สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)
สำนักนายกรัฐมนตรี (อังกฤษ: Office of the Prime Minister) เป็นส่วนราชการของรัฐบาลไทย มีฐานะเป็นกระทรวง ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและการวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การปฏิบัติภารกิจพิเศษและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ
ตราราชสีห์คชสีห์รักษารัฐธรรมนูญ เครื่องหมายราชการแห่งสำนักนายกรัฐมนตรี[1] | |
ทำเนียบรัฐบาล | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10300 |
งบประมาณต่อปี | 36,001.2614 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[3] |
รัฐมนตรี | |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ลูกสังกัดหน่วยงาน | |
เว็บไซต์ | https://www.thaigov.go.th/ |
เชิงอรรถ | |
สำนักนายกรัฐมนตรีไม่เป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง |
ประวัติ
แก้สำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2476 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476[4] โดยมีการจัดวางระเบียบราชการสำนักงาน และกรมภายในสำนักนายกรัฐมนตรี ไว้ 6 หน่วยงาน คือ
- สำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรี
- กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- คณะกรรมการกฤษฎีกา
- คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- สำนักงานโฆษณาการ
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อสำนักนายกรัฐมนตรีเป็น "สำนักคณะรัฐมนตรี" อยู่ระยะหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2497 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
จนกระทั่งมีการแต่งตั้งปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 คือ พันเอก หลวงวิจิตรวาทการ[5]
แม้ว่าสำนักนายกรัฐมนตรีจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 แต่ก็มิได้กำหนดให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสถาปนา เนื่องจากได้ถือตามความเป็นจริงว่าส่วนงานของนายกรัฐมนตรีได้ถือกำเนิดขึ้น ตามการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนแรกโดยคณะราษฎรเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ตามรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย สำนักนายกรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 28 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว[6] โดยได้กำหนดให้สีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คือ สีดำ[7]
ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
แก้สำนักนายกรัฐมนตรี มีส่วนราชการ 3 ส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
แก้ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม
- สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- สำนักงบประมาณ
- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เดิมชื่อ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ[9]
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน[10] [11]
- สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ[12][13]
- สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง[14]
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ[15]
- กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
- ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
องค์การมหาชน
แก้- สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
- สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
- สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
- สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
- สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
- สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
- สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
- สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
- สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
- สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ
- สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
- สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
รัฐวิสาหกิจ
แก้ส่วนราชการหรือหน่วยงานในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
แก้- ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ[16] [17]
- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
- สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
องค์การมหาชน
แก้- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
- องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
- สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ[18]
หน่วยงานในกํากับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ความเป็นมาเครื่องหมายราชการแห่งสำนักนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-10. สืบค้นเมื่อ 2020-01-30.
- ↑ ประวัติสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม พุทธศักราช 2476" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี เล่ม ๗๖ ตอน ๒๘ ง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒
- ↑ "ความเป็นมาของสำนักนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
- ↑ กฎสำนักนายกรัฐมนตรึ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘.
- ↑ "ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการลาของข้าราชการและมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
- ↑ ประกาศ คสช. ดึง 'บีโอไอ' ขึ้นตรงนายกรัฐมนตรี
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๖๑ ง พิเศษ หน้า ๑๖ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๑ เรื่อง การจัดสรรภารกิจและบุคลากรของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๑๕ ง พิเศษ หน้า ๒๔ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๑
- ↑ คำสั่งหัวหน้ำคณะรักษำควำมสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง กลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสำมัคคีปรองดอง
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๖๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘ ตอน ๑๑ ก พิเศษ หน้า ๖ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
- ↑ พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ราชกิจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๘ ก วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๕๙ ราชกิจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๘ ก วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙
- ↑ "ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการลาของข้าราชการและมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เก็บถาวร 2007-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน