เหตุขบวนเสด็จฯ ผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลก 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เกิดเหตุการณ์ผู้ประท้วงคณะราษฎรชูมือเป็นสัญลักษณ์สามนิ้วและตะโกนใส่ขบวนเสด็จฯ ที่มีภาพปรากฏว่าขับฝ่าที่ชุมนุม[1] บริเวณถนนพิษณุโลก หน้าทำเนียบรัฐบาล ในเวลาประมาณ 17.00 น. เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายเล็กน้อยระหว่างผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนและกลุ่มคนเสื้อเหลือง มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย[2]
วันที่ | 14 ตุลาคม 2563 |
---|---|
เวลา | ประมาณ 17.00 น. (UTC+7) |
ที่ตั้ง | ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
เหตุจูงใจ | การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 |
ผู้เข้าร่วม |
|
ผล | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานครระหว่าง 15–22 ตุลาคม 2563 |
ต้องหา | 5 |
พิจารณาคดี | ศาลอาญาพิพากษายกฟ้องทั้ง 5 จำเลย |
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
ขบวนเสด็จฯ ฝ่าแนวผู้ชุมนุมประท้วง 14 ตุลาคม 2563, วิดีโอเฟซบุ๊ก |
แผนที่เขตดุสิต
|
หลังจากนั้นมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครในวันที่ 15 ตุลาคม โดยอ้างเหตุผู้ชุมนุมขวางขบวนเสด็จฯ มีการจับกุมนักเคลื่อนไหว 2 คนในความผิดฐาน "ประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี" (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110) นายตำรวจอาวุโสสามนายถูกสั่งย้ายตำแหน่งและสอบสวน การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ดังกล่าวยังเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563
ขบวนเสด็จฯ
แก้ขบวนเสด็จฯ ดังกล่าวเป็นขบวนของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ซึ่งตามหมายกำหนดการ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ แทนพระองค์ไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดราชโอรสารามและวัดอรุณราชวรารามในเวลา 17.50 น.[3] โดยกำหนดการว่าจะใช้ถนนราชดำเนิน ไม่ใช่ถนนพิษณุโลก[1]
ในวันที่ 11 ตุลาคม 2563 ตำรวจเตือนผู้ประท้วงว่าอย่าขวางขบวนเสด็จฯ ในวันที่ 14 ตุลาคม[4]
เหตุการณ์
แก้ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นผู้ประท้วงมีแผนเคลื่อนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกสกัดอยู่ที่แยกนางเลิ้ง แขวงสวนจิตรลดาและมีผู้ชุมนุมบางส่วนชุมนุมที่ถนนพิษณุโลกอยู่ก่อนแล้ว[3]
ในเวลาประมาณ 17.00 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม 2563 รถยนต์พระที่นั่งเคลื่อนผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลก โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแถวเปิดเส้นทางและวิ่งประกบ ส่วนผู้ประท้วงกลุ่มคณะราษฎรชูมือสัญลักษณ์สามนิ้วจากภาพยนตร์ชุด เกมล่าเกม กับส่งเสียงโห่และเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมไป ขณะที่กลุ่มคนเสื้อเหลืองพยายามกีดกันไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าใกล้ขบวนเสด็จฯ แต่ไม่มีรายงานการปะทะกัน[3] ผู้ประท้วงบางคนยังตะโกนว่า "ภาษีกู"[5]
ทั้งนี้ ไม่มีประกาศล่วงหน้าว่าจะมีการใช้เส้นทางดังกล่าว กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ทราบว่าจะมีขบวนเสด็จฯ ผ่าน และจู่ ๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ใช้กำลังกะทันหัน[1]
หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ ลงภาพขณะมีผู้ชูนิ้วกลางใส่ขบวนเสด็จฯ 2 คน[6]
ปฏิกิริยา
แก้อานนท์ นำภากล่าวหาว่ามีผู้จงใจจัดขบวนเสด็จฯ ฝ่ากลุ่มผู้ชุมนุม[7] สุชาติ สวัสดิ์ศรี อดีตศิลปินแห่งชาติ กล่าวหาว่าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และว่าตนสงสัยว่าอาจเกิดรัฐประหาร[8] ด้าน นพเก้า คงสุวรรณ ผู้สื่อข่าวประจำหนังสือพิมพ์ข่าวสด ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดไม่มีการเคลียร์เส้นทางตามแบบปฏิบัติมาแต่รัชกาลก่อน และไม่ใช่เส้นทางอื่นโดยรอบที่ไม่มีผู้ชุมนุม[9]
คืนวันเดียวกัน ประยุทธ์กล่าวหาว่าผู้ประท้วงขวางขบวนเสด็จฯ และมีการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ[10] วันที่ 15 ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 4.00 น. ประยุทธ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครโดยอ้างเหตุขวางขบวนเสด็จฯ ดังกล่าว[11] และสลายการชุมนุมของคณะราษฎรบริเวณรอบทำเนียบรัฐบาลไทย[12][13] และมีผู้ถูกจับกุม 20 คน เป็นแกนนำ 3 คน[14] มีการตั้งกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) และสั่งห้ามเผยแพร่สื่อที่เผยแพร่เนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคง[14] นายตำรวจ 3 นายถูกสั่งย้ายและสอบสวน[15]
มีนักกิจกรรม 2 คนถูกจับกุมฐานพยายาม "ประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี" (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110)[16][17] ซึ่งต่อมาได้รับประกันตัว[18]
หลังจากนั้นการประท้วงยังดำเนินต่อไป แม้ว่าตำรวจแจ้งว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในวันที่ 16 ตุลาคม มีการสลายการชุมนุมอย่างสงบที่แยกปทุมวันด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูง[19][20] และผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแจ้งว่ามีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 100 คน[21]
รัฐบาลประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในวันที่ 22 ตุลาคม 2563[22][23] และออกพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมวิสามัญ[24] ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงว่า เป็นการเปิดญัตติเฉพาะเรื่องขบวนเสด็จเท่านั้น เป็นการจงใจใส่ร้ายผุ้ชุมนุม[25] ด้านพรรคก้าวไกลเตรียมยื่นญัตติตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวนการจัดเส้นทางขบวนเสด็จฯ[26]
กลุ่มและสื่อฝ่ายขวาใช้เหตุการณ์นี้โจมตีผู้ประท้วง[27][28] ผู้นิยมเจ้าซึ่งมักเป็นผู้สูงอายุมีความเห็นว่า จะต่อต้านรัฐบาลอย่างไรก็ได้ แต่ห้ามต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์[29]
คดีความ
แก้ตำรวจออกหมายจับผู้ต้องหารวม 5 ราย อัยการส่งฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 31 มีนาคม 2564 โดยศาลให้ประกันตัวโดยวางเงินเป็นหลักประกันคนละ 2–3 แสนบาท[30]
ในวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาระบุใจความสำคัญ เห็นว่าในวันเกิดเหตุ (14 ตุลาคม 2563) ตำรวจไม่ได้จัดการเส้นทางเสด็จให้เรียบร้อย โดยพบว่าเส้นทางยังมีรถจอดอยู่ริมถนน และไม่มีการแสดงสัญลักษณ์หรือประกาศแจ้งก่อนการเคลื่อนขบวนเสด็จ
จากการสืบพยาน พบว่าความเข้าใจของผู้อยู่ในเหตุการณ์ไม่เท่ากัน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน (คฝ.) ในที่เกิดเหตุ ก็เพิ่งทราบว่าจะมีขบวนเสด็จ และไม่ทราบว่าเป็นขบวนเสด็จของพระองค์ใด ขณะขบวนเสด็จเคลื่อนผ่าน มีการชักล้อมรถของเจ้าหน้าที่ประชาชนจึงเข้าใจว่าจะมีการสลายการชุมนุม จึงได้ตะโกนโห่ร้องและชูสามนิ้วเพื่อประท้วงตำรวจ ไม่ใช่ประท้วงต่อขบวนเสด็จ เมื่อประชาชนทราบว่าเป็นขบวนเสด็จ ก็เคลื่อนผ่านไปได้ ไม่ได้มีการขว้างปาสิ่งของหรือขัดขวางขบวนเสด็จ [31]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "PM Orders Prosecution of Protesters Who 'Blocked Royal Convoy'". Khaosod English. 14 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ ชุมนุม 14 ตุลา: ประมวลเหตุการณ์ จากปะทะ "เสื้อเหลือง" สู่ ชูสามนิ้วใส่ขบวนเสด็จฯ
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "สรุปการชุมนุม 14 ตุลา จากปะทะ "เสื้อเหลือง" สู่ ชูสามนิ้วรับขบวนเสด็จฯ". BBC ไทย. 14 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "Bangkok police warn protesters not to block King's motorcade in October 14 protest". The Thaiger (ภาษาอังกฤษ). 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ ""ผมไม่มีเจตนาอาฆาต" ตัน สุรนาถ ผู้กล่าวหาประทุษร้ายพระราชินี". VoiceTV. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ ""ชูสามนิ้ว" ว่าหนักแล้ว หนักกว่านี้ก็มี สะพัดภาพย่ำยีหัวใจคนไทย "ชูนิ้วกลาง" ใส่ขบวนเสด็จฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "เกาะติด "คณะราษฎร" ชุมนุม 14 ตุลา "ราษฎรจะเดินนำ ที่ราชดำเนิน" – บีบีซีไทย". BBC Thai. สืบค้นเมื่อ 14 October 2020.
- ↑ "เฒ่าเพราะอยู่นาน'ศิลปิน3นิ้ว'ลามปาม!อ้างไอ้โม่งที่ส่ง'ขบวนเสด็จ'เข้าพื้นที่ชุมนุมไม่ใช่'ประยุทธ์'". Thai Post. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "นักข่าวฝ่ายปลดแอก อ้างม็อบ "ไม่ขวางขบวนเสด็จ" ถามตำรวจทำไมใช้เส้นทางเปราะบาง". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "นายกฯ สั่งดำเนินคดีผู้ชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จฯ". Thai PBS. 14 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ ""บัวแก้ว"แจงทูตใช้พรก.ฉุกเฉินม็อบส่งรุนแรง-กระทบขบวนเสด็จ". โพสต์ทูเดย์ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ Vegpongsa, Tassannee (14 October 2020). "Thai Leader Declares 'Severe' State of Emergency in Bangkok as Anti-Government Protests Continue". Time.com. AP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
- ↑ "Police clear protest as emergency decree bans gatherings". Bangkok Post. Reuters. 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
- ↑ 14.0 14.1 "Twenty protesters arrested, planned Thursday rally prohibited". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ English, Khaosod (15 October 2020). "3 Senior Policemen Removed for Motorcade Bedlam". Khaosod English.
- ↑ Beech, Hannah (16 October 2020). "Thailand Steps Up Response as Antigovernment Protests Escalate". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ Regan, Helen (16 October 2020). "Two Thai protesters could face life imprisonment for violence against the Queen". CNN. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Thepgumpanat, Patpicha Tanakasempipat, Panarat (17 October 2020). "Tens of thousands protest across Thailand in defiance of ban". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ "Thai police resort to teargas, arrest warrants against protesters". Nikkei Asia. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ "Thailand protests: Riot police fire water cannon as protesters defy rally ban". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ "พรรคก้าวไกล เจรจา ผบช.น. เข้าพื้นที่ชุมนุม พาคนเจ็บออกจากม็อบ". ประชาชาติธุรกิจ. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ "State of emergency ends in Bangkok". Bangkok Post. 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ Regan, Helen (22 October 2020). "Thailand's Prime Minister lifts state of emergency. Protesters give him three days to resign". CNN.com. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกา เรียก ประชุมสมัยวิสามัญ แห่งรัฐสภา". The Bangkok Insight. 21 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "6 พรรคฝ่ายค้าน จำใจร่วมอภิปรายวิสามัญ วิปรัฐบาลไม่ขวางหากพูดเรื่องสถาบัน". ประชาชาติธุรกิจ. 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "'ก้าวไกล' จ่อยื่นญัตติด่วนตั้ง กมธ.ศึกษาความบกพร่องจัดเส้นทางขบวนเสด็จ". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "เอาแล้ว! 'ลุงกำนัน' เหลืออดม็อบคุกคามขบวนเสด็จ ชวนพี่น้องร่วมอุดมการณ์ปกป้องสถาบัน". Thai Post. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "ชาวเน็ตสาป!! กลุ่มขวางขบวนเสด็จฯ". เนชั่น. 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "Thai monarchy's 'motorcade moment' heckling shows growing youth disdain". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "อัยการสั่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหาคดี "ขวางขบวนเสด็จฯ-ประทุษร้ายองค์ราชินี"". BBC ไทย. 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
- ↑ "ศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง 5 จำเลย ไม่มีความผิดทุกข้อกล่าวหา กรณีถูกฟ้องผิด ม.110 ปมขบวนเสด็จ จากเหตุเมื่อปี 2563". THE STANDARD. 2023-06-28.