มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon; อักษรย่อ: มทร.พ. – RMUTP) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า แฟชั่น อาหาร การบริหารจัดการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 โดยแยกออกจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ชื่อย่อมทร.พ. / RMUTP
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2548 (19 ปี)
นายกสภาฯ(อยู่ระหว่างการสรรหา)
อธิการบดีดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล
ผู้ศึกษา11,566 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
ศูนย์เทเวศร์
เลขที่ 399 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
วิทยาเขตศูนย์โชติเวช
เลขที่ 168 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

ศูนย์พณิชยการพระนคร
เลขที่ 88 ถนนพิษณุโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

ศูนย์ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
เลขที่ 517 ถนนนครสวรรค์ แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

ศูนย์พระนครเหนือ
เลขที่ 1381 ถนนพิบูลสงคราม แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
เพลงสดุดีราชมงคล
ต้นไม้อินทนิล
สี  สีม่วง
มาสคอต
บัวฉลองขวัญ
(ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย)
เว็บไซต์www.rmutp.ac.th

ประวัติ แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นมหาวิทยาลัยที่ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยวิทยาเขตเดิม 5 แห่ง ได้แก่

ศูนย์เทเวศร์ แก้

วิทยาเขตเทเวศร์ ปัจจุบันคือ ศูนย์เทเวศร์ เป็นที่ตั้งของ สำนักงานอธิการบดี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

ศูนย์โชติเวช แก้

วิทยาเขตโชติเวช ปัจจุบันคือ ศูนย์โชติเวช เป็นที่ตั้งของ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

ศูนย์พณิชยการพระนคร แก้

ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนประถมศึกษาพิเศษภาษาอังกฤษวัดสัมพันธวงศ์” เมื่อปี พ.ศ. 2443 เพื่อตอบสนองแผนการศึกษา พ.ศ. 2441 ซี่งเป็นแผนการศึกษาฉบับแรกของกระทรวงธรรมการ ที่ให้จัดการเรียนการศึกษาพิเศษ หรือ “อาชีวะศึกษา” แรกเริ่มเน้นการเรียนภาษาอังกฤษ ต่อมามีการพัฒนาหลักสูตรโดยเพิ่มวิชาเสมียนพนักงาน วิชาค้าขายและการบัญชี ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ย้ายสถานที่ไปที่วัดมหาพฤฒาราม และใช้ชื่อว่า “โรงเรียนพณิชยการวัดมหาพฤฒาราม” และได้ขยายการศึกษาเพิ่มเติมที่วัดราชบูรณะคือ “โรงเรียนพณิชยการวัดราชบูรณะ” และในปี พ.ศ. 2459 ได้มีการรวมโรงเรียนพณิชยการวัดมหาพฤฒาราม และ โรงเรียนพณิชยการวัดราชบูรณะ เป็น “โรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่าง” และจัดการเรียนการสอนที่ วัดแก้วฟ้าล่าง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2472 ได้ย้ายสถานที่เรียนจาก “วัดแก้วฟ้าล่าง” ไปที่ “วัดหัวลำโพง” และได้เพิ่มสถานที่เรียนใหม่ที่วัดสามพระยาคือ “โรงเรียนพณิชยการวัดสามพระยา”

ในปี พ.ศ. 2483 ได้รวมโรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่าง และ โรงเรียนพณิชยการวัดสามพระยา เป็น “โรงเรียนพณิชยการพระนคร” และได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ที่วังบูรพาภิรมณ์ และ พ.ศ. 2492 โรงเรียนพณิชยการพระนคร ได้ย้ายมาเปิดการสอนที่ วังนางเลิ้ง (วังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) จวบจนถึงปัจจุบัน

วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ปัจจุบันคือ ศูนย์พณิชยการพระนคร เป็นที่ตั้งของ คณะบริหารธุรกิจ และคณะศิลปศาสตร์

ศูนย์ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ แก้

ปี 2476 ได้ถือกำเนิดโรงเรียนวิชาชีพช่างตัดเสื้อเกิดขึ้นคือ “โรงเรียนช่างตัดเสื้อวัดสุทัศน์” เนื่องจากสมัยนั้นวิชาชีพช่างเสื้อมีแต่ชาวต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ กระทรวงธรรมการ เห็นควรเปิดโรงเรียนวิชาชีพช่างตัดเสื้อเกิดขึ้น โดยเปิดสอน วิชาช่างเย็บในระดับประถมศึกษา และวิชาช่างตัดในระดับมัธยมศึกษา และยังเปิดการศึกษาผู้ใหญ่ เพื่อให้บุคคลภายนอกที่มีความสนใจวิชาชีพดังกล่าว

พ.ศ. 2504 เนื่องจากโรงเรียนได้รับควานิยมเข้าเรียนมากขึ้น และสถานที่แออัด จึงย้ายโรงเรียนมาตั้งอยู่ที่ ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2504 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนช่างตัดพระนคร และต่อมาได้ยกสถานะเป็น วิทยาลัยชุมพรเขตอุมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2514 โดยเปิดสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และได้เปลี่ยนเป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และได้มีการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี เพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับผู้จบ ปวส. และพัฒนาวงการวิชาชีพการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ จนถึงปัจจุบัน วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ควบรวมเข้ากับศูนย์พณิชยการพระนคร เป็นที่ตั้งของ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น

พระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ แก้

พระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพณิชยการพระนครตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และยังถือเป็นประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจของชาวพณิชยการพระนครและเป็นสิริมงคลยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระมหากรุณา เสด็จฯ เป็นประธานในพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

วันอาภากร แก้

วันอาภากร ตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม ของทุกปี ชาวพณิชยการพระนครถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นวันคล้ายวันประสูติของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (พระนามเดิม คือ "พระองค์เจ้าอาภากรเกียร์ติวงศ์") ซึ่งตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 พณิชยการพระนคร เข้าตั้งหลักปักฐานอยู่ที่บริเวณวังของเสด็จพ่อ ตั้งแต่ พ.ศ. 2491 เป็นต้นมา หลังจากนั้นประมาณ 55 ปีต่อมา พ.ศ. 2513-2514 ร้อยเอกสุวิทย์ ทัดพิทักษ์กุล ศิษย์เก่าพณิชยการพระนคร รุ่น 2491 ในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าพณิชยการพระนคร และศาสตราจารย์ธรรมนูญ อัคคพาณิช (ผู้อำนวยการโรงเรียนพณิชยการพระนคร ในขณะนั้น) ได้ปรึกษาหารือกันว่า ที่ตั้งของพณิชยการพระนคร เคยเป็นที่ประทับของเสด็จพ่อมาก่อน และพระองค์ท่านก็ถือเป็นปูชนียบุคคล ที่ชาวไทยต่างยกย่องนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพณิชยการพระนครอีกด้วย จึงเห็นสมควรว่า ควรจัดสร้างพระอนุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้นประดิษฐานหน้าวิทยาเขตฯ ไว้เป็นอนุสรณ์ และยังเป็นวันที่คณาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ รวมไปถึงศิษย์เก่าร่วมใจกันประกอบพิธีทางศาสนา พิธีบวงสรวง เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้ให้สถานที่พักพิงและอาศัยวังนางเลิ้งก่อตั้งเป็น “พณิชยการพระนคร”

เรือนหมอพร แก้

เรือนหมอพร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ภายในจัดแสดงเครื่องใช้ประจำพระองค์และเครื่องมือแพทย์ และยังเป็นศูนย์วัฒนธรรมของวิทยาเขตพณิชยการพระนคร โดยที่ดินบริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นวังที่ประทับของ กรมหลวงชุมพรฯ เหตุที่ให้ชื่อเรือนหลังนี้ว่า “เรือนหมอพร” เพราะทางวิทยาเขตฯ เคยใช้เรือนหลังนี้เป็นเรือนพยาบาลมาก่อน ส่วนชื่อ “หมอพร” เป็นพระนาม กรมหลวงชุมพรฯ ในบทบาทที่เป็นหมอรักษาคนไข้

ศูนย์พระนครเหนือ แก้

วิทยาเขตพระนครเหนือ ปัจจุบันคือ ศูนย์พระนครเหนือ เป็นที่ตั้งของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิศวกรรมศาสตร์

พื้นที่จัดการศึกษา แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีพื้นที่จัดการศึกษา 5 แห่งคือ

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์โชติเวช
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์พณิชยการพระนคร
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์พระนครเหนือ

รายนามอธิการบดี แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รศ.ดวงสุดา เตโชติรส 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548[2] - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
รศ.จุฑามาศ พีรพัชระ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (รักษาราชการแทน)
รศ.ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (รักษาราชการแทน)
2. รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (รักษาราชการแทน)
1 ธันวาคม พ.ศ. 2557[3] - พ.ศ. 2563
ผศ.สหรัตน์ วงษ์ศีรษะ (รักษาราชการแทน) พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2564
3. ดร. ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล 17 มิถุนายน 2564 - 6 พฤศจิกายน 2564 (รักษาราชการแทน)

7 พฤศจิกายน 2564[4] - ปัจจุบัน

คณะ แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร แบ่งการจัดการเรียนการสอน ออกเป็น 9 คณะ ได้แก่

มหาวิทยาลัย แก้

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ในอันดับที่ 4,041 และอันดับที่ 33 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[5]

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัย แก้

ด้านวงการบันเทิง
ด้านกีฬา
ด้านบุคคลากรทางการศึกษา
ด้านการเมือง
ด้านศิลปินแห่งชาติ
ด้านธุรกิจ

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้