กองบัญชาการกองทัพไทย

กองบัญชาการกองทัพไทย (อังกฤษ: Royal Thai Armed Forces Headquarters) เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม[1] ซึ่งแปรสภาพมาจากกองบัญชาการทหารสูงสุด (Supreme Command Headquarters) มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ[2] มีที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 127 ซอยงามวงศ์วาน 47 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

กองบัญชาการกองทัพไทย
จักร สมอ และปีก (แทนทหาร3เหล่าทัพ)
เครื่องหมายราชการกองบัญชาการกองทัพไทย
ประจำการ27 กันยายน พ.ศ. 2500; 67 ปีก่อน (2500-09-27)
ประเทศ ไทย
กองบัญชาการเลขที่ 127 ซอยงามวงศ์วาน 47 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
คำขวัญเทิดราชัน ทันสมัย พัฒนา
เว็บไซต์www.rtarf.mi.th
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี
ผบ. สำคัญรายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ผู้บังคับบัญชาปัจจุบัน ประกอบด้วย

ประวัติ

แก้
 
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ กองบัญชาการกองทัพไทย

ก่อนหน้านี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งขึ้นมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2483 เนื่องในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และในปีถัดมา จากการที่ไทยเข้าร่วมสงครามมหาเอเชียบูรพา เพื่อทำหน้าที่ด้านบัญชาการรบในแต่ละคราว จัดเป็นกองบัญชาการเฉพาะกิจ โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นสงครามแต่ละคราวแล้ว ทางราชการจึงได้ยุบกองบัญชาการทหารสูงสุดลง

ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้รับการรื้อฟื้นอีกครั้ง เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีกรมเสนาธิการกลาโหม กระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่เป็นส่วนบัญชาการของผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ต่อมา ใน พ.ศ. 2503 ทางราชการได้เล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นการถาวร เพื่อทำหน้าที่ในการเตรียมกำลังรบและป้องกันประเทศ จึงได้มีการแปรสภาพกรมเสนาธิการกลาโหมเป็นกองบัญชาการทหารสูงสุด พร้อมทั้งปรับปรุงและเพิ่มหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2503

ในระยะเริ่มแรก กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสนาธิการ ฝ่ายกิจการพิเศษ ฝ่ายยุทธบริการ และฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนบังคับบัญชา ส่วนเสนาธิการร่วม ส่วนปฏิบัติการ ส่วนกิจการพิเศษ และส่วนการศึกษา[8]

ใน พ.ศ. 2551 ได้มีการจัดส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมใหม่ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 ซึ่งตามมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้แปรสภาพเป็นกองบัญชาการกองทัพไทย โดยเป็นส่วนราชการในกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทย ในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบ[1][9]

การจัดส่วนราชการ

แก้

กองบัญชาการกองทัพไทยจัดผังการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้[2][10]

ส่วนบังคับบัญชา ส่วนเสนาธิการร่วม
ส่วนกิจการพิเศษ ส่วนปฏิบัติการ ส่วนการศึกษา

ดูเพิ่ม

แก้

การทหารในประเทศไทย

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-01-09.
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  8. "ประวัติกองบัญชาการทหารสูงสุด (เว็บไซต์กองบัญชาการกองทัพไทย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-30. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
  9. อันว่าด้วย .... "กองบัญชาการกองทัพไทย"
  10. เว็บไซต์กองบัญชาการกองทัพไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°53′11″N 100°33′54″E / 13.8864°N 100.565°E / 13.8864; 100.565