สถานีรถไฟจิตรลดา

สถานีรถไฟจิตรลดา หรือ สถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา เป็นสถานีที่สร้างขึ้น สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อมีการเสด็จฯ ทางรถไฟ[1] อีกทั้งได้เคยใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะในบางโอกาส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสวนจิตรลดา ถนนสวรรคโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของทางรถไฟ

สถานีรถไฟจิตรลดา
สถานีรถไฟชั้นพิเศษ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา
ที่ตั้งสวนจิตรลดา ถนนสวรรคโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′59″N 100°31′28″E / 13.76648°N 100.52452°E / 13.76648; 100.52452
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา1
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลาชั้นพิเศษ (เขตพระราชฐาน)
รูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารก่ออิฐฉาบปูนชั้นเดียว
ข้อมูลอื่น
สถานะใช้เฉพาะราชวงศ์
รหัสสถานี1003 (จล.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการพ.ศ. 2442
สร้างใหม่29 ธันวาคม พ.ศ. 2462 (104 ปี)
ผู้โดยสาร
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
จิตรลดา
Chit Lada
กิโลเมตรที่ 3.29
ยมราช
Yommaraj
–1.12 กม.
โรงพยาบาลรามาธิบดี
Ramathibodhi Hospital
+0.17 กม.
อรุพงษ์
Urupong
–1.00 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง

ถัดไปทางเหนือสถานีมีที่หยุดรถไฟโรงพยาบาลรามาธิบดี สำหรับผู้โดยสารรถไฟชานเมือง

ประวัติ

แก้

สถานีรถไฟจิตรลดา เป็นสถานีสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวุงศ์เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานที่ประทับไปยังสถานีต่างๆ โดยสถานีรถไฟจิตรลดาในปัจจุบันนั้นสร้างขึ้นมาแทนสถานีรถไฟหลวง (สามเสน) ที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2442 ตั้งอยู่ริมคลองสามเสนฝั่งทางใต้ โดยกรมรถไฟได้สร้างสถานีรถไฟสวนจิตรลดาบนพื้นที่ใหม่ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต และอยู่ทางด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟหลวง (สามเสน)

อาคารสถานีรถไฟจิตรลดาได้รับการออกแบบโดยนายมารีโอ ตามัญโญ (Mr. Mario Tamagno) สถาปนิกชาวอิตาลี เริ่มการออกแบบใน พ.ศ. 2458 ก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 และมีพิธีเปิดใช้อาคารอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2462

สำหรับอาคารสถานีรถไฟหลวง (สามเสน) กรมรถไฟได้รื้อและได้นำโครงสร้างและส่วนประกอบของหลังคาคลุมชานชาลาไปปลูกที่สถานีรถไฟปากน้ำโพจนกระทั่งถูกวาตภัยพัดเสียหายเมื่อ พ.ศ. 2532 ส่วนอาคารสถานีทรงปั้นหยาได้นำไปปลูกเป็นห้องสมุดในบริเวณกรมรถไฟหลังจากนั้นได้ถูกทำลายไปพร้อมกับการทิ้งระเบิดในย่านสถานีกรุงเทพในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา[2]

สถาปัตยกรรม

แก้
สถานีรถไฟหลวง (สามเสน)
แก้

อาคารเป็นไม้ผังพื้นอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ส่วนอาคารสถานีทรงปั้นหยา
  2. ส่วนชานชาลา และคลังคาคลุมชานชลา

ซึ่งแต่ละส่วนมีหลังคาคลุมของตนเอง

สถานีรถไฟจิตรลดา
แก้

อาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวผังพื้นอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาว แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. มุขทางเข้าเป็นมุขยื่นตรงกึ่งกลางอาคารสำหรับเทียบรถยนต์พระที่นั่ง
  2. โถงมุขกลาง อาคารเป็นโถงโล่งภายในและโถงพักคอยติดกับชานชาลา โดยผนังอาคารด้านที่หันหน้าสู่ถนนสวรรคโลกเป็นผนังก่อทึบ ส่วนด้านที่หันไปทางรางรถไฟเปิดโล่งตลอดแนวขนานไปกับรางรถไฟ
  3. หลังคามุขทางเข้า และโถงพักคอยเป็นหลังคาคอนกรีตแบนมีชายคายื่นคลุมรอบอาคาร ส่วนหลังคาเหนือโถงมุขกลางเป็นหลังคาโดมมีช่องหน้าต่างสำหรับให้แสงส่องเข้าไปที่โถงด้านล่าง ภายในโถงมุขกลางมีเพดานเป็นโดมอีกชั้นหนึ่งโดยมีการเขียนลวดลายตกแต่งสวยงาม[2]

วโรกาสที่ใช้

แก้

แม้ว่าปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จพระราชดำเนินโดยทางคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ทางถนน หรือทางอากาศ เป็นหลัก ไม่มีการเสด็จโดยขบวนรถไฟมากเหมือนอย่างในอดีต แต่สถานีนี้ยังคงมีโอกาสใช้งานสนองพระราชกรณียกิจหลายครั้ง เช่น

สำหรับพระราชอาคันตุกะที่ได้รับการต้อนรับที่สถานีรถไฟจิตรลดา เช่น สมเด็จพระนโรดม สีหนุแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา, สมเด็จพระเจ้าเฟรดดริคที่ 9 แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก และ ซูการ์โน ประธานาธิบดีประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2487, 12 มกราคม พ.ศ. 2502 และ 16 เมษายน พ.ศ. 2504 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสามครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินต้อนรับพระราชอาคันตุกะด้วยพระองค์เอง

อ้างอิง

แก้
  1. "คำถวายชัยมงคล สำหรับเมืองนครลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
  2. 2.0 2.1 การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟในฐานะมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย (2014). "อาคารสถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา" (PDF). rotfaithai.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก พระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบัน หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับกาญจนาภิเษก