โรงเรียนวัดราชาธิวาส
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (ตุลาคม 2020) (Learn how and when to remove this template message) |
โรงเรียนวัดราชาธิวาส (อังกฤษ: Rajadhivas School) เป็นโรงเรียนสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมายาวนาน ตั้งอยู่ในพื้นที่ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ซึ่งเป็น พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เมื่อก่อนเป็นโรงเรียนชายล้วน จนถึง พ.ศ. 2538 เป็นโรงเรียน สหศึกษา ตั้งอยู่ที่ ซอยสามเสน 9 แขวง วชิรพยาบาล เขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โรงเรียนวัดราชาธิวาส | |
---|---|
ข้อมูล | |
คำขวัญ | สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ
(พวกเราพึงเคารพพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) |
ผู้ก่อตั้ง | พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ |
ผู้อำนวยการ | ราเมศ มุสิกานนท์ |
สี | ชมพูและน้ำเงิน |
เว็บไซต์ | www.rajadhivas.ac.th |
ประวัติโรงเรียนแก้ไข
โรงเรียนวัดราชาธิวาสสถาปนาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสขณะนั้น ในลักษณะอาคารเรียนชั่วคราวและได้มีการก่อสร้างเป็นอาคารเรียนถาวร ในลำดับต่อมา คือ ตึกไชยันต์ 2462 และตึกสามพี่น้อง โดยทุนทรัพย์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์พักตร์ ไชยันต์ ภายหลังได้งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการให้สร้างตึกวาสุกรี ตึกสมอรายขึ้นเพิ่มเติมและสร้างตึกสามพี่น้อง ตึกไชยันต์ของใหม่ แทนของเก่าที่ทรุดโทรม ปัจจุบันโรงเรียนวัดราชาธิวาสมี 4 อาคารเรียน โรงเรียนได้เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชายทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมาจนถึงปี พ.ศ. 2538 จึงได้เริ่มเปิดรับนักเรียนหญิงตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ [1]
อาคารเรียนแก้ไข
ตึกไชยันต์แก้ไข
อาคารรูปตัว L มีจำนวน 6 ชั้น
- ชั้น 1 ห้องพักทานข้าวครู ,โรงอาหาร
- ชั้น 2 ห้องผู้อำนวยการ, ห้องธุรการ, ห้องโสต (ห้องประชุม), ห้องเกียรติประวัติ (ห้องประชุม), ห้องเคมี
- ชั้น 3 ห้องพักครูสังคมและวัฒนธรรม , ห้องจริยธรรม
- ชั้น 4 ห้องพักครูภาษาต่างประเทศ, ห้องเรียนญี่ปุ่น, ห้องปฏิบัติการทางภาษา
- ชั้น 5 ห้องพักครูภาษาไทย
- ชั้น 6 ที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ พระนอนที่สวยที่สุดในโลกและคล้ายคนจริง โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบและหล่อ ณ ห้องกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (ห้องประชุม) , ห้องพักครูคณิตศาสตร์
ตึกสามพี่น้องแก้ไข
มีจำนวน 3 ชั้น เป็นตึกศิลปะและพละศึกษา (ชั้น 3 เป็นโรงยิม)
- ชั้น 1 ห้องประดิษฐ์ , ห้องโภชนาการ
- ชั้น 2 ห้องดนตรีไทย, ห้องดนตรีสากล, ห้องนาฏศิลป์, ห้องศิลปะ, ห้องโยธวาทิต, ห้องช่างไฟฟ้า
- ชั้น 3 โรงยิม เป็นสนามบาสในร่ม พื้นสนามยาง
- ยิมมวย อยู่ชั้น 1 เป็นเวทีมวย ใช้ในวิชามวยไทย ก่อตั้งในสมัย ผอ.อนันต์ ทรัพวารี โดยพิธีเปิดมี สมจิตร จงจอหอ และผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีชื่อเสียงมาร่วมพิธี และจัดการแข่งขันมวยสากลเป็นประจำทุกปี โดยมีครูประจำวิชาคือ อ.สุเทพ แก้วรัตน์ ซึ่งเป็นญาติของ สมจิตร จงจอหอ ภายหลังกลายมาเป็นสถานที่ฝึกซ้อมสำหรับนักมวยไทยอาชีพสังกัดค่ายศิษย์เทพประทาน
ตึกสมอรายแก้ไข
มีจำนวน 4 ชั้น ห้องปรับอากาศทั้งหมด
- ชั้น 1 ห้องยืดหยุ่น (ปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) ห้องยืดหยุ่นเดิมได้รับการปรับปรุงเป็นสำนักงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รวมถึงเปิดเป็นยิมมวยไทยในชื่อ "ราชายิม" เปิดสอนมวยไทยให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจ), ห้องบริการ, ห้องพยาบาล, ห้องแนะแนว, ห้องกัลปพฤกษ์ (ปัจจุบันเป็นสำนักงานศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนวัดราชาธิวาส)
- ชั้น 2 ห้องวิชาการ , ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ , ห้องการศึกษาพิเศษ
- ชั้น 3 ห้องคอมพิวเตอร์ , ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ
- ชั้น 4 ห้องเรียนปรับอากาศ, ห้องภาษาจีน
ตึกวาสุกรีแก้ไข
มีจำนวน 3 ชั้น เป็นตึกวิทย์
- ชั้น 1 ห้องคอม, ห้องสมุด, ห้องถ่ายเอกสาร
- ชั้น 2 ห้องชีววิทยา, ห้องฟิสิกส์
- ชั้น 3 ห้องพักครูวิทยาศาสตร์, ห้องชีววิทยา, ห้องฟิสิกส์
โดมลานสนามหน้าเสาธงแก้ไข
เป็นโดมหลังคาขนาดใหญ่ คุมพื้นที่ทั้งสนาม (สร้างขึ้นสมัย ผอ.อนันต์ ทรัพย์วารี) ใช้สำหรับที่เข้าแถวเคารพธงชาติตอนเช้า และยังเป็นลานอเนกประสงค์ใช้ในพิธีสำคัญต่าง ๆ
- ศาลาหกเหลี่ยม ประทับพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
โดมลานมะฮอกกานีแก้ไข
เป็นลานอเนกประสงค์มีเวทีใช้ในกิจกรรมต่างๆ , โรงอาหาร
- เรือนเกษตร เป็นที่เรียนวิชาเกษตรกรรม เพาะปลูก ของ อ.ปัทมา ภูมิน้ำเงิน
- ตึกไชยันต์2462 (จำลองโดยใช้โครงสร้างไม้) พิธีเปิด 9/9/2013 ตั้งอยู่บนเวทีเพื่อใช้เป็นฉากในพิธีสำคัญต่างๆ
- โรงอาหาร
เอกลักษณ์ของโรงเรียนวัดราชาธิวาสแก้ไข
- อักษรย่อ
- อักษรย่อ " ร.ว." ตราประจำโรงเรียน เป็นอักษร ร.ว. อยู่ในตราธรรมจักรมีอุณาโลมและรัศมีอยู่เบื้องบน ส่วนล่าง ของธรรมจักรมีคติธรรมคำว่า สทธมโม ครุกาตพโพ บนแถบแพรสบัดชาย
- สีประจำโรงเรียน
- สีชมพู ████สีชมพู เป็นสีประจำวันอังคาร ซึ่งเป็นวันประสูติของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หมายถึง ความลึกซึ้ง
- สีน้ำเงิน ████ สีน้ำเงิน หมายถึง เกียรติ หมายถึงพระมหากษัตริย์ คือ รัชกาลที่ 5
- สีชมพู-สีน้ำเงิน ████ หมายถึง ความคิดที่จะสร้างเกียรติตลอดกาล
- เอกลักษณ์
- "ลูกราชามีสัมมาคารวะ"
- คติพจน์
- "สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ - พึงเคารพพระสัทธรรม"
- คำขวัญ
- "เรียนเด่น เล่นดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม"
- เพลงประจำโรงเรียน
- มาร์ชชมพู - น้ำเงิน
- ต้นไม้ประจำโรงเรียน
เพลงประจำโรงเรียนแก้ไข
เนื้อเพลง มาร์ช ชมพู-น้ำเงิน เพลงประจำโรงเรียนวัดราชาธิวาสแก้ไข
* ชมพูน้ำเงิน ราชาธิวาส ยอดปรารถนา
ให้วิชา และความรู้หมู่เรา ทั้งหลาย
ให้แนวทาง เกียรติศักดิ์ ชาติชาย
ไว้ลาย พวกเรา ราชา
ฉะนั้นเรานักเรียน หมั่นเขียนอ่าน
ให้เชี่ยวให้ชาญ เฟื่องฟูปัญญา
ขยันเรียน หมั่นเพียร ทุกเวลา
ทั้งกีฬา ทั้งเรียน เพียรดี (ซ้ำ *)
เราคือชาวราชา (เราคือชาวราชา)
ชมพูน้ำเงิน (ชมพูน้ำเงิน)
เราเป็นชาวราชา เกริกเกียรติก้องฟ้า คือ "ราชา"
พวกเรา "ราชา" ทั่วหน้าชมพูน้ำเงิน เปรมปรีดิ์
นั่นน้องนี่พี่ แซ่ซร้องยินดี
ต่างมั่นในไมตรี ไม่มีเสื่อมคลาย
พวกเราราชา ทั่วหน้าชมพูน้ำเงิน เปรมปรีดิ์
นั่นน้องนี่พี่ ต่างล้วนมีไมตรี
ต่างรักสามัคคี ให้ชมพู-น้ำเงิน
เจริญ ไชโย-ไชโย
กิจกรรม-ประเพณีแก้ไข
- งานราตรีคืนสู่เหย้า หรืองานสถาปนาโรงเรียน จัดทุกวันที่ 11 ภุมภาพันธ์ ในทุกๆปี โดยจะจัดทำบุญประจำปี ณ ห้องกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ส่วนตอนกลางคืนเป็นงานราตรีคืนสู่เหย้า ณ สนามหน้าเสาธง
- งาน Open House แสดงผลผลิตนักเรียน จัดเป็นประจำทุกปีของเดือนกุมภาพันธ์ใกล้ๆวันสถาปนา
- งานมุทิตาจิต ประมาณเดือนมิถุนายน
- งานมุทิตาจิตครูเกษียณอายุราชการ ประมาณเดือนกันยายน
- กิจกรรมเลือกตั้งประธานนักเรียน โดยจะให้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แต่ละห้องลงประธานนักเรียน โดยจะเลือกประมานกลางเทอม 1
- งานกีฬาสี จะจัดเป็นประจำทุกๆปี เป็นการให้รุ่นพี่ทำกิจกรรมกับรุ่นน้อง โดยวิถีปฏิบัติกันมาคือ จะให้ ม.1 ของทุกปีขึ้นสแตนเชียร์ โดยแบ่งเป็นคณะดังนี้
- คณะไชยันต์ ██ สีเหลือง
- คณะนริศรา ██ สีชมพู
- คณะสมอราย ██ สีเขียว
- คณะสามพี่น้อง ██ สีแดง
- คณะวาสุกรี ██ สีฟ้า
- งานอาเซี่ยน โดยแบ่งเป็นกลุ่มสาระ สาระ ล่ะประเทศ ให้ครบ 10 ประเทศอาเซียน ให้ความรู้และจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีส่วนร่วมและต้อนรับสู่อาเซียน
ทำเนียบผู้บริหารแก้ไข
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | ครูใหญ่ปรุง | พ.ศ. 2447-2449 |
2 | ครูใหญ่รัตน์ | พ.ศ. 2449-2450 |
3 | ครูใหญ่พุก | พ.ศ. 2451-2452 |
4 | ครูใหญ่ทวี | พ.ศ. 2452-2453 |
5 | ครูใหญ่วารี | พ.ศ. 2453-2454 |
6 | ครูใหญ่เผื่อน | พ.ศ. 2453-2454 |
7 | ครูใหญ่เกิด | พ.ศ. 2454-2458 |
8 | ครูใหญ่พร | พ.ศ. 2458-2459 |
9 | ครูใหญ่ราชบุรุษตรี | พ.ศ. 2459 |
10 | ครูใหญ่เกิด(ขุนกุมาโรวาท) | พ.ศ. 2459 |
11 | ครูใหญ่แช่ม | พ.ศ. 2460-2462 |
12 | ครูใหญ่ขุนพิพัฒน์คุรุกิจ(แช่ม) | พ.ศ. 2462 |
13 | ครูใหญ่ทองคำ ภูจามร | พ.ศ. 2462-2463 |
14 | ครูใหญ่หลวงชาญพิทยกิจ | พ.ศ. 2463-2476 |
15 | ขุนวิรุฬจรรยา(จันทร์เงินมาก) (สมัย1) | พ.ศ. 2476-2487 |
16 | ครูใหญ่สุวรรณ เผือกใจแผ้ว | พ.ศ. 2487-2490 |
17 | ขุนวิรุฬจรรยา(จันทร์เงินมาก) (สมัย2) | พ.ศ. 2591-2503 |
18 | อาจารย์ถิ่น รัติกนก | พ.ศ. 2503-2507 |
19 | อาจารย์ใหญ่เรวัติ ชื่นสำราญ | พ.ศ. 2507-2508 |
20 | อาจารย์ใหญ่แสวง ตันบุญตั้ง | พ.ศ. 2508-2511 |
21 | อาจารย์ใหญ่ทองสุก เกตุโรจน์ | พ.ศ. 2511-2514 |
22 | ผอ.ว่าที่ ร.ต.จรัญ โสตถิพันธุ์ | พ.ศ. 2515-2519 |
23 | ผอ.สวัสดิ์ ปิ่นสุวรรณ | พ.ศ. 2519-2520 |
24 | ผอ.จรัญ ดาบโกไสย | พ.ศ. 2520-2521 |
25 | ผอ.ทิม ผลภาค | พ.ศ. 2521-2526 |
26 | ผอ.เจริญ วงศ์พันธ์ | พ.ศ. 2526-2531 |
27 | ผอ.ดุสิต พูนพอน | พ.ศ. 2531-2534 |
28 | ผอ.สุรินทร์ ต่อเนื่อง | พ.ศ. 2534-2537 |
29 | ผอ.ประวิทย์ พฤทธิกุล | พ.ศ. 2537-2538 |
30 | ผอ.อำนาจ ผิวขำ | พ.ศ. 2538-2542 |
31 | ผอ.นิรมล ธรรมอุปกรณ์ | พ.ศ. 2542-2545 |
32 | ผอ.สุธน คุ้มสลุด | พ.ศ. 2545-2549 |
33 | ผอ.เทพฤทธิ์ ศรีปัญญา | พ.ศ. 2549 |
34 | ผอ.อนันต์ ทรัพย์วารี | พ.ศ. 2549-2554 |
35 | ผอ.ไชยา กัญญาพันธุ์ | พ.ศ. 2554-2556 |
36 | ผอ.สมทบ โตสุรัตน์ | พ.ศ. 2556-2559 |
37 | ผอ.ชาญณรงค์ แก้วเล็ก | พ.ศ. 2559-2563 |
38 | ผอ.ราเมศ มุสิกานนท์ | พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน |
นักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงแก้ไข
การเมืองแก้ไข
- ประชุม รัตนเพียร (ร.ว.๒๖๒๘) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนดุสิตพณิชยการ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต หรืออาร์แบ็ค ในแวดวงกีฬาเคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ อาทิ นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย, นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
- สนั่น เกตุทัต ผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516
- วินัย เสนเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- วุฒิชัย กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ภีณวรรธน์ เพิ่มทวี (ร.ว.๑๘๒๗๒/ราชา๗๖) รองนายกเทศมนตรีตำบลท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ข้าราชการทหาร-ตำรวจแก้ไข
ทหารบกแก้ไข
- จอมพลประภาส จารุเสถียร (ร.ว.๑๐๘๗) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมตำรวจ และ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พลเอกเต็ม หอมเศรษฐี (ร.ว.๑๑๕๖)
- พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (ร.ว.๑๕๕๘)
- พลโท เทียบ กรมสุริยศักดิ์ (ร.ว.๒๐๘๓) อดีตแม่ทัพภาคที่ ๓
- พลตรีวรพิมพ์ ดิษยบุตร (ร.ว.๓๑๑๕) อดีต ผบ.พล ร.๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๓๐
- พลเอกนฤดล เดชประดิยุทธ (ร.ว.๓๑๗๔)
- พลเอกเสถียร เพิ่มทองอินทร์ (ร.ว.๗๒๐๓) อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
- พลเอกคณิต สาพิทักษ์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
- พลเอกวิสุทธิ นาเงิน เจ้ากรมเสมียนตรา พ.ศ. ๒๕๖๐
- พลเอกศุภฤกษ์ ไม้แก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๐
- พลเอกทรงพล ทองจีน อดีตรองแม่ทัพภาคที่ ๓ ถึงแก่กรรมขณะปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ตก
- พลโทสุภโชค สัมปัตตะวนิช อดีตรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- พลโทนิติพัฒน์ กฤดิสวนสมบัติ (ร.ว.๘๘๖๖/ราชา๖๗) เลขานุการมูลนิธิพิทักษ์ภูมิไทย และ อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด
- พลเอก ธิติชัย เทียนทอง รองเสนาธิการทหาร อดึตเจ้ากรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
- พลโท ธนวัฒน์ วุฑฒิชาติ (ร.ว.๙๘๗๘) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย ๒๕๖๑
- พลตรี อิธคม วงศ์กล่อม (ร.ว.๑๔๒๘๕ /ราชา๗๕) ผอ.สกบ.กบ.ทบ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
- พลตรี ธัชพล เปี่ยมวุฒิ(ราชา๗๕)เจ้ากรมจเรทหารบก
- พันเอกสกนธ์ เพชรทอง (ร.ว.๑๖๗๓๕/ราชา๗๕) รองผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ ๓
- พันเอกสิปปวัสน์ โมระกรานต์ (ร.ว.๒๓๙๒๕/ราชา๘๘) รองผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก
- พลโท ไพบูลย์ วรวรรณปรีชา รองผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร อดีตเจ้ากรมการ พลังงานทหาร
ทหารเรือแก้ไข
- พลเรือเอกยุทธนา ฟักผลงาม (ร.ว.๗๔๕๑) อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเรือโท สุพรรณ เหมมาลา (ร.ว.๘๖๖๓/ราชา๖๗)อดีตผู้อำนวยการการท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อดีตรองประธานกรรมการบริหารงานสโมสรราชนาวี
- พลเรือเอก สุชา เคี่ยมทองคำ (ราชา๗๐) ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ
- พลเรือโท นพรัตน์ เลิศล้ำ (ร.ว.๙๘๓๑/ราชา๗๐) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ อดีตรองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 นายกสมาคมนักเรียนเก่าราชาธิวาส (ปัจจุบัน)
- นาวาเอก เกียรติอนันต์ ถิ่นชัยภูมิ (ร.ว.๑๗๖๗๘/ราชา๗๙) ผู้อำนวยการโรงเรียนสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองวิทยาการสำนักสนับสนุนกรมการสื่อสารและสารสนเทศทหารเรือ
- นาวาเอก กฤษณ์ เคลือบมาศ (ร.ว.๑๖๒๙๘/ราชา๗๗) ผู้อำนวยการกองวิชาความมั่นคงและวิชาพิเศษ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
ทหารอากาศแก้ไข
- พลอากาศเอกศิริ เมืองมณี (ร.ว.๖๔๐) อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ พ.ศ. ๒๕๑๐
- พลอากาศเอกประพันธ์ ธูปเตมีย์ (ร.ว.๒๐๘๘) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศเอกพยิน สวัสดิบุตร (ร.ว.๒๑๔๕) อดีตประธานที่ปรึกษากองทัพอากาศ
- พลอากาศเอกปรีชา นนทรีย์ (ร.ว.๓๒๖๒) อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- พลอากาศเอกดุษฎี ประพัฒน์ทอง (ร.ว.๓๔๒๘) อดีตประธานที่ปรึกษากองทัพอากาศ
- พลอากาศเอกทองเลื่อน ประพัฒน์ทอง (ร.ว.๔๓๔๒) อดีตผู้บัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ
- พลอากาศเอกจีระศักดิ์ ภูวนารถนุรักษ์ (ร.ว.๔๓๘๙)
- พลอากาศโท ธาดา เคี่ยมทองคำ (ร.ว.๑๑๓๔๕/ราชา๗๒) ผู้อำนวยการสำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรกองทัพอากาศ
- พลอากาศตรี พิบูลย์ วรวรรณปรีชา (ร.ว.๑๔๒๔๕/ราชา๗๕) รองเจ้ากรมข่าวทหารอากาศ
ตำรวจแก้ไข
- พลตำรวจโทสันติ เพ็ญสูตร (ร.ว.๗๕๑๐) อดีตช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- พันตำรวจเอกศิริวัฒน์ ดีพอ ม.1 รุ่น 2528 รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบก.ปอท. )
ข้าราชการพลเรือนแก้ไข
- นายเจริญ ภมรบุตร (ร.ว.๔๙๗) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร,นครราชสีมา,พิษณุโลก
- นายชำนาญ ยุวบูรณ์ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง อดีตนายกสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานบริหารสามพราน ริเวอร์ไซด์ (สวนสามพราน)ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่๑กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ ๑๐๐ ปี ๘ เดือน
- นายอาชว์ เตาลานนท์ อดีตประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
- นายประถม เครือเพ่ง (ร.ว.๒๑๖๒) เพชฌฆาตกรมราชทัณฑ์
- นายบงการ ลิมปะพันธุ์ อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์
- นายเชาวเรศน์ จารุบุณย์ (ร.ว.๖๑๘๕) เพชฌฆาตคนสุดท้าย กรมราชทัณฑ์
- นายจุมพล สำเภาพล อดีตรองผู้ว่า กทม
- นายกระมล โอฬารวัต อดีตผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ
- นายสมชาย ณ นครพนม นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร
- นายสมควร อุ่มตระกูล อดีตผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
- นายสุธี ทองแย้ม (ร.ว.๑๗๕๒๙) ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ
- นายสุชาติ กัลยาวงศา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้
- นาย สุรพงศ์ ศิรินทราเวช (ราชา๖๙) รองผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
- นายวันชัย ถนอมศักดิ์ (ร.ว.๑๒๐๒๔/ราชา๖๙) อดีตรองปลัดกรุงเทพมหานคร,อดีตผู้อำนวยการสำนักงานตลาด พ.ศ. ๒๕๖๒
- นายชลิต วิเศษศิริ (ร.ว.๑๐๓๖๘/ราชา๗๐) นายอำเภอ อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
- นายธัญญา เนติธรรมกุล (ราชา๗๓) อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- นายกัฬชัย(วรศักดิ์) เทพวรชัย (ร.ว.๑๓๗๑๒ /ราชา๗๕) รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
- นายภาชน์ จารุภุมมิก (ร.ว.๑๔๕๗๕ /ราชา๗๕) ผู้ตรวจราชการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- นายคมสัน อภิพันธุ์ (ร.ว.๑๘๒๑๘ /ราชา๗๖)ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลแผนที่รูปแปลงที่ดิน กรมที่ดิน
การศึกษาแก้ไข
- นายเพี้ยน สุวรรณมาลิก (ร.ว.๕๑) นักการศึกษา,เจ้าของโรงเรียนนันทนศึกษา
- รศ.มณฑล สงวนเสริมศรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
- ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ระพี ลีละสิริ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์ (ร.ว.๑๑๖๐๓/ราชา๗๒)ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- นายชลัท ทิพย์ลมัย (ร.ว.๑๔๘๘๒/ราชา๗๒) ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ นนทบุรี
- นายไพฑูรย์ จารุสาร (ร.ว.๑๓๕๖๒/ราชา๗๔) ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง (ร.ว.๑๔๔๒๔/ราชา๗๕)สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวีเดช ศิริธนาพิพัฒน์ (ร.ว.๑๗๖๒๔/ราชา๗๙) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศิลปินแห่งชาติแก้ไข
- สมบูรณ์สุข นิยมศิริ (เปี๊ยก โปสเตอร์) (ร.ว.๒๗๒๙) ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยชื่อดัง
- สติ สติฐิต(เนรัญชรา) (ร.ว.๓๒๗๕) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์เพลงไทยสากล)
สื่อสารมวลชนแก้ไข
- เสาว์ บุญเสนอ (ร.ว.๑๐๑) เจ้าของนามปากกา ส.บุญเสนอ,นักประพันธ์ บรรณาธิการหนังสือ เพลินจิตต์ ประมวลวัญ และ ประมวลสาร (๓ พ.ค.๒๔๕๒-๒๖ ธ.ค.๒๕๔๔)
- ประยูร จรรยาวงศ์ (ร.ว.๑๒๘๕) นักเขียนภาพล้อ,นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์
- เผด็จ ภูรีปฏิภาณ- พญาไม้ (ร.ว.๔๔๓๙) นักหนังสือพิมพ์, คอลัมนิสต์
- เรือเอก ตะวัน ทักษณา (ราชา๕๖) เจ้าของนามปากกา ภาณุมาศ ทักษณา นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์, คอลัมนิสต์, บรรณาธิการบริหารสื่อหลายฉบับ
- วีรศักดิ์ นิลกลัด ผู้ประกาศข่าวกีฬา
วงการบันเทิงแก้ไข
- นาวาอากาศเอกเพิ่ม หงสกุล (ร.ว.๑๓๑๐) นักประพันธ์ นักแสดง ผู้กำกับการแสดง บิดาของอาภัสรา หงสกุล อดีตนางงามจักรวาล
- ชลิต สุเสวี (ร.ว.๑๙๙๗) พระเอกภาพยนตร์เรื่องสาวเครือฟ้า คู่กับ วิไลวรรณ วัฒนพานิช และ ภาพยนตร์ไทยอีกหลายเรื่อง
- ประพนธ์ สุนทรจามร (ร.ว.๒๒๖๘) นักร้อง ผลงานเพลงอมตะ บุพเพสันนิวาส
- สมบูรณ์สุข นิยมศิริ (เปี๊ยก โปสเตอร์) (ร.ว.๒๗๒๙) ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยชื่อดัง
- สติ สติฐิต (เนรัญชรา) (ร.ว.๓๒๗๕) นักแต่งเพลง เจ้าของผลงานเพลงอมตะ และ เพลงที่ได้รับรางวัลมากมาย ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่ขับร้องโดยสุเทพ วงศ์กำแหง
- อภิชาติ โพธิ์ไพโรจน์ (ร.ว.๕๖๑๙) ผู้กำกับการแสดง เคยได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์ทรัชเคนท์ รัสเซีย ,นักแสดง,นักประพันธ์,นักหนังสือพิมพ์
- ไกรสีห์ แก้ววิมล นักแสดงประกอบ บทบาทเด่นคือ มหาอำมาตย์จากละครจักรๆวงศ์ๆ
- วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมจีน
- ภิญโญ ปานนุ้ย นักแสดงภาพยนตร์ รางวัลตุ๊กตาทอง นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. ๒๕๒๔ จากเรื่อง "เงาะป่า"
- วิทยา อัมภสุวรรณ์ พระเอกตลอดกาล ละครวิทยุคณะเกศทิพย์
- วงศกร รัศมิทัต (ร.ว.๙๙๗๕) หรือ ต้น แมคอินทอช อดีตนักร้องนำวงแมคอินทอช ที่มีความสามารถในการตีกลอง เคยแสดงนำในภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง ต่อมาทำงานเบื้องหลังวงดนตรีต่างๆทั้งมิกซ์เสียง และเรียบเรียงเสียงประสาน
- ประเทือง อุดมกิจจาสุภาพ มือเบส วงชาตรี
- ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง (แท่ง) นักแสดง นักร้อง พิธีกร
- อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต (โจอี้ บอย) แร็ปเปอร์ไทยที่โด่งดังและได้รับการยอมรับในฝีมือมากคนหนึ่งของเมืองไทย, นักแสดง, นักแต่งเพลง
- พิเชษฐ์ไชย ผลดี (ตั้น) นักแสดง
- กฤษฎา ทิพย์ประสิทธิ์ (มาดามกอล์ฟ) ออแกไนซ์เซอร์ชื่อดัง และ เป็นผู้จัดการส่วนตัวให้กับนายแบบ/นางแบบ และ ผู้ร่วมจัดงาน Elite Model Look Thailand
- ธีรวัฒน์ อรัณยะนาค (ร.ว.๒๒๒๑๕/ราชา๘๑)
วงการนางงามแก้ไข
- ญาดา เทพนม มิสแกรนด์ไทยแลนด์ คนแรกของประเทศไทย ปี ๒๕๕๖
การแพทย์-สาธารณะสุขแก้ไข
- นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
กฎหมายแก้ไข
- นายใจเด็ด พรไชยา อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อดีตรองอัยการสูงสุด
- นายชเนศ เลิศวณิช อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายการไฟฟ้านครหลวง
- ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายก สภาทนายความ (ประเทศไทย)
- นายพรชัย มนัสศิริเพ็ญ (ร.ว.๑๐๓๔๐/ราชา๖๗) ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครองสูงสุด
- นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล (ร.ว.๙๘๘๖/ราชา๗๐) ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- นายมีชัย เกิดวิบูลย์เวช(ร.ว.๑๗๕๙๐/ราชา๗๕) อัยการผู้เช่ยวชาญพิเศษ (ข้าราชการอัยการชั้น๖) สานักงานคดีศาลแขวง
- นายอติคุณ(สุรพล) พ่วงพร้อม (ร.ว.๑๘๓๑๘/ราชา๗๕) อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด(ข้าราชการอัยการชั้น๔) สำนักงานอัยการจังหวัดนาทวี
- นายสกุลยุช หอพิบูลสุข (ร.ว.๑๗๖๒๙/ ราชา๗๙)อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
การระหว่างประเทศแก้ไข
- นายรัฐกิจ มานะทัต อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน , สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ,สมาพันธรัฐสวิส , ประเทศตุรกี และตุลาการศาลปกครองสูงสุด
- นายสมศักดิ์ สุริยะวงศ์ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา,กรุงปารีส
- นายพลเดช วรฉัตร อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา
กีฬาแก้ไข
- พันเอกอนุ รมยานนท์ (ร.ว.๑๗๖๖) อดีตนายกสมาคมกีฬาหลายสมาคม เช่น ฟุตบอล, รักบี้, กรีฑา, มวยสากลสมัครเล่น ฯลฯ
- นายภักดี ง้วนพันธุ์ (ร.ว.๔๓๕๑) อดีตนักยูโดทีมชาติ รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง กีฬาแหลมทอง SEAP GAMES
- นายนิยม ประเสริฐสม (ร.ว.๔๔๑๖) อดีตนักมวยสมัครเล่นทีมชาติ เคยเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โตเกียว
- นายสมศักดิ์ เกี่ยวสาน อดีตโค้ชจักรยานทีมชาติไทย
- นายอนุชัย โชติพันธุ์ ประธานอนุกรรมการกีฬาดาบไทย สมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชาญชัย สุขสุวรรณ์ นายกสมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย
ทั่วไปแก้ไข
- นายสนอง ฐิตะปุระ (ร.ว.๒๙๔) นักประดิษฐ์ ผู้สร้างเรือหางยาวลำแรกของโลก
- พันเอก ขุนแผน กระหม่อมทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทขนส่งจำกัด
- นายทนง โชติสรยุทธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ๒๕๓๐-๒๕๖๑
- นายทวีวัฒน์ มงคลอดิสัย (ร.ว.๘๕๘๐/ราชา๖๗) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวีมงคลก่อสร้าง (2000) จำกัด Best of Year Awards 2019
- ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ราชา๖๙)
- ดร.วิศรุต ขันธิกุล (ร.ว.๑๑๔๗๗ /ราชา๗๒) ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนองค์กร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ)เป็นผู้บริหารที่ไม่ได้เป็นทหารเพียงคนเดียว
- นายประเวช องอาจสิทธิกุล กรรมการที่ปรึกษาการลงทุน สภากาชาดไทย, ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, อดีตผู้จัดการใหญ่ธนาคารแห่งอเมริกา สาขาประเทศไทย
- นายเกรียงไกร ศรีอนันต์รักษา (ร.ว.๑๘๒๑๗/ราชา๗๖) กรรมการผู้จัดการ บริษัท iSoftel
- นายราชิต รักษาสัตย์ (ร.ว.๑๕๒๗๐/ราชา๗๖) ผู้จัดการฝ่ายบริหารจัดการทรัพย์สินและวิศวกรรม บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนวัดราชาธิวาส. "ประวัติโรงเรียนวัดราชาธิวาส". สืบค้นเมื่อ 6 August 2015.