สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา (อังกฤษ: Thai Parliament Radio) เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงของประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐสภากับประชาชน ดำเนินการโดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีภารกิจหลักในการถ่ายทอดเสียง การประชุมร่วมกันของรัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการประชุมวุฒิสภา รวมถึงรายงานข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของรัฐสภา เผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไป รวมถึงรายการสาระประโยชน์ต่างๆ และรายการส่งเสริมความรู้ด้านประชาธิปไตย ออกอากาศในช่วงนอกเหนือจากการประชุมสภาฯ
สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา | |
---|---|
พื้นที่กระจายเสียง | ประเทศไทย |
ความถี่ | เอฟเอ็ม 87.5 เมกะเฮิรตซ์ (กรุงเทพมหานคร) เอเอ็ม 1071 กิโลเฮิรตซ์ |
สัญลักษณ์ | (อดีต) วิทยุรัฐสภา สื่อพัฒนา ประชาธิปไตย (ปัจจุบัน) วิทยุรัฐสภา สื่อกลางการมีส่วนร่วมการเมืองไทย |
แบบรายการ | |
ภาษา | ภาษาไทย |
รูปแบบ | กระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐสภากับประชาชน |
การเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ไม่มี (เจ้าของสถานีฯ ดำเนินการเอง)) |
ผู้ประกอบธุรกิจ | ว่าที่ร้อยตำรวจตรี อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สุพรรณี ชีวะไทย ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา ชลัยยกร ศิวะเสน ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง |
ประวัติ | |
เริ่มกระจายเสียง | 18 เมษายน พ.ศ. 2537 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ภาคเอเอ็ม) | (ภาคเอฟเอ็ม)
ข้อมูลทางเทคนิค | |
พิกัดสถานีส่ง | อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | https://www.tpchannel.org/radio/ |
สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ส่งกระจายเสียงด้วยระบบเอฟเอ็มที่ความถี่ 87.5 เมกะเฮิรตซ์ และระบบ เอเอ็มที่ความถี่ 1071 กิโลเฮิรตซ์ โดยระบบเอฟเอ็มเปิดดำเนินการทดลองออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2537 ก่อนจะเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเมือวันที่ 1 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน และระบบเอเอ็มเปิดดำเนินการกระจายเสียงครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประวัติ
แก้สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาได้มีการจัดตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2532 ตามคำสั่งรัฐสภา ที่ 8/2532 ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเตรียมการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐสภา โดยได้รับจัดสรรงบประมาณตั้งต้น จำนวน 10,485,200 ล้านบาท เปิดดำเนินการทดลองออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 เมษายน - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เป็นเวลา 6 เดือน โดยระยะแรกออกอากาศตั้งแต่เวลา 06:00-09:00 น. ซึ่งมีเพียงการเปิดเพลง สลับกับรายงานข่าว บทความ สรุปการประชุมคณะกรรมาธิการ และการถ่ายทอดข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ก่อนจะเริ่มออกอากาศอย่างถาวร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน โดยส่งกระจายเสียงตั้งแต่เวลา 06:00-20:00 น. โดยเริ่มมีการถ่ายทอดเสียงการประชุมรัฐสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และการประชุมร่วมกันทั้งสองสภา นำเสนอร่วมกับข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงรัฐสภา[1]
ในปี พ.ศ. 2547 เพิ่มเวลาการกระจายเสียงอีก 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 05:00-22:00 น. โดยเพิ่มรายการศาสนาและรายการเสริมสร้างความรู้ประชาธิปไตยสำหรับเยาวชน [1]
สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาในระบบเอเอ็ม ซึ่งทางกรมไปรษณีย์โทรเลข (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในปัจจุบัน) ได้จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุเอเอ็มให้กับทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ตามแผนจัดสรรความถี่วิทยุกระจายเสียง ระบบเอ.เอ็ม.แห่งชาติ ไว้ที่ 1071 กิโลเฮิรตซ์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 [2]เพื่อขยายช่องทางการรับฟังให้มีความครอบคลุมพื้นที่การรับฟังให้กว้างขึ้น นอกเหนือจากพื้นที่การรับฟังของสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ภาคเอฟเอ็มเดิมซึ่งมีสถานีแม่ข่ายอยู่ที่กรุงเทพมหานครและเครือข่ายในภูมิภาคอีก 14 จังหวัด รวมถึงเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ฟังที่ประสบปัญหาจากการถูกคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนที่ส่งสัญญาณรบกวน ในระหว่างการรับฟังการถ่ายทอดเสียงการประชุมสภาฯ และรายการอื่นๆ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา โดยสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ภาคเอเอ็มเปิดดำเนินการกระจายเสียงครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ อาคารเครื่องส่ง สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร [1] โดยออกอากาศใช้ผังรายการเดียวกันกับภาคเอฟเอ็มทุกประการ
สถานีเครือข่าย
แก้สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ส่งกระจายเสียงจากห้องส่งอาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และส่งสัญญาณไปยังสถานีส่งภาคเอฟเอ็ม ตั้งอยู่ ณ ซอยพระราม 6 30 (อารีย์สัมพันธ์) ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และส่งสัญญาณในภาคเอเอ็ม จากอาคารเครื่องส่ง สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ยังมีสถานีเครือข่ายในส่วนภูมิภาค 14 จังหวัด ดังนี้[3]
จังหวัด | ความถี่ออกอากาศ (เอฟเอ็ม) |
---|---|
กรุงเทพมหานคร (แม่ข่าย) | 87.50 เมกะเฮิรตซ์ |
ชัยนาท | 96.25 เมกะเฮิรตซ์ |
กาญจนบุรี | 106.25 เมกะเฮิรตซ์ |
ประจวบคีรีขันธ์ | 89.25 เมกะเฮิรตซ์ |
ระยอง | 87.75 เมกะเฮิรตซ์ |
นครราชสีมา | 87.50 เมกะเฮิรตซ์ |
อุบลราชธานี | 87.50 เมกะเฮิรตซ์ |
อุดรธานี | 87.50 เมกะเฮิรตซ์ |
สกลนคร | 87.75 เมกะเฮิรตซ์ |
พิษณุโลก | 92.25 เมกะเฮิรตซ์ |
เชียงใหม่ | 106.75 เมกะเฮิรตซ์ |
สุราษฎร์ธานี | 87.50 เมกะเฮิรตซ์ |
ภูเก็ต | 99.25 เมกะเฮิรตซ์ |
สงขลา | 103.25 เมกะเฮิรตซ์ |
ยะลา | 89.00 เมกะเฮิรตซ์ |
นักจัดรายการวิทยุ
แก้- สุพัตรา พรหมศร
- อานันท์ จันทร์ศรี
- ปฐมพงษ์ ท่าข้าม
- ยูลัด ดำริห์เลิศ
- ณรงค์ฤทธิ์ คิดเห็น
- พัชราวลัย เด่นนิติรัตน์
- อัญชลี วงศ์สัมปัน
- สาริศา สุปัญโญ
- พัลลภา เขียวแก้ว
- นิสลา ไทยกล้า
- นันท์ปภัทร เฉลิมสินหิรัญ
- ธนัชพร สุขดี
- ทนงศักดิ์ ทองงอก
- นิศรา เพ็งขำ
- ณิชชา สุวรรณพนัง
รายการวิทยุกระจายเสียง
แก้- รายการคุยข่าวเช้า (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 06.00-07.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: อานันท์ จันทร์ศรี & ไกรภูมิ เวทพิสัย
- รายการ Inside รัฐสภา (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 07.30-08.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: ณรงค์ฤทธิ์ คิดเห็น
- รายการสยามวิพากษ์ (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-11.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: นันท์ปภัทร เฉลิมสินหิรัญ & ทนงศักดิ์ ทองงอก
- รายการสภาชาวบ้าน (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.00-13.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: นิสลา ไทยกล้า
- รายการเสวนาประชาสังคม (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.00-16.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: ยูลัด ดำริห์เลิศ & ปฐมพงษ์ ท่าข้าม
- รายการ Youngblood นิติบัญญัติฉบับคนรุ่นใหม่ (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00-17.30 น.)
ดำเนินรายการโดย: ธนัชพร สุขดี & นิศรา เพ็งขำ
- รายการ Voice of Power เสียงนี้เพื่อสังคม (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18.00-19.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: พัชราวลัย เด่นนิติรัตน์
- รายการวันวาน Diary (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 19.30-20.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: พัลลภา เขียวแก้ว
- รายการโดเรมีฟาซอลลาทีโด (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 21.30-22.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: สาริศา สุปัญโญ
- รายการบันทึกประชุมสภา (ออกอากาศวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: สุพัตรา พรหมศร & ปฐมพงษ์ ท่าข้าม & ณิชชา สุวรรณพนัง & นิศรา เพ็งขำ & อัญชลี วงศ์สัมปัน
- รายการเพลินเพลงยามบ่าย (ออกอากาศวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: ถาวร จุลตามระ
- รายการสัปปายะสาระ (ออกอากาศวันเสาร์ เวลา 14.00-14.30 น.)
ดำเนินรายการโดย: ปฐมพงษ์ ท่าข้าม
- รายการหารือนอกสภา (ออกอากาศวันเสาร์ เวลา 16.00-17.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: ณิชชา สุวรรณพนัง
- รายการสบาย สบาย (ออกอากาศวันอาทิตย์ เวลา 09.00-11.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: นันท์ปภัทร เฉลิมสินหิรัญ
- รายการ Story สีขาว (ออกอากาศวันอาทิตย์ เวลา 15.30-16.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: อัญชลี วงศ์สัมปัน
- รายการรัฐธรรมนูญ 279 องศา (ออกอากาศวันอาทิตย์ เวลา 16.00-17.00 น.)
ดำเนินรายการโดย: สุพัตรา พรหมศร
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ประวัติสถานีฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-29. สืบค้นเมื่อ 2018-05-09.
- ↑ แผนจัดสรรความถี่วิทยุกระจายเสียง ระบบเอ.เอ็ม.แห่งชาติ, กรมไปรษณีย์โทรเลข.
- ↑ "ประวัติสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-01. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.