สัปปายะสภาสถาน

สัปปายะสภาสถาน เป็นอาคารรัฐสภาที่จะใช้แทนอาคารรัฐสภาเดิมบริเวณข้างสวนสัตว์ดุสิต โดยอาคารแห่งใหม่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของสี่แยกเกียกกาย ระหว่างถนนทหารกับถนนสามเสน ในพื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง[2] ด้วยมีพื้นที่ใช้สอย 424,000 ตารางเมตร ทำให้เมื่อก่อสร้างเสร็จ สัปปายะสภาสถานจะเป็นอาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนที่อาคารรัฐสภาแห่งโรมาเนีย ซึ่งมีพื้นที่ในอาคาร 365,000 ตารางเมตร และเป็นอาคารของรัฐที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยจะเป็นรองเพียงอาคารเดอะเพนตากอนในสหรัฐที่มีพื้นที่ 600,000 ตารางเมตรเท่านั้น[4]

สัปปายะสภาสถาน
Thai parliament.jpg
ภาพมุมกว้างของสัปปายะสภาสถาน
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
ประเภทรัฐสภา
สถาปัตยกรรมแบบพุทธ
ที่อยู่1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
ลงเสาเข็ม8 มิถุนายน พ.ศ. 2556[1][2]
เปิดใช้งาน1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ค่าก่อสร้าง22,987 ล้านบาท
ลูกค้ารัฐสภาไทย (พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน)
ความสูง134.56 เมตร
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่แต่ละชั้น424,000 ตร.ม.[3]
พื้นที่ชั้นล่าง119.6 ไร่
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกธีรพล นิยม (ในชื่อ สงบ ๑๐๕๑)
ผู้รับเหมาก่อสร้างซิโน-ไทย
ข้อมูลอื่น
ที่จอดรถ2,069 คัน[3]
เว็บไซต์
parliament.go.th/

โครงการเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยมีการจัดการประกวดแบบ และได้ผู้ชนะออกแบบคือสถาปนิก ธีรพล นิยม และทีมงานภายใต้ชื่อ สงบ ๑๐๕๑ และได้มีการทำสัญญาก่อสร้างเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 โดย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาหลัก โครงการได้เริ่มวางเสาเข็มตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเดิมต้องแล้วเสร็จภายใน 900 วัน (ประมาณ 2 ปีครึ่ง) แต่มีการขยายสัญญาหลายรอบ โดยสัญญาล่าสุดมีกำหนดการส่งงานภายใน 2,764 วัน[4] ซึ่งปัจจุบันยังคงก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ

การพัฒนาโครงการก่อสร้างแก้ไข

โครงการก่อสร้างเริ่มต้นหลังจากที่มีการประกวดแบบชนะโดยทีม สงบ ๑๐๕๑ โดยสถาปนิก 5 ท่านภายใต้ชื่อคณะ ประกอบด้วย ธีรพล นิยม, เอนก เจริญพิริยะเวศ, ชาตรี ลดาลลิตสกุล และ ปิยเมศ ไกรฤกษ์[5] ได้ออกแบบอาคารในรูปแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังจากนั้นได้เริ่มก่อสร้างโดยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)ในฐานะผู้รับเหมาหลัก โดยสัญญาก่อสร้าง เริ่มต้นในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556 ในวงเงินงบประมาณ 12,280,000,000 บาท และเวลาก่อสร้างตามสัญญา 900 วัน

ที่ปรึกษาโครงการในนามมีนิติบุคคลร่วมทำงาน CAMA ประกอบด้วย

และผู้ควบคุมงานก่อสร้างในนาม นิติบุคคลร่วมทำงาน ATTA ประกอบด้วย

แนวคิดการออกแบบแก้ไข

ที่มาแก้ไข

อาคารรัฐสภาไทยได้เปลี่ยนสถานที่มาแล้วกว่า 2 ครั้ง สถานที่แรกคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งใช้มาตั้งแต่หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 จนในปี พ.ศ. 2517 จึงได้ย้ายไปที่อาคารรัฐสภาแห่งที่ 2 บริเวณข้างสวนสัตว์ดุสิต (สวนสัตว์เขาดิน) แต่เนื่องจากสถานที่ที่เริ่มคับแคบลงเมื่อจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร, สมาชิกวุฒิสภา และข้าราชการเพิ่มขึ้น ทำให้ทางรัฐสภาได้แก้ปัญหาโดยการเช่าพื้นที่บางส่วน จนต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จึงเริ่มมีแนวคิดในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

 
เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ยืนรักษาการณ์ระหว่างการชุมนุมบริเวณลานประชาชน หน้าอาคารสัปปายะสภาสถาน

ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการประชุมจัดหาสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยมีสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน และได้พิจารณาพื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณที่ดินราชพัสดุถนนทหาร (เกียกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต, ที่ดินบริเวณคลังเชื้อเพลิง แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร และที่ดินราชพัสดุกองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จนมีมติให้ใช้ที่ดินราชพัสดุถนนทหาร (เกี่ยกกาย) เป็นสถานที่ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในที่สุด[6]

สัปปายะสภาสถานมีพื้นที่ดิน 119.6 ไร่ มีพื้นที่ใช้สอยในอาคาร 424,000 ตารางเมตร[3] มีพื้นที่สีเขียวรวม 115,529 ตารางเมตร[7] โดยใช้งบประมาณทั้งหมดราว 22,987 ล้านบาท[7] มีความสูงจากฐานถึงยอดเจดีย์พระสุเมรุ 134.56 เมตร ภายในประกอบด้วยส่วนห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ประชุม ห้องสัมมนา สโมสรจัดเลี้ยง ห้องทำงาน สส. และ สว.[8]

ที่มาของมีการระบุว่า "สัปปายะสภาสถาน" หมายถึง สภาที่มีแต่ความสงบร่มเย็นสบาย[9]

แนวคิดและเทคโนโลยีแก้ไข

สถาปนิกได้ออกแบบนำเสนอคติและสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของไทยในอดีตผสมผสานไปกับเทคโนโลยีการก่อสร้าง ระบบโครงสร้างทางสังคม และระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขในปัจจุบัน ผ่านทางรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่บนพื้นฐานทางภาษาและฉันทลักษณ์ตามอย่างสถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี[10] ตามคติไตรภูมิที่นอกจากจะแสดงเอกลักษณ์ทางจิตวิญญาณถึงความเป็นไทย ยังมีความหมายเพื่อให้บุคคลที่เข้ามาอยู่ในสภาสำนึกถึงบาปบุญคุณโทษ[8]

นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดของ "สถาปัตยกรรมสีเขียว" (Green Architecture) ซึ่งเห็นได้จากการปลูกต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบอาคาร ในขณะเดียวกัน ก็มีการวิจารณ์ถึงความเหมาะสม จากการใช้ไม้สักจำนวนกว่า 5,000 ท่อน ซึ่งจะนำมาจากกรมอุตสาหกรรมป่าไม้ มาใช้ทำเสาประดับรอบอาคาร และฝ้าประดับห้องประชุมใหญ่ทั้งสอง รวมถึงการใช้ไฟฟ้าของอาคารเมื่อเปิดทำการ ที่มีความต้องการไฟฟ้าเทียบเท่ากับอำเภอถึงสองอำเภอ

งานสถาปัตยกรรม และการออกแบบแก้ไข

การประกวดแบบแก้ไข

โครงการรัฐสภาแห่งใหม่เป็นการประกวดแบบครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศนับตั้งแต่การประกวดแบบสนามบินสุวรรณภูมิ ชิงเงินรางวัลชนะเลิศการประกวดแบบสูงถึง 200 ล้านบาท[11] มีผู้ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 133 ราย[12] และผ่านเข้าในรอบสุดท้ายทั้งหมด 5 ราย ได้แก่

โดยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ก็ได้มีการตัดสินคัดเลือกแบบของธีรพล นิยม โดยมีกรรมการ 12 คนประกอบไปด้วย สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ด้านสถาปัตยกรรมสถาน สภาวิศวกรรม และศิลปินแห่งชาติ พิจารณาการประกวดโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

การออกแบบแก้ไข

สัปปายะสภาสถาน ใช้เวลาออกแบบพร้อมเขียนแบบก่อสร้างเพียง 7 เดือน ซึ่งใช้สถาปนิก ทุกภาควิชากว่า 200 คน รวมถึงวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญแขนงงานต่าง ๆ จากองค์กรต่าง ๆ มากกว่า 20 องค์กร โดยต้องทำแบบก่อสร้างกว่า 6,000 หน้า และ รายการประกอบแบบกว่า 1 หมื่นแผ่น[ต้องการอ้างอิง]

ในส่วนงานสถาปัตยกรรมไทยได้ รศ. ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี และเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ซึ่งต่างเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทย ร่วมให้คำแนะนำและออกแบบ[ต้องการอ้างอิง]

ในด้านงานภูมิสถาปัตยกรรมทั้ง ท่าเรือ ลานประชาธิปไตย สวนภายนอก สนามรัฐสภา ลานประชาชน ออกแบบหลักโดย ปิยเมศ ไกรฤกษ์ จาก บลูแพลนเนตดีไซน์ อินเตอร์เนชั่นแนล[13]

การก่อสร้างแก้ไข

 
สัปปายะสภาสถาน ถ่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2562

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553[14][15] และลงเสาเข็มในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556[1] โดยมีบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง จากสัญญาการว่าจ้าง บริษัทต้องสร้างให้เสร็จภายใน 900 วัน หรือสิ้นสุดลงในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 แต่สุดท้ายก็ไม่เสร็จทันกำหนด จนต้องเลื่อนออกไปจนถึงปัจจุบัน[4] ส่วนปัญหาที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าอ้างจาก นายจเร พันธ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และวิศวกร ว่าเป็นเพราะการส่งมอบพื้นที่ไม่เป็นไปตามสัญญา-พื้นที่บางส่วนยังไม่ได้รับมอบคืนจากหน่วยงานเดิม การขนย้ายดินออกจากพื้นที่ก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผน และปัญหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554[16]

การใช้งานแก้ไข

สัปปายะสภาสถาน สร้างบนพื้นที่ขนาด 123 ไร่[17] มีเนื้อที่กว่า 424,000 ตารางเมตร โดยใช้งบประมาณทั้งหมดราว 12,000 ล้านบาท สามารถรองรับผู้คนได้มากกว่า 5 พันคน รองรับการจอดรถได้มากกว่า 2 พันคัน[ต้องการอ้างอิง] ภายในอาคารประกอบไปด้วย โถงรับรอง ส.ส. และ ส.ว., ห้องประชุมของ ส.ส. หรือที่เรียกว่า "ห้องพระสุริยัน", ห้องประชุม ส.ว. หรือที่เรียกว่า "ห้องพระจันทรา", โถงรัฐพิธี, พิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตย, ห้องอาหาร ส.ส., ห้องอาหาร ส.ว.[18] ในส่วนของดาดฟ้าอาคาร ประกอบด้วยกำแพงแก้วล้อมรอบส่วนเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ชาติไทย[18]

กระแสวิจารณ์แก้ไข

การออกแบบแก้ไข

สัปปายะสภาสถาน ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งการวิจารณ์ว่าออกแบบที่เหมือน "วัด"[19][12] จากมุมมองสถาปนิก รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้ออกมาวิจารณ์ว่า "ใช้ความหมายเดิม ๆ ศีลธรรมเป็นเรื่องจอมปลอม ไม่คำนึงถึงปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาของสังคม และการใช้งานไม่เอื้อให้เป็นพื้นที่ของประชาชนอย่างแท้จริง" และกล่าวเสริมต่อว่า "การใช้แนวคิดด้านพระพุทธศาสนามากเกินไปจนไม่มีมุมมองด้านประชาธิปไตยและการออกแบบที่ยังคงยวนอยู่ในกรอบของภาษาความเป็นไทยทางสถาปัตยกรรมที่ตื้นเขินและไม่มีอยู่จริง"[20][21] รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิจารณ์ว่าการออกแบบสัปปายะสภาสถานไม่มีการยึดโยงกับประชาชน และให้ความรู้สึกเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่าทำให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย[22]

นอกจากนี้ในช่วงก่อนการเลือกแบบได้มีการตั้งกระทู้ในเว็บไซต์พันทิปดอดคอม ในการโหวต 5 แบบสุดท้าย จากผู้โหวตทั้งหมด 168 คน ผลปรากฏว่าเสียงโหวตส่วนใหญ่ตกไปที่แบบที่ 5 ของ ผศ.วิเชษฎ์ สุวิสิทฐ์ ในขณะที่แบบของทีมสงบอยู่ในอันดับที่ 2[23]

รวมถึงการวิจารณ์ถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการก่อสร้างซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง

การเวนคืนที่ดินแก้ไข

มีการเวนคืนที่ดินส่วนของ ชุมชนตระกูลดิษฐ์ ซึ่งมีประชากร 40 ครอบครัว โดยในเวลาต่อมารัฐสภาได้ทำข้อตกลงกับชาวบ้าน และทำการสร้างบ้านทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น บริเวณพื้นที่ราชพัสดุ บริเวณแผนก ซ่อมบำรุงเรือ กองร้อยขนส่งเรือ (ฝั่งวัดแก้วฟ้าจุฬามณี) เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของแผนกซ่อมบำรุง กองร้อยขนส่งเรือ[24]

ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า มีจำนวนประชากร 93 ครอบครัว ทางรัฐสภาได้ทำข้อตกลงคล้ายกับชุมชนตระกูลดิษฐ์ โดยจะไปปลูกสร้างในพื้นที่แผนกซ่อมบำรุงเรือกองร้อยขนส่งเรือ (ฝั่งวัดแก้วฟ้าจุฬามณี) โดยจะแบ่งพื้นที่ให้ครอบครัวละ 12 ตารางวา[24]

มีการรื้ออาคารเรียนอายุกว่า 80 ปี ของโรงเรียนโยธินบูรณะออกทั้งหมดเพื่อใช้ก่อสร้างอาคารรัฐสภา โดยในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นวันเปิดเทอมวันแรกของปีการศึกษา ได้มีพิธีส่งมอบพื้นที่โรงเรียนโยธินบูรณะเดิมให้กับสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยโรงเรียนโยธินบูรณะได้ย้ายไปสร้างใหม่บนถนนประชาราษฎร์สาย 1[25]

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 ส่อง"อาคารรัฐสภาใหม่"ติดปัญหาเดิม รื้อย้ายได้แค่จิ๊บจ๊อย ไซต์ก่อสร้างดีเลย์ส่อเสร็จไม่ทันปี"58. ประชาชาติ. วันที่ 28 ก.พ. 2557.
  2. 2.0 2.1 "การก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่เริ่มวางเสาเข็มอาคารแล้ว". ข่าวรัฐสภา. 23 สิงหาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 ไขปมรัฐสภาใหม่ พื้นที่จอดรถ ล่องหน-ต่ำเกณฑ์ ประชาชาติธุรกิจ. 26 มีนาคม 2561]
  4. 4.0 4.1 4.2 "ล้วงสถิติ 'มหากาพย์' รัฐสภาใหม่ 'สัปปายะสภาสถาน'". วอยซ์ทีวี. 27 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2019.
  5. ประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ผลการประกวดการออกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ขั้นตอนที่ ๒ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 2 ธ.ค. 2552.
  6. ความเป็นมาของโครงการ. โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่. รัฐสภาไทย. 2 กันยายน 2554.
  7. 7.0 7.1 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เมษายน 2554
  8. 8.0 8.1 ถอดรหัสสถาปนิกการเมือง สร้างสัปปายะสภาสถาน, สมาคมสถาปนิกสยาม. 22 สิงหาคม 2553. เก็บถาวร 16 ตุลาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. ฮวงจุ้ยรัฐสภาใหม่ จะพาไทยพ้นวิกฤติ. ไทยรัฐ. 4 ธันวาคม 2552.
  10. คติ และ สัญลักษณ์ ในการออกแบบสถาปัตยกรรมของสัปปายะสภาสถาน, มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา. พ.ศ. 2556.
  11. 5 บิ๊กสถาปนิกเข้ารอบสุดท้ายออกแบบรัฐสภาใหม่ ลุ้นชิงดำรับเงิน 200 ล้าน. ประชาชาติธุรกิจ. 25 สิงหาคม 2552.
  12. 12.0 12.1 ไขคำตอบ รัฐสภาใหม่ ‘สัปปายะสภาสถาน’ ออกแบบคล้ายวัด ช่วยลดโกงจริงหรือ?. อิศรานิวส์. 6 พฤษภาคม 2559.
  13. โครงการสัมนาเชิงวิชาการ เปิดโลกสู่ศตวรรษที่ 21 กับสถาปัตยกรรม ปีที่ 4 ครั้งที่ 2 สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง – คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (rmutr.ac.th).
  14. ประธานรัฐสภาถือฤกษ์ 08.39 น. ตอกเสาเข็มสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่. มติชน. 27 กรกฎาคม 2556.
  15. "iCONS : โรดแมปหมื่นล้าน สัปปายะสภาสถาน". ไอคอนส์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016.
  16. เปิดรายงาน “มหาดไทย” เทียบคำพูด “จเร”ไฉน“รัฐสภาใหม่”สร้างช้านับปี?. อิศรานิวส์. 20 มิถุนายน 2558.
  17. รัฐสภาแห่งใหม่ มหากาพย์ที่ยังไม่สิ้นสุด. สำนักข่าวไทย. 27 กรกฎาคม 2015.
  18. 18.0 18.1 สัปปายะสภาสถาน รัฐสภาใหม่ วิดีทัศน์แนะนำโครงการ. 11 กันยายน 2011. – ทางยูทูบ.
  19. "สัปปายะสภาสถาน...ที่นี่ มณฑลศักดิ์สิทธิ์ ?!?". ผู้จัดการรายวัน. 9 ธันวาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2016.
  20. สัมภาษณ์ ชาตรี ประกิตนนทการ: แบบรัฐสภาใหม่ ความหมายเดิม ๆ . สัมภาษณ์โดย ภฤศ ปฐมทัศน์. ประชาไท. 13 ธันวาคม 2009.
  21. ประชาธิปไตยที่ตีนเขา (พระสุเมรุ). ชาตรี ประกิตนนทการ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2559.
  22. "สัปปายะสภาสถาน: รัฐสภาแห่งใหม่และความหมายที่สูญหายของประชาชน".
  23. มาโหวตแบบรัฐสภาใหม่ที่เข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายกันครับ. พันทิป. 27 พฤศจิกายน 2552.
  24. 24.0 24.1 การเตรียมการ. โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่. รัฐสภาไทย. 2 กันยายน 2554.
  25. เด็กโยธินบูรณะยังอาลัยร.ร.เก่าแม้ที่ใหม่สวยงาม. คมชัดลึก. 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°47′45″N 100°31′03″E / 13.795815°N 100.517437°E / 13.795815; 100.517437