สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ชื่อย่อ: สกพอ.)[2] หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลภายใต้การบังคับบัญชาของ นายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกให้เป็นระบบและโดยสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Eastern Economic Corridor the Prime Gateway to Asia | |
ภาพรวมสำนักงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 |
สำนักงานก่อนหน้า | |
ประเภท | หน่วยงานของรัฐ |
เขตอำนาจ | ภาคตะวันออก |
สำนักงานใหญ่ | 72 อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติ บางรัก ชั้น 25 ซอยเจริญกรุง 34 (วัดม่วงแค) ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร |
บุคลากร | 190 คน (พ.ศ. 2562) |
งบประมาณต่อปี | 1,555,830,400 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน |
|
ต้นสังกัดสำนักงาน | นายกรัฐมนตรี |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักงาน |
ประวัติ
แก้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ตามมาตรา 14 ของ พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 [3] แทนที่ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่ถูกยุบไปโดยมีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
อำนาจและหน้าที่
แก้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มาตรา 15 สำนักงานฯ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
- รับผิดชอบในงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการนโยบาย
- เสนอแนะคณะกรรมการนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานตามมาตรา 11 และมาตรา 12
- ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้นจากการกำหนดและการดำเนินการตามนโยบาย แผนและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รวมตลอดทั้งแนวทางหรือมาตรการป้องกัน แก้ไข หรือเยียวยาผลกระทบดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย
- กำกับ ติดตาม และรายงานความคืบหน้าในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยทุกสามเดือน
- จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ
- ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นไปตามนโยบาย แผน และมาตรการที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
- ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการกำหนดเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
- ลงทุนหรือร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
- ตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
- กู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายในกิจการของสำนักงาน
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการนโยบายมอบหมาย
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
แก้ตามมาตรา 10 กำหนดให้มี คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย
- นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
- รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
- กรรมการโดยตำแหน่งประกอบด้วย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- ผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณ
- เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- ประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
- ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ประธานสมาคมธนาคารไทย
- ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญอันจะเป็นประโยชน์แก่การกำหนดนโยบายและการดำเนินการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวนไม่เกินห้าคน
- เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นกรรมการและเลขานุการ
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๘๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ “อีอีซี”ปรับแผน-เพิ่มการลงทุนในพื้นที่ปีละ 6 แสนล้านบาท ดัน GDP โต 5%
- ↑ พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑