ประธานศาลฎีกา เป็นหัวหน้าของศาลฎีกา[3] และเป็นประธานคณะกรรมการหลายชุดที่บริหารศาลยุติธรรมของประเทศไทย[4]

ประธานศาลฎีกา
แห่งราชอาณาจักรไทย
ตราศาลยุติธรรม
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
อโนชา ชีวิตโสภณ
ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ผู้เสนอชื่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระนับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งจนถึงอายุ 65 ปี
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร[1]
สถาปนาพ.ศ. 2417[1]
เงินตอบแทน138,090 บาท[2]

ตำแหน่งนี้จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2417 เรียกว่า อธิบดีศาลฎีกา ผู้ดำรงตำแหน่งพระองค์แรก คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร[1] ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคืออโนชา ชีวิตโสภณ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566[5]

ใน พ.ศ. 2564 ประธานศาลฎีกาได้รับเงินตอบแทนรายเดือนอย่างน้อย 138,090 บาท[2]

ประวัติ

แก้

ใน พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ราชการศาลยุติธรรมได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมแก่กาลสมัยและก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ในเบื้องแรกได้มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแยกการศาลทางตุลาการออกเป็นสัดส่วนจากการบริหาร ได้ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2477 ปรับปรุงศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2451 และประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2455 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา (ศาลสูงสุด) มีอธิบดีศาลฎีการับผิดชอบในงานของศาลฎีกา และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2482 เปลี่ยนชื่อ "อธิบดีศาลฎีกา" เป็น "ประธานศาลฎีกา"

ตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาหรือตำแหน่งประธานศาลฎีกานี้ ไม่ใช่เป็นตำแหน่งแต่หัวหน้าส่วนราชการในศาลฎีกาเท่านั้น ยังเป็นประธานในราชการฝ่ายตุลาการและเป็นอิสระจากเสนาบดีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจวางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลทั้งหลาย เพื่อให้กิจการของศาลดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีเสียงอันสำคัญในการแต่งตั้งโยกย้ายและเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาทั้งกระทรวงด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ได้ทรงเรียกตำแหน่งนี้ว่า "ประมุขตุลาการ" ในสมัยที่เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) เป็นอธิบดีศาลฎีกานั้น หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของชาวอังกฤษเรียกตำแหน่งนี้ว่า "Lord Chief Justice" ซึ่งแปลว่า ประมุขตุลาการ*

นับจากอดีตถือได้ว่า ประธานศาลฎีกา มีบทบาทอย่างสำคัญต่ออำนาจตุลาการของประเทศ เนื่องจากประธานศาลฎีกามีฐานะเป็นประมุขของฝ่ายตุลาการที่มีหน้าที่ในการคานและดุลกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ และนับจากวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา บทบาทของประธานศาลฎีกามีความโดดเด่นและชัดเจนยิ่งขึ้น[ต้องการอ้างอิง] จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 275 ได้บัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ บทบาทเบื้องต้นของประธานศาลฎีกาที่ชัดเจน ได้แก่ การรักษาตามพระราชบัญญัติสำคัญรวม 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "ประวัติความเป็นมา". ศาลฎีกา. กรุงเทพฯ: ศาลฎีกา. 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-25. สืบค้นเมื่อ 2565-10-04. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 ไอลอว์ (2564-07-31). "เปิดเงินเดือนและสวัสดิการผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ชีวิตดีๆ บนภาษีประชาชน". ไอลอว์. กรุงเทพฯ: ไอลอว์. สืบค้นเมื่อ 2565-10-04. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "อำนาจหน้าที่ศาลฎีกา". ศาลฎีกา. กรุงเทพฯ: ศาลฎีกา. 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-25. สืบค้นเมื่อ 2565-10-04. ศาลฎีกามีเพียงศาลเดียว มีประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้าหน่วยงาน {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. สำนักงานศาลยุติธรรม, กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ (ม.ป.ป.). คู่มือติดต่อราชการศาลยุติธรรม ฉบับประชาชน. สำนักงานศาลยุติธรรม. pp. 18–19. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  5. "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "อโนชา ชีวิตโสภณ" เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่". ประชาชาติธุรกิจ.

ดูเพิ่ม

แก้