สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

หน่วยงานของรัฐไทย

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (อังกฤษ: The Secretariat of The House of Representatives) หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายธุรการให้แก่สภาผู้แทนราษฎร

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
The Secretariat of The House of Representatives

ตรารัฐสภา
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
สำนักงานใหญ่1111 ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ว่าที่ร้อยตำรวจตรี อาพัทธ์ สุขะนันท์[1], เลขาธิการ
  • นายคุณวุฒิ ตันตระกูล, รองเลขาธิการ
  • นายสุชาติ โรจน์ทองคำ, รองเลขาธิการ
  • นางสาวโสมอุษา บูรณะเหตุ, รองเลขาธิการ
  • นายสาธิต ประเสริฐศักดิ์, รองเลขาธิการ
  • นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดหน่วยงานรัฐสภา

ประวัติ

แก้

หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ผู้แทนราษฎรชั่วคราวที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะราษฎรได้ประชุมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม บริเวณห้องโถงชั้นบน เป็นที่ประชุมชั่วคราว มีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายพลตรี พระยาอินทรวิชิต เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ขออนุมัติต่อที่ประชุมให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการประจำของสภาผู้แทนราษฎร จึงนับได้ว่าเป็นการสถาปนาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขึ้น โดยมีหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก[2]

ลำดับความเป็นมา

แก้

ลำดับความเป็นมาของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

13 พฤศจิกายน 2476   - กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
9 ธันวาคม 2476   - สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
2484   - สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
2489   - สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
2490   - สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
2495   - สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
2511   - สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
2535 - ปัจจุบัน   แบ่งเป็น 2 สำนักงาน คือ

- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โครงสร้าง

แก้

โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แบ่งเป็น 23 สำนัก 3 กลุ่มงาน 1 กลุ่ม ประกอบไปด้วย[3]

  • สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
  • สำนักบริหารงานกลาง
  • สำนักพัฒนาบุคลากร
  • สำนักการคลังและงบประมาณ
  • สำนักการพิมพ์
  • สำนักรักษาความปลอดภัย
  • สำนักประชาสัมพันธ์
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
  • สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
  • สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • สำนักวิชาการ
  • สำนักสารสนเทศ
  • สำนักการประชุม
  • สำนักกฎหมาย
  • สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
  • สำนักกรรมาธิการ 1
  • สำนักกรรมาธิการ 2
  • สำนักกรรมาธิการ 3
  • สำนักภาษาต่างประเทศ
  • สำนักนโยบายและแผน
  • สำนักบริการทางการแพทย์ประจำรัฐสภา
  • สำนักงบประมาณของรัฐสภา

กลุ่มงานขึ้นตรง ต่อเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มงานประธานรัฐสภา
  • กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

รายนามเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

แก้

รายนามเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรนั้น จะแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ใช้ชื่อ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปลี่ยนไปใช้ชื่อเลขาธิการรัฐสภา และกลับมาใช้ชื่อเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเช่นเดิม ประกอบไปด้วย[4]

ลำดับที่ รูปภาพ ชื่อ ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1   หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) 28 มิถุนายน 2475 - 11 เมษายน 2476
2   หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) 10 ธันวาคม 2476 - 10 สิงหาคม 2484
3   ทองเปลว ชลภูมิ 8 พฤศจิกายน 2484 - 30 มิถุนายน 2486
4   จิตตะเสน ปัญจะ 30 มิถุนายน 2486 - 16 สิงหาคม 2486
5   เจริญ ปัณฑโร 16 สิงหาคม 2486 - 17 ตุลาคม 2503
6
(1)
  ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ 20 ธันวาคม 2503 - 17 กันยายน 2511
2511 - 2535 ยุบตำแหน่ง (เลขาธิการรัฐสภา ทำหน้าที่แทน)
13
(2)
  ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล 12 กันยายน 2535 - 30 กันยายน 2541
14   ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ 1 ตุลาคม 2541 - 12 กุมภาพันธ์ 2546
15   พิทูร พุ่มหิรัญ 13 กุมภาพันธ์ 2546 - 30 กันยายน 2555
16   สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย 1 ตุลาคม 2555 - 10 มิถุนายน 2557
17   จเร พันธุ์เปรื่อง 27 มิถุนายน 2557 - 15 ตุลาคม 2558
18   สายทิพย์ เชาวลิตถวิล 23 พฤศจิกายน 2558 - 30 กันยายน 2559
19   สรศักดิ์ เพียรเวช 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2563
20   พรพิศ เพชรเจริญ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2566
21   ว่าที่ร้อยตำรวจตรี

อาพัทธ์ สุขะนันท์

1 ตุลาคม 2566 - ปัจจุบัน

รายนามเลขาธิการรัฐสภา

แก้
ลำดับที่ รูปภาพ ชื่อ ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
6
(2)
  ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ 18 กันยายน 2511 - 30 กันยายน 2514
7   ประสิทธิ์ ศรีสุชาติ 1 ตุลาคม 2514 - 30 กันยายน 2518
8   พันเอก สงวน คำวงษา 1 ตุลาคม 2518 - 30 กันยายน 2524
9   พลตรี กระวี สุทัศน์ ณ อยุธยา 1 ตุลาคม 2524 - 31 ธันวาคม 2526
10   ร้อยตรี ปณิธาน เลิศฤทธิ์ 25 มกราคม 2527 - 30 กันยายน 2527
11   บังอร อิ่มโอชา 1 ตุลาคม 2527 - 30 กันยายน 2529
12   ประเสริฐ ดวงวิชัย 1 ตุลาคม 2529 - 30 กันยายน 2533
13
(1)
  ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล 1 ตุลาคม 2533 - 11 กันยายน 2535

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้