เขตดุสิต
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ดุสิต เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งของรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้
เขตดุสิต | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Dusit |
คำขวัญ: เขตพระราชฐาน ตระการตาหมู่พระตำหนัก ศักดิ์สิทธิ์พระปิยะฯ วัดเบญจะเลื่องลือนาม สง่างามรัฐสภา ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบฯ เพียบพร้อมสิ่งสำคัญ ดุจสวรรค์ชั้นดุสิต | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดุสิต | |
พิกัด: 13°46′37″N 100°31′14″E / 13.77694°N 100.52056°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 10.665 ตร.กม. (4.118 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 75,814[1] คน |
• ความหนาแน่น | 7,108.67 คน/ตร.กม. (18,411.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10300 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1002 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 317 ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางซื่อ มีคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตราชเทวี มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตพระนคร มีคลองมหานาคและคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางพลัด มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
แก้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงจัดรูปแบบการปกครองใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย โดยจัดการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งในมณฑลกรุงเทพมีกระทรวงนครบาลดูแล แบ่งเขตปกครองออกเป็นอำเภอและตำบลเช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ โดย อำเภอดุสิต เป็น 1 ใน 8 อำเภอชั้นใน ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ริมคลองเปรมประชากร ถนนสุโขทัย
ใน พ.ศ. 2481 อำเภอบางซื่อซึ่งเป็นอำเภอชั้นนอกทางทิศเหนือ ได้ถูกยุบลงเป็นตำบลมาขึ้นกับอำเภอดุสิต และเนื่องจากทางอำเภอมีจำนวนประชากรและพื้นที่กว้างขวางมาก กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกตำบลสามเสนใน ตำบลมักกะสัน ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลถนนพญาไทของอำเภอดุสิต ไปรวมกับพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางกะปิ เพื่อจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท ใน พ.ศ. 2509
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอดุสิตจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตดุสิต มีหน่วยการปกครองย่อย 6 แขวง
ต่อมา ในพื้นที่เขตดุสิตมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและยังมีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบแขวงบางซื่อ ซึ่งได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งเป็นเขตบางซื่อ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532[2]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตดุสิตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
ดุสิต | Dusit | 2.233 |
9,792 |
4,385.13 |
|
2. |
วชิรพยาบาล | Wachiraphayaban | 1.074 |
8,844 |
8,234.64
| |
3. |
สวนจิตรลดา | Suan Chit Lada | 1.737 |
5,917 |
3,406.45
| |
4. |
สี่แยกมหานาค | Si Yaek Maha Nak | 0.339 |
6,720 |
19,823.01
| |
6. |
ถนนนครไชยศรี | Thanon Nakhon Chai Si | 5.282 |
44,541 |
8,432.60
| |
ทั้งหมด | 10.665 |
75,814 |
7,108.67
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตบางซื่อ
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตดุสิต[3] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 181,294 | ไม่ทราบ |
2536 | 172,890 | -8,404 |
2537 | 171,306 | -1,584 |
2538 | 166,617 | -4,689 |
2539 | 163,572 | -3,045 |
2540 | 161,995 | -1,577 |
2541 | 160,243 | -1,752 |
2542 | 157,331 | -2,912 |
2543 | 155,744 | -1,587 |
2544 | 152,872 | -2,872 |
2545 | 151,511 | -1,361 |
2546 | 150,365 | -1,146 |
2547 | 123,040 | -27,325 |
2548 | 121,336 | -1,704 |
2549 | 119,927 | -1,409 |
2550 | 117,867 | -2,060 |
2551 | 116,742 | -1,125 |
2552 | 114,488 | -2,254 |
2553 | 111,496 | -2,992 |
2554 | 108,815 | -2,681 |
2555 | 107,969 | -846 |
2556 | 106,811 | -1,158 |
2557 | 104,394 | -2,417 |
2558 | 101,576 | -2,818 |
2559 | 98,450 | -3,126 |
2560 | 95,852 | -2,598 |
2561 | 94,854 | -998 |
2562 | 89,769 | -5,085 |
2563 | 83,897 | -5,872 |
2564 | 81,494 | -2,403 |
2565 | 78,602 | -2,892 |
2566 | 75,814 | -2,788 |
การคมนาคม
แก้ถนน
- ถนนประชาราษฎร์ สาย 1
- ถนนทหาร
- ถนนประดิพัทธิ์
- ถนนสามเสน
- ถนนอำนวยสงคราม
- ถนนเศรษฐศิริ
- ถนนนครไชยศรี
- ถนนสุโขทัย
- ถนนราชวิถี
- ถนนศรีอยุธยา
- ถนนเพชรบุรี
- ถนนพิษณุโลก
- ถนนนครสวรรค์
- ถนนอู่ทองนอก
- ถนนอู่ทองใน
- ถนนราชดำเนินนอก
- ถนนนครราชสีมา
- ถนนขาว
- ถนนสวรรคโลก
- ถนนเทอดดำริ
- ถนนพระรามที่ 5
- ถนนหลานหลวง
- ถนนลูกหลวง
- ถนนเตชะวณิช
- ถนนเขียวไข่กา
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามี 1 สะพาน คือ
- สะพานกรุงธนบุรี (ซังฮี้) เชื่อมระหว่างเขตดุสิตกับเขตบางพลัด
รถไฟ
- ทางรถไฟสายเหนือ โดยถือเป็นแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตดุสิตกับเขตราชเทวีและเขตพญาไท มีสถานีรถไฟจิตรลดา หรือสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต แต่เป็นสถานีพิเศษที่ไม่ได้เปิดใช้เป็นการทั่วไป โดยจะใช้ที่หยุดรถโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นจุดโดยสารแทน และยังมีสถานีสามเสนตั้งอยู่ในแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต นอกจากนั้นยังมีที่หยุดรถไฟยมราช ตั้งอยู่ในแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต
- รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เตาปูน–ราษฎร์บูรณะ–ครุใน) กำลังก่อสร้าง
ทางน้ำ อาศัย แม่น้ำเจ้าพระยา ในการคมนาคมและสัญจร
สถานที่สำคัญ
แก้วัง
แก้- พระราชวังดุสิต ซึ่งมีพระบรมรูปทรงม้า อยู่ที่ พระลานพระราชวังดุสิต หรือที่เรียกกันว่า "ลานพระรูป" และมีพระที่นั่งและพระตำหนักหลายองค์ในบริเวณพระราชวังดุสิต ที่สำคัญ อาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวิมานเมฆ พระที่นั่งอัมพรสถาน และ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ซึ่งพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ปัจจุบันเป็นที่ประทับประจำของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
- วังศุโขทัย ปัจจุบันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ซึ่งสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2527
- วังสวนกุหลาบ
- วังปารุสกวัน ปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- วังจันทรเกษม ปัจจุบันเป็นที่ทำการกระทรวงศึกษาธิการ
- วังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ปัจจุบันอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ปัจจุบันอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
- สวนสุนันทา ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- วังกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- วังกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
สถานที่ทำการรัฐบาล และหน่วยงานราชการ
แก้- สำนักพระราชวัง
- ทำเนียบรัฐบาล
- สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)
- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- สัปปายะสภาสถาน
- รัฐสภาไทย
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
- สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
- สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
- บ้านพิษณุโลก
- บ้านมนังคศิลา
- หอสมุดแห่งชาติ
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 กองทัพบก
- กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล. 1 รอ.) กองทัพภาคที่ 1 กองทัพบก
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- กรมการทหารสื่อสาร
- กรมการขนส่งทหารบก
- กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- กรมสรรพาวุธทหารบก
- กรมสวัสดิการทหารบก (สก.ทบ.)
- กรมสรรพสามิต
- กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)
- กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น.1)
- สถานีตำรวจนครบาลสามเสน
- สถานีตำรวจนครบาลดุสิต
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก ศูนย์การทหารม้า ยานเกราะ
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก จเรทหารสื่อสาร (จส.) กรมการทหารสื่อสาร
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก กรมการขนส่งทหารบก
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- กรมส่งเสริมการเรียนรู้
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
- สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
- หน่วยราชการในพระองค์
- มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ศาสนสถาน
แก้ศาสนสถานในศาสนาพุทธ
แก้- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
- วัดน้อยนพคุณ
- วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
- วัดราชผาติการามวรวิหาร
- วัดประสาทบุญญาวาส
- วัดจันทรสโมสร
- วัดประชาระบือธรรม
ศาสนสถานในศาสนาคริสต์
แก้โรงเรียน
แก้- โรงเรียนวัดน้อยนพคุณ
- โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- โรงเรียนจิตรลดา พระที่นั่งอุดรภาค
- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
- โรงเรียนวัดราชาธิวาส
- โรงเรียนราชวินิต มัธยม
- โรงเรียนราชินีบน
- โรงเรียนราชวินิต
- โรงเรียนพันธะวัฒนา
- โรงเรียนพันธะศึกษาพิทยา
- โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดโบสถ์)
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- โรงเรียนกันตะบุตร
- โรงเรียนวัดราชผาติการราม
มหาวิทยาลัย และวิทยาลัย
แก้- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตโชติเวช
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาอาชีวศิลป์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสามเสน
สวนและพิพิธภัณฑ์
แก้- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น
- อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์สำนักงานเขตดุสิต
- แผนที่เขตดุสิต เก็บถาวร 2006-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เขตดุสิต
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดุสิตและตั้งเขตบางซื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (208 ง (ฉบับพิเศษ)): 8. 24 พฤศจิกายน 2532.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.