การปกครอง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
การปกครอง (อังกฤษ : governance) คือ การวางระเบียบกฎเกณฑ์และการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย หรือการปกครองแบบเผด็จการ เป็นต้น นอกจากนี้การปกครองยังแบ่งได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
ระบบการเมืองในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ระบอบประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการ และระบอบลูกผสม มีระบบการจำแนกสมัยใหม่อีกระบบ 1 คือ สถาบันกษัตริย์ในฐานะองค์กรเดี่ยว (Standalone entity) หรือระบบลูกผสมของ 3 ระบอบหลัก นักวิชาการโดยทั่วไปกล่าวถึงอำนาจนิยมว่าเป็นรูปแบบของอำนาจนิยมหรือเผด็จการเบ็ดเสร็จ[1][2]
ระบอบการปกครอง
แก้ระบอบการปกครอง (อังกฤษ : Form of government) หมายถึง สถาบันทางการเมืองซึ่งรัฐบาลของรัฐได้จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้อำนาจในการปกครองประเทศ คำนี้ยังนิยามรวมไปถึงรัฐบาลที่ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้อำนาจปกครองประเทศด้วย
ระบอบการปกครองตามบ่อเกิดแห่งอำนาจ
แก้ประชาธิปไตย (Democracy)
แก้เป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเลือกผู้ปกครองซึ่งทำหน้าที่ออกกฎหมาย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) หรือประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (Pure Democracy) คือ รูปแบบของรัฐที่ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองได้โดยตรง รวมไปถึงการร่างกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล
- ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (Representative Democracy) หรือประชาธิปไตยทางอ้อม (Indirect Democracy) คือ การปกครองที่ประชาชนจะเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่แทนตนในการร่วมตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน
- ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory democracy) คือ รูปแบบการปกครองที่เกี่ยวข้องกับการยินยอมและความเป็นเอกฉันท์ โดยเป็นแนวคิดที่นำเสนอมุมมองทางการเมืองที่ดีกว่า โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากกว่าเพียงการเลือกตั้ง เหมือนกับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเท่านั้น
คณาธิปไตย (Oligarchy)
แก้การที่อำนาจปกครองอยู่ที่กลุ่มบุคคลส่วนน้อย เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ควาหมายไว้ว่า “ระบอบการปกครองแบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจํานวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ[3]”
- ชนกลุ่มน้อยa (Minoritarianism) คือ การรวมอำนาจโดยชนกลุ่มน้อยทางศาสนาหรือชนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจเหนือกว่า ถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของคณาธิปไตย
- คณาธิปไตยสมมติa (Putative oligarchies) คือ กลุ่มธุรกิจอาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นคณาธิปไตย
- คณาธิปไตยทางปัญญาa (Intellectual oligarchies)
อัตตาธิปไตย (Autocracy)
แก้เป็นระบอบการปกครองซึ่งอำนาจสูงสุดอยู่ที่บุคคลเพียงคนเดียว ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างไม่จำกัดโดยกฎหมายหรือกลไกการควบคุมที่ประชาชนตั้งขึ้น (อาจยกเว้นเมื่อคุกคามโดยปริยายด้วยรัฐประหารหรือการก่อการกำเริบของมวลชน) เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า "ระบอบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดและไม่จำกัด[4]"
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเผด็จการถือเป็นรูปแบบหลักของระบอบอัตตาธิปไตยสมัยใหม่
อนาธิปไตย (Anarchy)
แก้คือสังคมที่ไม่มีรัฐบาล หรืออาจใช้หมายถึงสังคมหรือคนกลุ่มหนึ่งที่ปฏิเสธการจัดลำดับชั้น (hierarchy) โดยสิ้นเชิง
รูปแบบการปกครองรูปแบบอื่น ๆ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ธันวาคม 2024) |
- Anarchy
- Aristocracy
- Authoritarianism
- Bureaucracy
- Capitalism
- Confederation
- Colonialism
- Communism
- Corporatocracy
- Democracy
- Ecclesiocracy
- Electocracy
- Ergatocracy
- Fascism
- Federalism
- Feudalism
- Geniocracy
- Imperialism
- Kakistocracy
- Kleptocracy
- Logocracy
- Meritocracy
- Military Dictatorship
- Monarchy
- Oligarchy
- Plutocracy
- Republicanism
- Socialism
- Statism
- Technocracy
- Theocracy
- Totalitarianism
- Tribalism
ระบอบการปกครองแบ่งตามอุดมการณ์แห่งอำนาจ
แก้ระบอบราชาธิปไตย
แก้เป็นรูปแบบการปกครองที่ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐโดยปกติถืออยู่กระทั่งสวรรคตหรือสละราชสมบัติ โดยมากมักได้อำนาจมาโดยการสืบราชสมบัติในราชวงศ์เดียวกัน แต่ก็มีพระมหากษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้งหรือตั้งตนเป็นเจ้าด้วยเช่นกัน
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute monarchy)
แก้เป็นรูปแบบการปกครองที่กษัตริย์มีพระราชอำนาจเต็มที่
ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (Constitutional monarchy)
แก้เป็นรูปแบบการปกครองที่กษัตริย์มีพระราชอำนาจจำกัด เช่น ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
มกุฎสาธารณรัฐ (Crowned republic)
แก้ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง (Elective monarchy)
แก้ราชาธิปไตยโดยการเถลิงอำนาจตนเองa (Self-proclaimed monarchy)
แก้
ระบอบสาธารณรัฐ
แก้เป็นรูปแบบการปกครองที่มีประมุขแห่งรัฐเรียกว่า ประธานาธิบดี ได้มาจากการเลือกตั้ง และมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ควาหมายคำนี้ไว้ว่า “ประเทศหรือการปกครองที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข[5]”
อุดมการณ์อำนาจ
แก้อุดมการณ์ทางสังคมการเมือง
แก้- กษัตริย์นิยม (Royalism) เป็นลัทธิที่สนับสนุนราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ หรือราชวงศ์ใดโดยเฉพาะ เพื่อเป็นประมุขแห่งรัฐ (แนวคิดดังกล่าวมีความแตกต่างจาก ราชาธิปไตยนิยม)
- สาธารณรัฐนิยม (Republicanism) เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ความเป็นพลเมืองในรัฐที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ ซึ่งอาจเป็นระบอบคณาธิปไตยไปจนถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชน
อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม
แก้- ลัทธิอำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่
- อิสรนิยม (libertarianism หรือ libertarism) เดิมทีเป็นปรัชญาและขบวนการทางการเมืองซึ่งยึดถือเสรีภาพเป็นหลักศูนย์กลาง นักอิสรนิยมแสวงเสรีภาพทางการเมืองและอัตตาณัติสูงสุด เน้นย้ำปัจเจกนิยม เสรีภาพในการเลือก และการรวมกันเป็นสมาคมโดยสมัครใจ แต่ในปัจจุบัน อิสรนิยมหลายสำนักมีความเห็นต่างกันในเรื่องหน้าที่โดยชอบของรัฐและอำนาจของเอกชน
ฆราวาสนิยมหรือศาสนานิยม
แก้แนวปรัชญาที่ว่าสถาบันการปกครอง สถาบันการเมือง หรือสถาบันในรูปอื่นควรจะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากการอำนาจการควบคุมของสถาบันศาสนา และหรือความเชื่อทางศาสนา
- รัฐโลกวิสัย (secular state) เป็นแนวคิดสืบเนื่องมาจากหลักฆราวาสนิยม (secularism)
- ศาสนาประจำชาติ (state religion) เป็นคณะหรือลัทธิทางศาสนาที่รัฐอธิปไตยรัฐหนึ่ง ๆ อนุมัติอย่างเป็นทางการ
โครงสร้างอำนาจ
แก้คตินิยมรัฐเดี่ยว
แก้- รัฐเดี่ยว
- จักรวรรดิ
- พรินซิพาลิตี้
รัฐผู้รับอุปถัมภ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ธันวาคม 2024) |
ระบอบสหพันธรัฐ
แก้เป็นแนวคิดการเมืองซึ่งกลุ่มสมาชิกผูกมัดเข้าด้วยกันโดยข้อตกลงร่วมกัน โดยมีหัวหน้าที่เป็นตัวแทนซึ่งมีสิทธิปกครอง คำว่า "ระบอบสหพันธรัฐ" ยังใช้อธิบายระบบของรัฐบาลซึ่งรัฐธรรมนูญได้แบ่งแยกอำนาจอธิปไตยระหว่างฝ่ายปกครองส่วนกลางกับหน่วยการเมืองที่เป็นองค์ประกอบ
- สหพันธรัฐ (federation) เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์
- สมาพันธรัฐ (confederation) การรวมกันของหน่วยการเมืองเป็นการถาวรเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวร่วมกันตามหน่วยอื่น สมาพันธรัฐตามปกติก่อตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญา แต่ภายหลังมักก่อตั้งขึ้นจากการเห็นชอบรัฐธรรมนูญร่วมกัน สมาพันธรัฐมีแนวโน้มสถาปนาขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาร้ายแรง
- สหภาพเหนือชาติ (Supranational union) เป็นพัฒนาการของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขั้นสูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกันเป็นชาติเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลของแต่ละประเทศไม่สามารถกำหนดนโยบายของตนเองได้ แต่สหภาพจะกำหนดนโยบายให้ประเทศสมาชิกดำเนินการเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ธันวาคม 2024) |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้a. ไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการ
- ↑ Linz, Juan José (2000). Totalitarian and Authoritarian Regimes (ภาษาอังกฤษ). Lynne Rienner Publishers. ISBN 978-1-55587-890-0.
- ↑ Sondrol, Paul C. (1991). "Totalitarian and Authoritarian Dictators: A Comparison of Fidel Castro and Alfredo Stroessner". Journal of Latin American Studies. 23 (3): 599–620. ISSN 0022-216X.
- ↑ "คณาธิปไตย คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน". https://www.sanook.com/dictionary/dict/dict-th-th-royal-institute/search/คณาธิปไตย/.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=
- ↑ "อัตตาธิปไตย คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน". https://www.sanook.com/dictionary/dict/dict-th-th-royal-institute/search/อัตตาธิปไตย/.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=
- ↑ ltd, Longdo com, metamedia technology co. "คำศัพท์ สาธารณรัฐ แปลว่าอะไร". พจนานุกรม Longdo Dictionary แปลภาษา คำศัพท์.