สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เป็นองค์กรเลขานุการและการบริหารงานของ "คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน" ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ภายใต้ "พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน"

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
Office of the Civil Service Commission
ตราสัญลักษณ์สำนักงาน ก.พ.
ภาพรวมหน่วยงาน
สำนักงานใหญ่47/111 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
งบประมาณประจำปี1,348.9127 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ปิยวัฒน์ ศิวรักษ์[2], เลขาธิการ
  • สุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ, รองเลขาธิการ
  • ร้อยตำรวจโทหญิง สุทธิมา พิพัฒน์พิบูลย์, รองเลขาธิการ
  • นาย กิติพงษ์ มหารัตนวงศ์[3], รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์www.ocsc.go.th

ประวัติ แก้

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน แก้

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นคณะกรรมการที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2471 โดยใช้ชื่อขณะนั้นว่า "ก.ร.พ." หรือ "คณะกรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน" มีหน้าที่ดำเนินการจัดสอบคัดเลือกผู้เข้ารับราชการพลเรือน และจัดการศึกษาให้นักเรียนหลวงฝ่ายพลเรือน[4][5]

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ชุดปัจจุบัน แก้

กรรมการโดยตำแหน่ง แก้

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แก้

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งกรรมการข้าราชการพลเรือน ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ดังรายนามต่อไปนี้

  • คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล)
  • นายนนทิกร กาญจนะจิตรา (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล)
  • นายพานิช เหล่าศิริรัตน์ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล)
  • นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและการจัดการ)
  • นายเอกพล ณ สงขลา (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและการจัดการ)
  • นายนพดล เฮงเจริญ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและการจัดการ)
  • นายปกรณ์ นิลประพันธ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย)

[6]

หน่วยงานในสังกัด แก้

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มีส่วนราชการในสังกัดดังนี้

รายนามเลขาธิการ แก้

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มาแล้วจำนวน 17 คน คือ

  1. หลวงสุขุมนัยประดิษฐ พ.ศ. 2472[7] - พ.ศ. 2507
  2. พันเอกจินดา ณ สงขลา พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2522
  3. ประวีณ ณ นคร พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524
  4. โสรัจ สุจริตกุล พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2529
  5. สำราญ ถาวรายุศม์ พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2534
  6. ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2535
  7. ดร.วิลาศ สิงหวิสัย พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538
  8. อุดล บุญประกอบ พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2540
  9. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2545
  10. ดร.บุญปลูก ชายเกตุ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2546
  11. สีมา สีมานันท์ พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548
  12. ปรีชา วัชราภัย พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2552
  13. ดร.เบญจวรรณ สร่างนิทร พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2553[8]
  14. นนทิกร กาญจนะจิตรา พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2558
  15. วิสูตร ประสิทธิ์ศิริวงศ์ พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559
  16. ดร.เมธินี เทพมณี พ.ศ. 2559 - 2562[9]
  17. หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564 [10]
  18. ปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เล่ม 139 ตอนที่ 57ก วันที่ 14 กันยายน 2565
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-06. สืบค้นเมื่อ 2010-01-12.
  5. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๑
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/033/T_0021.PDF
  7. แจ้งความกรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน เรื่อง ตั้งเลขานุการ
  8. ประวัติ เบญจวรรณ สร่างนิทร
  9. ประวัติเมธินี
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้