ราชการส่วนภูมิภาค (ประเทศไทย)

(เปลี่ยนทางจาก การปกครองส่วนภูมิภาค)

ราชการส่วนภูมิภาค หมายถึงหน้าที่เดียวราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง

ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ในการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

แก้
 
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครนายก เป็นราชการส่วนภูมิภาคในระดับจังหวัดของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)

จังหวัด

แก้

จังหวัดเป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้

  1. สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
  2. ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

อำเภอ

แก้

อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้

  1. สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
  2. ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

ความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค

แก้

ส่วนราชการภูมิภาคสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวง/ทบวง

แก้

โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง กับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ในจังหวัด และอำเภอ

ราชส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หมายเหตุ
ส่วนราชการระดับกระทรวง ส่วนราชการระดับกรม ส่วนราชการระดับจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ส่วนราชการระดับอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สำนักงานสัสดีจังหวัด สัสดีจังหวัด
(พันเอก)
หน่วยสัสดีอำเภอ สัสดีอำเภอ
กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง สำนักงานคลังจังหวัด คลังจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา
สำนักงานปลัดกระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานปลัดกระทรวง
การพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
พัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ประมงจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
สำนักงานประมงอำเภอ ประมงอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการ)
กรมปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด
(อำนวยการระดับต้น)
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ
(ทั่วไป/อาวุโส/
วิชาการ/ชำนาญการ)
กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัด เกษตรจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
สำนักงานเกษตรอำเภอ เกษตรอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการพิเศษ)
กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สหกรณ์จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งจังหวัด ขนส่งจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
สำนักงานปลัดกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมจังหวัด
ผู้อำนวยการ
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานสถิติจังหวัด สถิติจังหวัด
(อำนวยการระดับต้น/สูง)
กระทรวงพลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน สำนักงานพลังงานจังหวัด พลังงานจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กรมการปกครอง ที่ทำการปกครองจังหวัด ปลัดจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
ที่ทำการปกครองอำเภอ นายอำเภอ
(อำนวยการระดับสูง)
กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด พัฒนาการจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ พัฒนาการอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการพิเศษ)
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการ)
(โครงสร้างภายใน)
กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
สำนักงานที่ดินอำเภอ ที่ดินอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการ)
กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานโยธาธิการ
และผังเมืองจังหวัด
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ผู้อำนวยการ
สำนักงานยุติธรรมจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กรมคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด ผู้อำนวยการ
สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด

(อำนวยการระดับสูง)
กรมราชทัณฑ์ เรือนจำจังหวัด ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
เรือนจำอำเภอ ผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอ
กรมบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัด ผู้อำนวยการ
สำนักงานบังคับคดีจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน สำนักงานแรงงานจังหวัด แรงงานจังหวัด
(อำนวยการระดับต้น/สูง)
กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัด จัดหางานจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงานจังหวัด
สวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงานจังหวัด
(อำนวยการระดับต้น/สูง)
สำนักงานประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมจังหวัด ประกันสังคมจังหวัด
(อำนวยการระดับต้น)
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน(แพทย์))
อำนวยการ
ระดับสูง
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการพิเศษ)
(ทั่วไป/อาวุโส)
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
ส่วนราชการไม่สังกัดกระทรวง ทบวง หรือสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ผู้อำนวยการ
สำนักงานพระพุทธศาสนา
จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบเฉพาะ

แก้

ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมในส่วนภูมิภาค

แก้

การบริหารราชการของ กระทรวงกลาโหมในส่วนภูมิภาค เป็นรูปแบบเฉพาะตามพระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551[1] ซึ่งมิได้กำหนดให้กระทรวงกลาโหมต้องจัดการระเบียบการบริหารส่วนภูมิภาค แต่การจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้แบ่งส่วนราชการในภูมิภาคดังนี้

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา มีหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายวางแผน อำนวยการประสานงาน และดำเนินการ เกี่ยวกับการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ด้วยการพัฒนาประเทศ และสังคมจิตวิทยาของประเทศ ในท้องถิ่นทุรกันดาร ในพื้นที่กำหนดเพื่อป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ รวมทั้งการพัฒนา กำลังพล สำหรับสนับสนุน การพัฒนาประเทศ ตลอดจน ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งพื้นที่เป็น

  1. สำนักงานพัฒนาภาค 1
  2. สำนักงานพัฒนาภาค 2
  3. สำนักงานพัฒนาภาค 3
  4. สำนักงานพัฒนาภาค 4
  5. สำนักงานพัฒนาภาค 5

กองทัพภาค มีหน้าที่ป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ ในส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น กองพลทหารม้า กองพลพัฒนา กรมทหารปืนใหญ่ หน่วยป้องกันชายแดนและภารกิจพิเศษในพื้นที่ และหน่วยขึ้นตรง เช่น มณฑลทหารบก จังหวัดทหารบก โดยแบ่งพื้นที่เป็น

  1. กองทัพภาคที่ 1
  2. กองทัพภาคที่ 2
  3. กองทัพภาคที่ 3
  4. กองทัพภาคที่ 4

กองทัพเรือภาค มีหน้าที่ป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศทางทะเล ในส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น หมวดเรือเฉพาะกิจ หมวดบินเฉพาะกิจ และชุดปฏิบัติการพิเศษ โดยแบ่งพื้นที่เป็น

  1. กองทัพเรือภาคที่ 1
  2. กองทัพเรือภาคที่ 2
  3. กองทัพเรือภาคที่ 3

ส่วนกำลังรบ มีหน้าที่ป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศทางอากาศ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น กองบิน กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ และหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน โดยกระจายพื้นที่ทั่วประเทศ

ส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาค

แก้

การบริหารราชการของ กระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาค เป็นรูปแบบเฉพาะตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546[2] ที่กำหนดให้การจัดระเบียบการบริหารราชการแบ่งเป็น บริหารราชการในส่วนกลาง บริหารราชการในเขตพื้นที่การศึกษา และ บริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญา ที่เป็นนิติบุคคล

บริหารราชการในเขตพื้นที่การศึกษา มีการจัดระเบียบการบริหารราชการดังนี้

  1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาระดับอนุบาล และประถมศึกษาให้สอดกับความต้องการของท้องถิ่น และนโยบายการศึกษาของประเทศ
  2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้สอดกับความต้องการของท้องถิ่น และนโยบายการศึกษาของประเทศ

แนวคิดปฏิรูป

แก้

ปัจจุบันมีหลายพรรคที่จะใช้ระบบการกระจายอำนาจมาใช้กับระดับจังหวัดแต่มีปัญหาอยู่มากเช่น 1.อาจการเป็นการผูกขาดทางอำนาจให้แก่ผู้มีอิทธิพลสังเกตจากนายกอบจ.ส่วนมากมีหน้าซ้ำๆหรือเครือเดียวกันทั้งๆที่ประชากรส่วนมากแทบไม่รู้จักเลย 2.มีการคดโกงเกิดขึ้นบ่อยจากกรณีอบจ.ลำพูน เนื่องจากระบบบริหารท้องถิ่นมีบางส่วนที่ลูกจ้างและข้าราชการที่เป็นคนเครือเดียวกันรู้จักกันทำให้ช่วยปกปิดได้ต่างจากระบบส่วนกลางที่มีการหมุนเวียนข้าราชการให้ไปหลายๆที่และการฟ้องร้องผู้ที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่เป็นอะไรที่เสี่ยงมากๆ 3.ชาวบ้านอาจฟ้องร้องได้ยากเพราะถ้ามีปัญหากับเราผู้มีอิทธิพลอาจมีอันตรายซึ่งส่วนกลางไม่สามารถคุ้มครองได้ทันที 4.อาจมีการใช้กองกำลังท้องถิ่นในทางที่ผิดเช่น อส. ตร. แต่ระบบนี่มีข้อดี 1.ถ้าชาวบ้านได้นายกที่ดีจริงๆจะมีการช่วยเหลือที่ทันท่วงทีไม่ต้องผ่านระบบซับซ้อนของส่วนกลาง 2.จะมีการทราบปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้านเพราะเนื่องจากคนในระบบนี่ส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่(ซึ่งตอนนี้ระบบกลางก็มีการใช้อยู่เป็นการคละคนให้มีคนในพื้นที่และจากด้านนอก) 3.ชาวบ้านจะมีความกล้าในการติดต่อส่วนราชการเพราะมีคนในระบบท้องถิ่นนี่มีความเป็นกันเองกับข้าราชการเนื่องจากเป็นคนในพื้นที่จากที่แต่ก่อนชาวบ้านจะมองข้าราชการว่าเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก

อ้างอิง

แก้
  1. พระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 26 ก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 35
  2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 62 ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2546 หน้า 1