ตำรวจรัฐสภา

ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา

ตำรวจรัฐสภา (อังกฤษ: Parliamentary Police) เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สังกัดสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายและรักษาความปลอดภัยต่อบุคคลและทรัพย์สินต่าง ๆ ในบริเวณรัฐสภา

ตำรวจรัฐสภา
Parliamentary Police
ตราตำรวจรัฐสภา
ตรารัฐสภา
ชื่อทางการเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา
คำขวัญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ[1]
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้งพ.ศ. 2476
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการรัฐสภาไทย
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่สำนักรักษาความปลอดภัย
1111 ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

หน่วยงานปกครองสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ตำรวจรัฐสภายืนรักษาการณ์หน้าอาคารรัฐสภาไทย ระหว่างการเสวนา วาระแรกประชาชนปักหมุด "ปลดอาวุธ คสช." โดยผู้ที่ถูก คสช. คุกคาม

ตำรวจรัฐสภานั้นเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาภายในบริเวณของรัฐสภา[2][3] แต่ไม่ใช่ข้าราชการตำรวจที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[4] ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 แต่อย่างใด[5]

ประวัติ แก้

ตำรวจรัฐสภาในประเทศไทย เริ่มต้นมาจากภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยในปี พ.ศ. 2476 ได้มีประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พุทธศักราช 2476 ให้เพิ่ม กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่เป็นเลขาธิการให้กับสภาผู้แทนราษฎร[6] และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หลังการประกาศใช้ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2476

จากนั้นตำรวจรัฐสภาได้ปรากฏขึ้นครั้งแรก ในพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2476 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองปฏิคม ในแผนกรักษาสถานที่และตำรวจสภา[7] ในปี พ.ศ. 2491 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น แผนกตรวจรัฐสภา[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ ทำให้ตำรวจรัฐสภาย้ายไปอยู่ภายใต้กองกลาง ในชื่อแผนกตำรวจสภาผู้แทนราษฎร[9] และ พ.ศ. 2503 ย้ายไปอยู่ในกองปฏิคมและสถานที่ในชื่อ แผนกตำรวจสภา[10]

ในปี พ.ศ. 2541 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฝ่ายรักษาความปลอดภัย อยู่ภายใต้กองสถานที่[11] และได้ยกขึ้นเป็นสำนักรักษาความปลอดภัย ตามประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2545[12]

ภารกิจ แก้

ตำรวจรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่รักษาความปลอดภัย และดูแลความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณรัฐสภา[13][14][15] ทั้งการอารักขาบุคคลสำคัญ และการดูแลความปลอดภัยอาคารและสถานที่[16][17] สามารถตรวจค้น สืบสวนสอบสวนได้ภายในพื้นที่ของรัฐสภา[18] เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนระเบียบที่ส่งผลกระทบถึงความปลอดภัยโดยรวมภายในรัฐสภา[19] และจะสามารถเข้าไปในบริเวณห้องประชุมสภาได้เมื่อได้รับคำสั่งจากประธานรัฐสภา[20] เพื่อดำเนินการตามที่ประธานสภาได้ออกคำสั่ง อาทิ การเชิญตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจากห้องประชุมเนี่องจากขัดคำสั่งของประธานรัฐสภา[21] การเข้าควบคุมสถานการณ์การขัดขวางการทำงานของประธานสภาผู้แทนราษฎร[22] ซึ่งหลายครั้งตำรวจรัฐสภาต้องปฏิบัติงานภายใต้ความกดดันที่สูงมาก[23]

นอกจากนี้ตำรวจรัฐสภาจะมีอำนาจหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้มาติดต่อราชการ[24] จัดการและควบคุมการจราจร รวมถึงการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในบริเวณรัฐสภา[25] และมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ อาทิ การควบคุมฝูงชน[26][27] การเตรียมพร้อมเผชิญเหตุต่าง ๆ และในบางครั้งตำรวจรัฐสภาสามารถใช้อำนาจเต็มในการดูแลพื้นที่รัฐสภาเพียงหน่วยงานเดียว[28] หรือร้องขอกำลังจากหน่วยงานอื่น ๆ[29][30] เข้ามาเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ภายใต้ดุลยพินิจที่เหมาะสมกับสถานการณ์

ตำแหน่ง แก้

ประเภทตำแหน่ง แก้

สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภานั้น จะประดับเครื่องหมายยศคล้ายคลึงกับตำรวจทั่วไป[31] แต่ปัจจุบันใช้ระบบยศตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งของคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) คล้ายคลึงกับระบบของข้าราชการพลเรือน ประกอบไปด้วย

ตำแหน่งประเภททั่วไป[32]

  • ระดับปฏิบัติงาน
  • ระดับชำนาญงาน
  • ระดับอาวุโส

ตำแหน่งประเภทวิชาการ[33]

  • ระดับปฏิบัติการ
  • ระดับชำนาญการ
  • ระดับชำนาญการพิเศษ
  • ระดับเชี่ยวชาญ

การประดับเครื่องหมายระดับ แก้

เครื่องหมายระดับของตำรวจรัฐสภานั้น จะใช้เครื่องหมายลักษณะเดียวกับตำรวจไทยทั่วไป แต่จะแตกต่างในเรื่องของรายละเอียดประเภทตำแหน่งและหลักเกณฑ์ในการประดับ[34]

ประเภททั่วไป แก้

                 
ตำแหน่ง ระดับทักษะพิเศษ - ระดับอาวุโส ระดับชำนาญงาน
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 8 ปีขึ้นไป 4 ปี แต่ไม่ถึง 8 ปี ไม่ถึง 4 ปี - - 2 ปีขึ้นไป ไม่ถึง 2 ปี 4 ปีขึ้นไป 2 ปี แต่ไม่ถึง 4 ปี
Anglicised version Highly Skilled Level - Senior Level Experienced Level

เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาระดับปฏิบัติงาน

  • ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติงานไม่ถึง 2 ปี ให้ใช้รูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 1 ดาว
  • ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี ให้ใช้รูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 2 ดาว
  • ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติงานตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป ใช้รูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 3 ดาว

เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาระดับชำนาญงาน ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงินติดกึ่งกลาง

  • ดำรงตำแหน่งชำนาญงานไม่ถึง 2 ปี ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 1 ดาว
  • ดำรงตำแหน่งชำนาญงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 2 ดาว

ระดับอาวุโส

  • ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน 3 ดาว

ระดับทักษะพิเศษ ให้ใช้เครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีติดกับรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงิน ติดกึ่งกลางระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์

  • ดำรงตำแหน่งทักษะพิเศษไม่ถึง 4 ปี ให้มีเครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีและมีช่อชัยพฤกษ์ทำด้วยโลหะสีเงินโค้งเข้าหาส่วนล่างของพระมหามงกุฎทั้งสองข้าง ประกอบด้วยรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงินจำนวน 2 ดาว ติดกึ่งกลางระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์
  • ดำรงตำแหน่งระดับทักษะพิเศษตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8 ปี ให้มีเครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีและมีช่อชัยพฤกษ์ทำด้วยโลหะสีเงินโค้งเข้าหาส่วนล่างของพระมหามงกุฎทั้งสองข้าง ประกอบด้วยรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงินจำนวน 3 ดาว ติดกึ่งกลางระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์
  • ดำรงตำแหน่งระดับทักษะพิเศษตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป ให้มีเครื่องหมายรูปพระมหามงกุฎมีรัศมีและมีช่อชัยพฤกษ์ทำด้วยโลหะสีเงินโค้งเข้าหาส่วนล่างของพระมหามงกุฎทั้งสองข้าง ประกอบด้วยรูปดาว 8 แฉก ทำด้วยโลหะสีเงินจำนวน 4 ดาว ติดกึ่งกลางระหว่างพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์

ประเภทวิชาการ แก้

ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงปรับปรุงระเบียบเพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่ง เนื่องจากยังไม่มีระเบียบการประดับเครื่องหมายระดับรองรับที่ชัดเจน จึงใช้การเทียบเคียงกับตำแหน่งประเภททั่วไปเป็นการชั่วคราว

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ข้อความจากตราหน้าหมวก เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ประกาศประธานรัฐสภา ว่าด้วยเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา พ.ศ. 2556 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "โฆษก สนง.เลขาธิการสภา แจงไม่จับกุม 'ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์' เมื่อปี 62 เนื่องจากไม่มีคำสั่งศาล และอยู่นอกอำนาจตำรวจรัฐสภา". prachatai.com.
  3. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554. เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 128 ตอนที่ 43 ก, วันที่ 11 พฤษภาคม 2554, หน้า 5
  4. "ชี้ 8 แนวทางปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ยัน "ผลชันสูตร-สำนวนคดี" ไม่ใช่ความลับ". mgronline.com. 2022-03-23.
  5. "ตำรวจรัฐสภา". mgronline.com. 2012-06-25.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2476 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม 50 วันที่ 19 พฤษจิกายน 2476 หน้า 639-640
  7. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2476 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม 50 วันที่ 30 มกราคม 2476 หน้า 930-932
  8. "ประวัติ หน้า 1". www.parliament.go.th.
  9. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2495 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ตอนที่ 9 เล่มที่ 69 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2495 หน้า 95-97
  10. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2503 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ฉบับพิเศษ เล่มที่ 77 ตอนที่ 64 วันที่ 1 สิงหาคม 2503 หน้าที่ 1-4
  11. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538[ลิงก์เสีย]. เล่มที่ 115 ตอนที่ 46 ง วันที่ 9 มิถุนายน 2541 หน้า 107
  12. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม 120 ตอนพิเศษ 132 ง วันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 หน้า 61-66
  13. 7 (2020-11-17). "ระวังเรือเป็ดม็อบล่ม กรมเจ้าท่า เตือน น้ำเชี่ยวคลื่นแรง ฝ่าไม่ไหว". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  14. "'ลูกนัท'โผล่ม็อบ'ไทยไม่ทน-ทะลุฟ้า'บุกสภาฯ จัดอภิปรายฯคู่ขนานแบบกร่อยๆ". www.naewna.com. 2021-09-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "ไทม์ไลน์ ตร.สภา ปะทะผู้ติดตาม "ธรรมนัส" ขณะ "ชวน" ข้องใจ ทำไม ตร.ต้องขอโทษ". www.thairath.co.th. 2021-06-02.
  16. "ตำรวจรัฐสภาตรวจเข้มสิ่งแปลกปลอม-วัตถุต้องสงสัยบริเวณอาคารรัฐสภาแห่งใหม่". สยามรัฐ. 2019-08-05.
  17. 45 (2021-03-25). "อีกแล้ว! ส.ส.รัฐบาล ลักไก่ แอบนำรถหรูชาร์จไฟสภาฟรี แฉไม่ใช่ครั้งแรก". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  18. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศรัฐสภา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายใน และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2563 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 296 ง วันที่ 18 ธันวาคม 2563 หน้า 72-74
  19. 18 (2019-12-11). "มงคลกิตติ์ งานเข้า! ตร.รับดำเนินคดีความมั่นคง หลังนำสารก่อระเบิดเข้าสภา". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  20. Ltd.Thailand, VOICE TV. "ทำความรู้จักตำรวจรัฐสภา". VoiceTV.
  21. "สภาเดือด!ขุนค้อนสั่งตร.เชิญสส.พ้นห้องประชุม". www.posttoday.com. 2013-08-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. "ลาก-ทุ่มเก้าอี้ วัดชีพจร ย้อนดู ปชป.ในสภา หลัง 'ไตรรงค์' อัดฝ่ายค้านนับองค์ประชุม จนสภาล่ม เป็นวิธีที่ป่าเถื่อน". prachatai.com.
  23. "รัฐบาลอาจอยู่ไม่ครบวาระ นายกฯ มีสิทธิยุบสภา". สำนักข่าวไทย อสมท. 2021-06-08.
  24. "ทนายตั้มพา'ลุงพล-ป้าแต๋น'บุกสภา ร้อง'สิระ'ปมถูกออกหมายจับ". dailynews. 2021-06-09.
  25. "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - ข้อแตกต่างระหว่าง ตำรวจรัฐสภา ตำรวจศาล และข้าราชการตำรวจ | Facebook". www.facebook.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. "ตร.รัฐสภาฝึกเตรียมความพร้อมควบคุมม็อบ". คมชัดลึกออนไลน์. 2013-08-03.
  27. โครงการฝึกอบรม หลักสูตร "การพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา" ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา เก็บถาวร 2021-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (senate.go.th)
  28. "ม็อบเสื้อเหลืองถึงสภาแล้ว ตำรวจปิดถนนวางแบริเออร์-ลวดหนาม รถฉีดน้ำก็มาแต่เช้า". www.sanook.com/news.
  29. "'ชวน'กำชับเข้ม!มาตรการรักษาความปลอดภัย'รัฐสภา'เกียกกาย". www.naewna.com. 2019-08-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. matichon (2020-10-15). "เปิดภาพทหารใส่ชุดพรางเดินพรึบเต็มสภา ส.ส.ก้าวไกล ข้องใจ มาทำไม สภาไร้วี่แววผู้ชุมนุม". มติชนออนไลน์.
  31. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ. พระราชบัญญัติยศตำรวจรัฐสภา พ.ศ. 2512.[ลิงก์เสีย] เล่มที่ 86 ตอนที่ 85, วันที่ 1 ตุลาคม 2512 หน้า 1-4
  32. "ปฏิบัติงานตำรวจรัฐสภา". www.parliament.go.th.
  33. "ตำรวจรัฐสภา". www.parliament.go.th.
  34. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศประธานรัฐสภา ว่าด้วยเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา พ.ศ. 2556 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 117 ง วันที่ 13 กันยายน 2556 หน้า 16-28