สถานีบางอ้อ (อังกฤษ: Bang O Station, รหัส BL08) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ ในเส้นทาง รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยสถานีจะยกระดับเหนือถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 88 ในพื้นที่แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร สถานีบางอ้อเป็นสถานีสุดท้ายของฝั่งธนบุรี ก่อนจะข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฝั่งพระนครที่สถานีบางโพ ในทางกลับกัน สำหรับรถไฟปลายทางสถานีท่าพระ สถานีบางอ้อเป็นสถานีแรกของฝั่งธนบุรีหลังจากรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาแล้ว

บางอ้อ
BL08

Bang O
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°47′56″N 100°30′35″E / 13.7989°N 100.5097°E / 13.7989; 100.5097
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย     สายสีน้ำเงิน
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL08
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ4 ธันวาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-12-04)[1]
ผู้โดยสาร
2564861,738
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
บางโพ
มุ่งหน้า หลักสอง ผ่าน บางซื่อ
สายสีน้ำเงิน บางพลัด
มุ่งหน้า ท่าพระ
ที่ตั้ง
แผนที่
สัปปายะสภาสถานมองจากชานชาลาสถานี

สถานีบางอ้อเปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในฐานะสถานีทดลองระบบ โดยให้บริการในช่วงเวลา 10:00 ถึง 16:00 น.[2] ต่อมาจึงได้ขยายเวลาให้บริการเป็น 06:00 ถึง 24:00 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[3]

ที่ตั้ง แก้

ถนนจรัญสนิทวงศ์บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 88 ในพื้นที่แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ตัวสถานีตั้งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลยันฮี

แผนผังสถานี แก้

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย  
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย  
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนจรัญสนิทวงศ์, เขตบางพลัด

รายละเอียดสถานี แก้

สัญลักษณ์ของสถานี แก้

 
ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่าง ๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ชานชาลาแต่ละฝั่งมีจอโทรทัศน์บอกเวลารอรถไฟและปลายทางของแต่ละฝั่ง ส่วนหลังคาใช้สีเทาเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีรายทาง และหลังคาส่วนเหนือรางรถไฟช่วงกลางสถานีเป็นหลังคากระจก ทำให้ในเวลากลางวันชั้นชานชาลาจะมีความโปร่งและสว่างเนื่องจากแสงแดงสามารถส่องลงมายังพื้นชานชาลาได้

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นสถานีลอยฟ้า เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform)

ทางเข้า-ออกสถานี แก้

รายชื่อทางเข้า–ออกของสถานีบางอ้อ
หมายเลข สิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ใกล้เคียง
ลิฟต์   บันได บันไดเลื่อน
1       ซอยจรัญสนิทวงศ์ 86/2, ศูนย์บริการสาธารณสุข 31, มัสยิดบางอ้อ
2       ซอยจรัญสนิทวงศ์ 85, วัดสามัคคีสุทธาวาส, อาคารชุดเดอะ ทรี ริโอ้
3       (ขึ้น) ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2, บางอ้อโฮมทาวน์
4       (ขึ้น) ซอยจรัญสนิทวงศ์ 90, โรงพยาบาลยันฮี

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี แก้

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • 3 ชั้นชานชาลา (Platform level)
  • 2 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร, เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • 1 ชั้นระดับถนน (Ground level)

ข้อมูลการให้บริการ แก้

ความถี่ขบวนรถ แก้

ช่วงทดลองให้บริการรถไฟมีความถี่ 8-10 นาทีต่อขบวน[4]

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[5]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:51 23:26
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:56 23:26
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง - 23:17
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ จันทร์ - ศุกร์ 05:55 00:11
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:55 00:11

รถโดยสารประจำทาง แก้

ถนนจรัญสนิทวงศ์ แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
18 (2) ตลาดท่าอิฐ   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
18 (2-3)   ตลาดท่าอิฐ   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
110 (2-35)   ประชานิเวศน์ 3 เทเวศร์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
110 (2-35) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
170 (4-49)   บรมราชชชนี (สน.คู่ขนานลอยฟ้า)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
175 (2-22)   ท่าน้ำนนทบุรี ถนนตก
203 ท่าอิฐ สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีส้ม
2.รถโดยสารประจำทางสีชมพู
บจก.บางกอก 118
203 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีเหลือง
4.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กสีฟ้า
  • ถนนจรัญสนิทวงศ์ : สาย 18 110 203 2-22(175) 4-49(170) กะป๊อเขียว MRT บางอ้อ - ชัยพฤกษ์ (ปัจจุบันกะป๊อไปไม่ถึงสายใต้ใหม่แล้ว)[6]
  • ถนนบางกรวย : กะป๊อเขียว วัดจันทบางกรวย - ใต้สะพานกรุงธน สองแถว 1010 บางกรวย - วัดปากน้ำ สองแถวเขียว มจพ - โลตัสนครอินทร์ (รถจะเขียนว่า”พระคุณพ่อพระคุณแม่”[7]) รถสองแถวสีส้ม 6162 วัดชลอ - ท่าน้ำนนท์ [8]

อ้างอิง แก้

  1. Sriyananda Selley, Dhipkawee. "MRT Blue Line extension through Chinatown to launch free test rides in July". BK. Asia City Online. สืบค้นเมื่อ 15 August 2019.
  2. "เฮ!…นั่งฟรี 4 สถานีMRTส่วนต่อขยาย บางโพ-บางอ้อ-บางพลัด-สิรินธร เริ่ม 4 ธ.ค.นี้". matichon.co.th. 30 พฤศจิกายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน "เตาปูน-ท่าพระ" เริ่มวิ่ง 6 โมงเช้า-เที่ยงคืน นั่งฟรี 8 สถานี". .prachachat.net. 15 กุมภาพันธ์ 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "MRT เปิดทดลองฟรี! 4สถานี 4ธันวา". mrta.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  6. "BKK BUS Photographer". www.facebook.com (ภาษาอังกฤษ).
  7. "สองแถวจากแถวท่าน้ำนนท์ไปบางกรวยต้องขึ้นตรงไหนคะ (หรือไม่มี)". Pantip.
  8. "สองแถวสีส้ม สาย 6162 (วัดชลอ - ท่าน้ำนนท์) Songthaew 6162 (WAT Chalo - Nonthaburi pier)". สองแถวสีส้ม สาย 6162 (วัดชลอ - ท่าน้ำนนท์) Songthaew 6162 (WAT Chalo - Nonthaburi pier).