วุฒิสภาไทย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
วุฒิสภาไทย หรือเดิมมีชื่อว่า "พฤฒสภา" เป็นวุฒิสภาของประเทศไทย โดยเป็นสภาสูงในรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎรไทยซึ่งเป็นสภาล่าง ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 วุฒิสภามีวาระคราวละ 5 ปี ใช้ห้องประชุมวุฒิสภา ณ สัปปายะสภาสถาน เป็นที่ประชุม
วุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรไทย | |
---|---|
วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 | |
![]() | |
ประเภท | |
ประเภท | |
ผู้บริหาร | |
รองประธานคนที่ 1 | พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม 2562 |
รองประธานคนที่ 2 | ศุภชัย สมเจริญ ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม 2562 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 250 |
![]() | |
กลุ่มการเมือง | แต่งตั้ง (250) |
คณะกรรมาธิการ | 27 คณะ |
ระยะวาระ | 5 ปี |
เงินเดือน | ประธาน: 119,920 บาท รองประธาน: 115,740 บาท สมาชิก: 113,560 บาท |
การเลือกตั้ง | |
แต่งตั้ง | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 11 พฤษภาคม 2562[2] |
ที่ประชุม | |
ห้องประชุมพระจันทรา[3] อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร[4] |
วุฒิสภาไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด หรือผสมระหว่างแต่งตั้งกับเลือกตั้ง มีเพียงวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 และ พ.ศ. 2540 เท่านั้นที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และมีบางช่วงที่ไม่มีวุฒิสภา
ยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้งแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งทั้งหมดและยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งผสมกับการสรรหาแก้ไข
วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540แก้ไข
วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน 200 คน ตามวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มีกำหนดวาระคราวละ 6 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาโดยไม่มีการลงมติ และมีหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2540) ยังได้บัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะอีกหลายประการ คือ การพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งต่าง ๆ คือ
- การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
- ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- การสรรหาและการเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
- เลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ เป็นกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
- ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมดและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด และเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
- ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และการแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด รวมทั้งกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปรกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้.
วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560แก้ไข
มาตรา 269 ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ถวายคำแนะนำ มาตรา 270 นอกจากจะมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้วุฒิสภาตามมาตรา 269 มีหน้าที่และอำนาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาเพื่อทราบทุกสามเดือน
ลำดับชุดวุฒิสภาแก้ไข
ชุดที่ | จำนวนสมาชิก | ระยะการดำรงตำแหน่ง | การสิ้นสุดสมาชิกสภาพ | รัฐธรรมนูญ | หมายเหตุ (แต่งตั้ง/เลือกตั้ง/สรรหา) |
---|---|---|---|---|---|
1 | 80 | 24 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490 | รัฐประหาร | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 | |
2 | 301 | 18 พฤศจิกายน 2490 – 29 พฤศจิกายน 2494 | ยึดอำนาจ | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 | |
3 | 120 | 4 กรกฎาคม 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514 | คณะปฏิวัติประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 (ฉบับที่ 3) | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 | |
4 | 100 | 26 มกราคม 2518 – 6 ตุลาคม 2519 | ยุบสภาตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 3 | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 | |
5 | 225 | 22 เมษายน 2522 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 | รัฐประหาร | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 | ในวาระเริ่มแรกให้จับสลากออก 1 ใน 3 เมื่อครบ 2 ปีแรก และอีก 2 ปีถัดมาให้จับสลากออกกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่เหลือจากการถูกจับสลากออกคราวแรก
|
6 | 270 | 22 มีนาคม 2535 – 22 มีนาคม 2539[5] | ครบวาระ 4 ปี ตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 | |
7 | 260 | 22 มีนาคม 2539 – 21 มีนาคม 2543 | ครบวาระ | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2535 (พ.ศ. 2538) | |
8 | 200 | 22 มีนาคม 2543 – 21 มีนาคม 2549 | ครบวาระ | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 | เลือกตั้ง 2543 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มาจากการเลือกตั้ง สว. โดยตรง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543 |
9 | 200 | 19 เมษายน 2549 – 19 กันยายน 2549 | รัฐประหาร | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 | เลือกตั้ง 2549 |
10 | 150 | 2 มีนาคม 2551 – 1 มีนาคม 2557 | ครบวาระ | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 | เลือกตั้ง 2551 |
11 | 150 | 30 มีนาคม 2557 – 24 พฤษภาคม 2557 | รัฐประหาร/ รัฐสภา วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบเลิก (ประกาศ คสช. ฉบับที่ 30/2557) |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 | เลือกตั้ง 2557 |
12 | 250 | 11 พฤษภาคม 2562 - ปัจจุบัน | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | คัดเลือก 2561-2562 |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง หน้า ๒ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง หน้า ๑-๙ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ เปิดห้องประชุมสุริยัน-จันทรา พาชม “สัปปายะสภาสถาน” ก่อนใช้งานจริง ส.ค.นี้
- ↑ ประกาศรัฐสภา เรื่อง กำหนดสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เป็นการชั่วคราว
- ↑ รายชื่อสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 6
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไซต์วุฒิสภาไทย เก็บถาวร 2015-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน