้

ดูเพิ่ม

แก้