ถนนพิษณุโลก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ถนนพิษณุโลก (อักษรโรมัน: Thanon Phitsanulok) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีระยะทางตั้งแต่ถนนสามเสน ใต้ถนนศรีอยุธยา แขวงดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนนครราชสีมา (ทางแยกวังแดง) วังปารุสกวัน และสวนมิสกวัน ตัดกับถนนราชดำเนินนอก (ทางแยกสวนมิสกวัน) และถนนพระรามที่ 5 (ทางแยกพาณิชยการ) เข้าสู่แขวงสวนจิตรลดา จากนั้นตัดกับถนนนครสวรรค์ที่ทางแยกนางเลิ้ง (ทางแยกสนามม้า) และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงสวนจิตรลดากับแขวงสี่แยกมหานาคไปจนสุดถนนที่ทางรถไฟสายนครราชสีมา (ทางรถไฟสายเหนือก็เรียก) ณ แยกยมราชซึ่งเป็นหัวถนนเพชรบุรี โดยมีถนนหลานหลวงและถนนสวรรคโลกมาบรรจบกัน
ถนนพิษณุโลกนี้มีนามเดิมว่า "ถนนคอเสื้อ" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพิษณุโลกเนื่องจากวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นที่ประทับในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ชื่อถนนคอเสื้อได้มาจากการเขียนลายรูปค้างคาวต่อ ๆ กันในที่แคบ จึงกลายเป็นลายกระจังหรือที่เรียกว่า "คอเสื้อ" หมายถึง ฮก (ความสุข) ซึ่งเป็นหนึ่งลักษณะมงคลของจีนสามประการ ("ฮก ลก ซิ่ว" - ความสุข ลาภยศ อายุยืนนาน)
รายชื่อทางแยก
แก้จังหวัด | เขต | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา |
---|---|---|---|---|---|
ถนนพิษณุโลก (สี่เสาเทเวศร์–ยมราช) | |||||
กรุงเทพมหานคร | ดุสิต | 0+000 | แยกสี่เสาเทเวศร์ | ถนนสามเสน ไปบางขุนพรหม, บางลำพู | ถนนสามเสน ไปซังฮี้, เกียกกาย |
0+409 | แยกวังแดง | ถนนนครราชสีมา ไปวิสุทธิกษัตริย์, สะพานวันชาติ | ถนนนครราชสีมา ไปแยกการเรือน | ||
0+818 | แยกสวนมิสกวัน | ถนนราชดำเนินนอก ไปแยกมัฆวาน, ผ่านฟ้า | ถนนราชดำเนินนอก ไปสวนอัมพร | ||
1+290 | สะพานชมัยมรุเชฐ ข้ามคลองเปรมประชากร | ||||
1+305 | แยกพาณิชยการพระนคร | ถนนพระรามที่ 5 ไปแยกเทวกรรม | ถนนพระรามที่ 5 ไปสะพานแดง | ||
1+570 | แยกนางเลิ้ง | ถนนนครสวรรค์ ไปแยกเทวกรรม, ผ่านฟ้า | ไม่มี | ||
2+300 | แยกยมราช | ถนนหลานหลวง ไปสะพานขาว, ผ่านฟ้า | ถนนสวรรคโลก ไปแยกเสาวนี, แยกสามเสน | ||
ตรงไป: ถนนเพชรบุรี ไปประตูน้ำ | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- กัณฐิกา ศรีอุดม. "พร" ของพระนครในสมัยรัชกาลที่ 5. วารสารเมืองโบราณ ฉบับมกราคม - มีนาคม. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2550.