รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
รัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ของไทย จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยคณะรัฐประหารอันมี พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้าคณะ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 | |
---|---|
![]() พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489[1] | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ตรา | สภาผู้แทนราษฎร |
ผู้ลงนาม | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล |
วันลงนาม | 9 พฤษภาคม 2489[2] |
ผู้ลงนามรับรอง | ปรีดี พนมยงค์ (นายกรัฐมนตรี) |
วันลงนามรับรอง | 9 พฤษภาคม 2489 |
วันประกาศ | 10 พฤษภาคม 2489 |
วันเริ่มใช้ | 10 พฤษภาคม 2489 |
ท้องที่ใช้ | ![]() |
การร่าง | |
ชื่อร่าง | ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |
ผู้ยกร่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
การยกเลิก | |
ประกาศคณะทหารแห่งชาติให้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 |
รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีพฤฒิสภา (วุฒิสภา) ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 80 คน
อ้างอิง แก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: