กรมประชาสัมพันธ์
กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลไทย ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน
![]() ตราราชการของกรมประชาสัมพันธ์ | |
![]() | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 |
ผู้ก่อตั้ง | ครม.3 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 9 ซอยพระรามที่ 6 ซอย 30 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
งบประมาณประจำปี | 1,454 ล้าน (พ.ศ. 2566)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัด | สำนักนายกรัฐมนตรี |
ประวัติ แก้ไข
กรมประชาสัมพันธ์ มีวิวัฒนาการมาจาก “กองโฆษณาการ” หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน[3]พัฒนาเป็น “สำนักงานโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 พัฒนาขึ้นเป็น “กรมโฆษณาการ” และเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 พัฒนามาเป็น “กรมประชาสัมพันธ์” ดังเช่นปัจจุบัน
ที่ตั้งสำนักงาน แก้ไข
สำนักงานกรมประชาสัมพันธ์ เดิมตั้งอยู่ที่ อาคารหัวมุมถนนราชดำเนิน ติดกับกรมสรรพากร และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสถานที่เกี่ยวข้องในประวัติศาสตร์ทางการเมืองหลายครั้ง ในการรัฐประหารทุกครั้ง จะเป็นสถานที่แรก ๆ ที่ถูกกำลังทหารเข้ายึด รวมทั้งใน เหตุการณ์ 14 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ก็ถูกประชาชนเข้ายึด [4] หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ อาคารกรมประชาสัมพันธ์ ถูกเพลิงไหม้เสียหายอย่างหนัก จึงย้ายไปตั้ง ณ อาคารเลขที่ 9 ซอยพระรามที่ 6 ซอย 30 (อารีย์สัมพันธ์) ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน
ตราสัญลักษณ์ แก้ไข
ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ" ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์ เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบ[5] โดยอิงตามคติในวรรณคดีโบราณว่า พระอินทร์มีหน้าที่เป่าสังข์ชื่อ "ปาญจนันท์" ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก และโดยความเชื่อในศาสนาฮินดู สังข์ถือเป็นมงคลสามประการคือ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวท และตัวสังข์มีรอยนิ้วพระหัตถ์ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนาพราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย สอดคล้องกับหลักการประชาสัมพันธ์ ที่เป็นการเผยแพร่ชี้แจงประชาชนให้เข้าใจอย่างกว้างขวาง และสร้างความเข้าใจอันดี จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์เพื่อเรียกประชุมของเทวดา ตราสัญลักษณ์นี้ใช้สีม่วงเป็นสีหลักของตรา ซึ่งเป็นสีของงานประชาสัมพันธ์ และใช้มาจนกระทั่งเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน[6]
ส่วนราชการในสังกัด แก้ไข
ตามพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2540[7] มีส่วนราชการในสังกัด ดังต่อไปนี้
- สำนักเลขานุการกรมประชาสัมพันธ์
- กองคลัง
- กองการเจ้าหน้าที่
- กองกฎหมายและระเบียบ
- กองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กองงาน กกช.)
- ศูนย์สารสนเทศการประชาสัมพันธ์
- พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง
- หอจดหมายเหตุกรมประชาสัมพันธ์
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.)
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย (ชื่อเดิมคือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เพื่อการศึกษา)
- วิทยุรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (วรท.)
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.)
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค
- สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี (สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ; ปัจจุบันโอนกิจการย้ายไปสังกัดที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และใช้ชื่อว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส)[8]
- สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี (ให้เอกชนเช่าสัมปทาน; ยุติการออกอากาศแล้ว)
- สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็นบีที (ร่วมผลิตกับเอกชน)
- สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเวิลด์
- สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ
- สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (สนข.)
- สำนักงานที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ
- สำนักประชาสัมพันธ์เขตและสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 จังหวัดขอนแก่น
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 จังหวัดพิษณุโลก
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 จังหวัดสงขลา
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 จังหวัดจันทบุรี
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี
- สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์
- สถาบันการประชาสัมพันธ์
- สำนักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์
- สำนักส่งเสริมและพัฒนางานเทคนิค
จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน แก้ไข
ประเภท | หนังสือพิมพ์ รายปักษ์ |
---|---|
รูปแบบ | ข่าว รัฐบาล |
เจ้าของ | กรมประชาสัมพันธ์ |
ผู้เผยแพร่ | บริษัท ยูโทเปีย จำกัด |
หัวหน้าบรรณาธิการ | พลเอก วิลาศ อรุณศรี |
บรรณาธิการ | นวพรรณ รุ่งสาโรจน์ |
บรรณาธิการบริหาร | คณิศร์ สุวรรณเดช |
คอลัมนิสต์ | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อตั้งเมื่อ | 28 เมษายน พ.ศ. 2558 |
นโยบายทางการเมือง | ครม.61 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ฉบับสุดท้าย | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (1 ปี 78 วัน) |
สำนักงานใหญ่ | กรมประชาสัมพันธ์ |
จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน เป็น หนังสือพิมพ์แทบลอยด์ รายปักษ์ภาษาไทยที่ดำเนินการโดย กรมประชาสัมพันธ์ ตามดำริของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ประวัติ แก้ไข
โดยมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 ให้ กรมประชาสัมพันธ์ ออกหนังสือพิมพ์แทบลอยด์แบบรายปักษ์ 4 สี 8 หน้าชื่อ จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน เริ่มออกฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และรายงานผลงานของรัฐบาล โดยหนึ่งฉบับมี 8 หน้า จัดพิมพ์ทั้งสิ้น 60,000 เล่ม โดยแบ่งเป็นการแจกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30,000 เล่ม และพื้นที่ต่างจังหวัด 30,000 เล่ม[9]
โดยที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีนายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดี กรมประชาสัมพันธ์ เป็นบรรณาธิการบริหารในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนให้นายคณิศร์ สุวรรณเดชเป็นบรรณาธิการบริหารแทนและพลเอก วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นบรรณาธิการอำนวยการ
ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นคอลัมนิสต์รับเชิญในคอลัมน์ จากใจนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้สื่อสารความในใจของท่านไปสู่ประชาชนนอกจากนี้ยังมีคอลัมน์จากรัฐมนตรีบางท่านที่ใช้รายงานผลงานที่ผ่านมา
แต่ด้วยผลไม่เป็นตามเป้าที่วางไว้จึงได้ยุติหนังสือพิมพ์ฉบับนี้โดยออกฉบับสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เล่ม 139 ตอนที่ 57 ก วันที่ 19 กันยายน 2565
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/216/20.PDF
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม พุทธศักราช 2476" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
- ↑ 9แหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์เดือนตุลาคม ในบล็อก รีเบล เอกซ์ ที่บล็อกแก๊งค์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 17) เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ความเป็นมาของตราสัญลักษณ์กรมประชาสัมพันธ์ เก็บถาวร 2008-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่
- ↑ พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย จากเว็บไซต์องค์กรของไทยพีบีเอส
- ↑ "สลน.แจก "จม.ข่าว รบ.เพื่อประชาชน" ให้สื่อฯ ใช้เผยแพร่ผลงาน รบ". ไทยรัฐ. 28 เมษายน 2558.
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- กองการเจ้าหน้าที่ เก็บถาวร 2011-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง[ลิงก์เสีย]
- หอจดหมายเหตุกรมประชาสัมพันธ์
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค เก็บถาวร 2012-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา เก็บถาวร 2012-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2015-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต เก็บถาวร 2012-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด เก็บถาวร 2012-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 8
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5
- สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6
- สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ เก็บถาวร 2016-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถาบันการประชาสัมพันธ์
- สำนักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ เก็บถาวร 2016-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักส่งเสริมและพัฒนางานเทคนิค เก็บถาวร 2015-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน