คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม (ตุลาคม 2014) |
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (อังกฤษ: National Council for Peace and Order; ชื่อย่อ: NCPO) เป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง ซึ่งประกอบด้วยกองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ [1] เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่เวลา 16:30 น. หลังเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้เพียง 2วัน และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จนถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ก่อตั้ง | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 |
---|---|
ประเภท | คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง |
สํานักงานใหญ่ | กองบัญชาการกองทัพบก เดิม กองบังคับการ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ |
บุคลากรหลัก |
|
เว็บไซต์ | คสช. ที่เฟซบุ๊ก |
คณะรัฐประหารคณะนี้ครองอำนาจเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 5 ปี 55 วัน นับเป็นอันดับ 3 รองจากคณะรัฐประหารของจอมพลถนอม กิตติขจร[2] และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ปัจจุบัน คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ไม่ถูกยกเลิกมี 187 ฉบับ[3][4][5][6][7][8] ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ไม่ถูกยกเลิก 102 ฉบับ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ไม่ถูกยกเลิก 205 ฉบับ บุคคลที่ที่เกี่ยวข้องกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังได้รับตำแหน่งองคมนตรีถึง 6 ราย เช่น พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
แรงจูงใจและวัตถุประสงค์ทางการเมือง
แก้ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ประเทศไทยตกอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากในช่วงปี พ.ศ. 2551 ภายหลังการเสียชีวิตของอังคณา ระดับปัญญาวุฒิได้เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติหน้าจอและข่าวการรัฐประหารอีกครั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 อาคารสถานที่ถูกทำลายหลายแห่งรวมทั้งมีการเปิดเผยว่าผู้ต้องหากำลังจะทำลายสถานที่สำคัญเช่นวัดพระแก้ว[9]อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นเหตุกระทรวงกลาโหมถูกยิงด้วยอาร์พีจี (อาวุธ)[10]ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อฝ่ายทหารอีกครั้งหนึ่ง เค้าลางของการรัฐประหารเริ่มต้นเมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจในขณะที่ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในการออกคำสั่งให้จับกุมบุคคลที่ค้าขายสินค้ายั่วยุ[11] ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวอย่างเร่งด่วน[12]คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกมาโดยไม่มีการปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นการใช้อำนาจของพลเอกประยุทธ ที่ข้ามหน้าข้ามตาหัวหน้าสูงสุดของคณะรัฐมนตรีในช่วงเวลาดังกล่าว และมีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อยสองราย[13][14]เนื่องจากขายรองเท้าที่มีรูปวาดของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและสุเทพ เทือกสุวรรณซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการจับกุมผู้ที่เตรียมการกระทำการในลักษณะหมิ่นเหม่ต่อสถาบัน ดังนั้นสินค้ายั่วยุในที่นี้คือสินค้าที่หมิ่นเหม่ต่อสถาบันเช่นซีดี ดีวีดี[15]
ในช่วงปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2554 รัฐบาลไทยดำเนินคดีความกับผู้หมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างน้อย 400 คดี [16]คดีที่มีชื่อเสียงได้แก่คดีที่กองทัพบก[17]ฟ้องร้องสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เนื่องจากการเขียนจดหมายเปิดผนึกในการตั้งคำถามต่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ภายหลังจากที่พระองค์พระราชทานสัมภาษณ์พิเศษในรายการ วู้ดดี้ เกิดมาคุย[18][19]
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ผลปรากฎว่าพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งมาจำนวนมาก บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายรายทำผิดกฎหมาย เช่น การตรวจค้นรถของประชาชนที่ถนนมิตรภาพ และยึดขบวนรถไฟ[20] กักตัวทหาร[21][22][23] และจงใจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[24] แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังได้รับการเลือกตั้งเข้ามาท่ามกลางข่าวประชาชนในต่างจังหวัดไม่พึงใจกับการประทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553[25][26][27]ในรายการข้างต้นว่าเป็นสาเหตุที่พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะ เหตุการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเมื่อณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่ม นปช. ซึ่งก่อเหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และผู้ต้องหาหลายคดี[28] ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ส่งผลให้ฝ่ายทหารและชนชั้นนำโกรธเป็นอย่างมาก[29][30] และยิ่งแค้นมากขึ้นเมื่อมีรายงานว่า จตุพร พรหมพันธุ์ เจ้าของวาทะ"กระสุนพระราชทาน"[31] จะได้ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[32][33] จนกระทั่งรัฐบาลเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม และในที่สุดก็นำมาสู่วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และคณะรักษาความสงบแห่งชาติในที่สุด
ภายหลังรัฐประหารคณะรัฐประหารได้ดำเนินคดีการตั้งข้อหา การดำเนินคดีความ การจับกุมและละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งคณะรัฐประหารได้สั่งให้บุคคลไปรายงานตัวจำนวนมากและหลายคดีดำเนินคดีในศาลทหาร ตำรวจ ทหารภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แจ้งความรวมถึงจับบุคคล เข้าคุก ตามข้อหาต่างๆ จำนวนผู้ที่เคยจำคุกเนื่องจากชุมนุมต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างน้อย 15 ราย[34] ทุกคนได้รับการปล่อยตัว ยกเว้นคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการประกันตัว มีผู้หนีหมายจับศาลทหารไปต่างประเทศอย่างน้อย 50 ราย หนีหมายจับศาลอาญาหมายเรียกตำรวจไปต่างประเทศ 5 ราย
การดำเนินคดีเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ภายหลังการรัฐประหาร ที่มีชื่อเสียงได้แก่ กรณีของ นาย สิรภพ กรณ์อุรุษ ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บบล็อก หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นามปากกา รุ่งศิลา[35] คณะรัฐประหารออกคำสั่งให้เขาไปรายงานตัว และทำการจับกุมเขาระหว่างเดินทางที่กลางถนนจังหวัดกาฬสินธุ์[36]เขาถูกดำเนินคดีจำคุก 4 ปี 11 เดือน 18 วัน[37] คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีความต้องการฟ้องร้องบุคคลในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอีกจำนวนมาก มีผู้ติดคุกตามความผิดต่องค์พระมหากษัตริย์ไทยหลังการรัฐประหารอย่างน้อย 80 ราย
คณะรัฐประหารได้แต่งตั้งบุคคลตามองค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่มีที่มาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[38] ตุลาการศาลปกครองสูงสุด[39] และคณะกรรมการการเลือกตั้ง บุคคลในตำแหน่งดังกล่าวได้รับการอนุมัติตำแหน่งโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งสมาชิกสภาดังกล่าวถูกวิจารณ์ว่าไม่เป็นกลาง เนื่องจากมีทหารเป็นจำนวนมากในสภา
โครงสร้าง
แก้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) | ||
ผู้บัญชาการ | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ข้อมูล ก่อนวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) | |
หน้าที่ | เป็นหน่วยงานในระดับนโยบาย มีหน้าที่กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินทั้งนโยบายเฉพาะหน้า และนโยบายระยะยาว เพื่อให้ส่วนงานระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับปฏิบัตินำไปดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ | |
สำนักงานเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ /ศูนย์ติดตามสถานการณ์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ | ||
ผู้บัญชาการ | พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
หน้าที่ | รับผิดชอบหน่วยงาน / ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน / ส่วนราชการที่มิได้กำหนดไว้ในโครงสร้างดังกล่าวนี้รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั้งปวงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) | ||
ผู้บัญชาการ | พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย พลโท ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ แม่ทัพภาคที่ 1 (กกล.รส.ทภ.1) พลโท ธรากร ธรรมวินทร แม่ทัพภาคที่ 2 (กกล.รส.ทภ.2) พลโท ฉลองชัย ชัยยะคำ แม่ทัพภาคที่ 3 (กกล.รส.ทภ.3) พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 (กกล.รส.ทภ.4) | |
หน้าที่ | ควบคุมกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยทั้ง 4 กองทัพภาค กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพภาคที่ 1–4 (กำลังของกองทัพไทย เหล่าทัพ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติขึ้นควบคุมทางยุทธการ) | |
ฝ่ายความมั่นคง | ||
ผู้บัญชาการ | ว่าง หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง พลเอก อักษรา เกิดผล รองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง | |
หน้าที่ | ควบคุม 3 กระทรวง ได้แก่ | |
ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม | ||
ผู้บัญชาการ | ว่าง หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม | |
หน้าที่ | ควบคุม 1 กระทรวง 3 หน่วย ได้แก่ | |
ฝ่ายเศรษฐกิจ | ||
ผู้บัญชาการ | ว่าง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ[40] ว่าง รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ | |
หน้าที่ | ควบคุม 8 กระทรวง ได้แก่ | |
ฝ่ายสังคมจิตวิทยา | ||
ผู้บัญชาการ | ว่าง หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา ว่าง รองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา | |
หน้าที่ | ควบคุม 7 กระทรวง ได้แก่ | |
ฝ่ายกิจการพิเศษ | ||
ผู้บัญชาการ | ว่าง หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ พลเอก สุชาติ หนองบัว รองหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ | |
หน้าที่ | ควบคุม 20 หน่วยงาน ได้แก่
| |
หน่วยงานขึ้นตรงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | ||
ผู้บัญชาการ | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา | |
หน้าที่ | ควบคุม 6 หน่วยงาน ได้แก่ | |
กลุ่มงานขับเคลื่อนการบริหารแผ่นดิน | ||
ผู้อำนวยการ | พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้อำนวยการ [41] | |
กลุ่มงานขับเคลื่อนภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อย | ||
ผู้บัญชาการ | พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้อำนวยการ [42] |
ค่าตอบแทน
แก้วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557 มีการออกกฎหมายกำหนดเงินเดือนและประโยชน์ทางการเงินอื่นแก่สมาชิก คสช. พลเอกประยุทธ์ได้รวม 125,590 บาทต่อเดือน ขณะที่สมาชิก คสช. คนอื่นได้รับรวม 119,920 บาทต่อเดือน ประโยชน์เหล่านี้เพิ่มเติมจากประโยชน์ที่ได้รับจากตำแหน่งในกองทัพ[43]
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เงินประจำตำแหน่งเพิ่มเป็น 175,590 บาท (เพิ่มขึ้น 50,000 บาท) ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 174,420 บาท (เพิ่มขึ้น 54,500 บาท) [44]
มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ พลเอก สลิน ทองภักดี แต่บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557 ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แก่ พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ เพียงบุคคลเดียวในส่วนของพลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เนื่องจากเกษียณอายุราชการ
ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการแต่งตั้งเสนาธิการทหารบก เป็น ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แก่ พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ [45]โดยให้เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งดังกล่าวเป็น พลเอก ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์
คณะกรรมการที่ยังปฏิบัติงานอยู่
แก้คณะกรรมการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 6 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 30 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) 2 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 4 คณะ มีจำนวนทั้งหมด 45 คณะ
คณะอนุกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติจำนวน 8 คณะต่อมายกเลิกไป 3 คณะคงเหลือ 5 คณะ ได้แก่
- คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 173/2557[46]
- คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 175/2557[47]
- คณะอนุกรรมการจัดทำบัญชีข้าวคงเหลือของรัฐ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 176/2557[48]
- คณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 177/2557[49]
- คณะอนุกรรมการการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 5/2560[50]
ต่อมามีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 9 / 2562 ยกเลิกคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 74/2557[51]ยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 106/2557[52]และยกเลิกคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อยตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 116/2557[53]
ศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
แก้จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 51/2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และ พลเอก สกล ชื่นตระกูล เป็นหัวหน้าฝ่ายติดตามและประสานงาน สถานที่ในการปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ในกองบัญชาการกองทัพบกและตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล[54]พล.ต.วิจารณ์ จดแตง หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานด้านกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารปฏิบัติการ ประจำกองบัญชาการกองทัพบก ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ พันเอก วินธัย สุวารี เป็นโฆษกในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน
แก้จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 27/2558 โดยมี พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง เป็นผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน คนแรกของประเทศไทยคนต่อมาคือ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนคนสุดท้ายได้แก่ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์
ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย
แก้จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2558 โดยมี พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย คนแรกของประเทศไทย คนต่อมาคือ พลเรือเอก ณะ อารีนิจ และ พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย คนสุดท้ายได้แก่ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์
สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
แก้สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แบ่งส่วนงานเป็นส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อยและส่วนงานการบริหารราชการ[55]โดยปัจจุบัน ( 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ) มีผู้ปฏิบัติงานดังนี้
พลโท อยุทธ์ ศรีวิเศษ หัวหน้าฝ่ายกำลังพล ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
พลโท วรเกียรติ รัตนานนท์ หัวหน้าฝ่ายข่าว ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
พลโท ชนาวุธ บุตรกินรี หัวหน้าฝ่ายยุทธการ ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
พลโท ชัยมนตรี โพธิ์ทอง หัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุง ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
พลโท สมศักดิ์ สมรักษ์ หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
พลโท กิตติทัศน์ เปี่ยมสุวรรณ์ หัวหน้าฝ่ายงบประมาณ ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
พลตรี ปัณณทัต กาญจนะวสิต หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
พลตรี วรพจน์ เร้าเสถียร หัวหน้าคณะทำงานติดตามสื่อ ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
พลตรี นเรศ ขีโรท หัวหน้าคณะทำงานด้านกฎหมาย ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ (ตำแหน่งว่าง) หัวหน้าคณะทำงานพิเศษ ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติในปัจจุบัน
แก้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2561 แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[56]ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ เป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี เป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ เป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน เป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา เป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกและเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
แก้- พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยารองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)[57]
- พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก ธีรชัย นาควานิช เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
- พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา
- พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ
คณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
แก้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 1 /2559 แต่งตั้งบุคคลทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น 8 ราย[58] ดังรายนามต่อไปนี้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗/๒๕๕๙ โดยได้ให้พลเอกนพดล อินทปัญญารับตำแหน่งเลขานุการของคณะที่ปรึกษาอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงเหลือคณะที่ปรึกษา 7 ราย ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป[59]
- ประธาน : พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- รองประธาน : พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ที่ปรึกษา : ศาสตราภิชาน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
- ที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
- ที่ปรึกษา : อาจารย์ อำนวย ปะติเส
- ที่ปรึกษา : พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์
- ที่ปรึกษาและเลขานุการ : พลเอก นพดล อินทปัญญา
วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 มีพระราชโองการให้ พลเอก นพดล อินทปัญญา พ้นจากตำแหน่งนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[60]
ผู้ปฏิบัติงานดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
แก้ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2561 เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[61]คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2561 เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[62] ,คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2560 เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[63]และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 7/2560 เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[64] มีรายชื่อดังต่อไปนี้
- พลเอก อาทร โลหิตกุล (รองเลขาธิการฯ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)
- พลเรือเอก อิทธิคมน์ ภมรสูต (รองเลขาธิการฯ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร)
- พลเรือเอก บรรจบ ปรีชา (รองเลขาธิการฯ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย)
- พลอากาศโท สุรศักดิ์ หมู่พยัคฆ์ (รองเลขาธิการฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)
- พลเอก มงคล เผ่าพงษ์คล้าย (รองเลขาธิการฯ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว)
- พลตรี ปรมินทร์ ทวีสุข (รองเลขาธิการฯ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร)
- พลเอก วลิต โรจนภักดี (รองเลขาธิการฯ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา)
- พลเอก ธนิส พิพิธวณิชการ (รองเลขาธิการฯ พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ)
- พลโท พีรพงษ์ เมืองบุญชู (รองเลขาธิการฯ พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี)
- พลเรือเอก สมหมาย วงษ์จันทร์ (รองเลขาธิการฯ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์)
- พลอากาศเอก วีรพงษ์ นิลจินดา (รองเลขาธิการฯ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน)
- พันตำรวจเอก รุ่งโรจน์ สายันประเสริฐ (รองเลขาธิการฯ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา)
- นาง มยุระ ช่วงโชติ (รองเลขาธิการฯ นาย มีชัย ฤชุพันธุ์)
- พลเอก สันติ กิจมหานนท์ (รองเลขาธิการฯ พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์)
ที่ปรึกษาประจำผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
แก้ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2561 เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[65]ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2561 เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[66],คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2560 เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ [67]และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 7/2560 เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[68]
- พลเอก อมรฤทธิ์ แพทย์เจริญ (ที่ปรึกษาฯ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)
- พลตรี อนุศิษฐ์ ศุภธนิต (ที่ปรึกษาฯ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร)
- พลเรือเอก มานิตย์ สูนนาดำ (ที่ปรึกษาฯ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย)
- พลอากาศเอก วิโรจน์ นิสยันต์ (ที่ปรึกษาฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)
- พลตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ อรุณศรีโสภณ (ที่ปรึกษาฯ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว)
- พันเอก สราวุธ เบญจจินดา (ที่ปรึกษาฯ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร)
- พลเอก กิตติทัศน์ บำเหน็จพันธุ์ (ที่ปรึกษาฯ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา)
- พันเอก โฆษิต เทียมเพ็ชร (ที่ปรึกษาฯ พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ)
- พลตรี ชัชวาลย์ พยุงวงศ์ (ที่ปรึกษาฯ พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี)
- พลเรือเอก นฤดม แป้นเจริญ (ที่ปรึกษาฯ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์)
- พลอากาศโท สุรพล พุทธมนต์ (ที่ปรึกษาฯ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน)
- พลตำรวจเอก อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช (ที่ปรึกษาฯ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา)
- พลตำรวจเอก[69] ไพศาล เชื้อรอต (ที่ปรึกษาฯ นายมีชัย ฤชุพันธุ์)
- พลโท อดิศร โครพ (ที่ปรึกษาฯ พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์)
- พันเอก วินธัย สุวารี เป็น โฆษกประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง เป็น รองโฆษกประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลตรี วิระ โรจนวาศ เป็น ประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- พลตรี ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ เป็น ประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- อาจารย์ [70] คนันท์ ชัยชนะ เป็น ประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- นางสาว ณัชฐานันท์ รูปขจร เป็น ประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
การยุบ
แก้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีบทเฉพาะกาลในมาตรา 265 วรรคหนึ่ง ระบุว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติสิ้นสุดเมื่อคณะรัฐมนตรีใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณและเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[71] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 15 กรกฎาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้อ่านสารอำลาในโอกาสสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[72]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Thailand coup gets King Adulyadej approval as junta dissolves senate". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 25 May 2014.The Guardian ใช้คำว่า 'approval' รับรอง และ 'royal backing' ในความหมายถึงการสนับสนุน
- ↑ 4 ปีรัฐประหาร: การเมืองและกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย 99.99%
- ↑ หอสมุดรัฐสภา คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปี 2557
- ↑ หอสมุดรัฐสภา คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปี 2558
- ↑ หอสมุดรัฐสภา คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปี 2559
- ↑ หอสมุดรัฐสภา คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปี 2560
- ↑ หอสมุดรัฐสภา คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปี 2561
- ↑ หอสมุดรัฐสภา คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) 12/2558
- ↑ ดีเอสไอเผยมือบึ้มวัดพระแก้วรับ5แสน
- ↑ ศอฉ.เผยเป้าRPG วัดพระแก้ว จับมือยิงสนิทแดง
- ↑ ศอฉ.ยันไม่เลิกคำสั่งสินค้ายั่วยุ
- ↑ ศอฉ.ยกเลิกคำสั่งสินค้ายั่วยุแตกแยก
- ↑ "กรกมล พรหิทธ์ ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2011-04-20.
- ↑ ตร.สรุปสำนวนส่งอัยการ คดีแม่ค้าเสื้อแดงขายรองเท้าแตะลายหน้ามาร์ค-สุเทพ
- ↑ ศอฉ.ยกเลิกคำสั่งสินค้ายั่วยุแตกแยก
- ↑ ประเทศไทย: การเสื่อมถอยของสิทธิมนุษยชน
- ↑ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลรับทราบข้อกล่าวหามาตรา 112
- ↑ “ฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ” ประทานสัมภาษณ์ “ขอความเป็นธรรม-ไม่อยากให้ฟังข่าวลือ”
- ↑ นิวยอร์กไทม์รายงาน กรณีสมศักดิ์ เจียมฯ ถูกกองทัพบกฟ้องด้วยมาตรา 112
- ↑ เบื้องหลังปล่อยขบวนรถไฟ
- ↑ ตำรวจไม่เอาผิดเสื้อแดงขอนแก่นกักตัวทหาร
- ↑ “เพื่อแม้ว” พาสาวเสื้อแดงโผล่แถลงสื่อ อ้างถูกทำร้าย เจอซักถ่มน้ำลายใส่ก่อน กลับว้ากสื่อ
- ↑ ย้อนสาแหรกจ่าประสิทธิ์ส.ส.ชูรองเท้า
- ↑ ก่อแก้ว-ไอ้กี้ร์ บทพิสูจน์ความเหิมเกริมเสื้อแดง
- ↑ หมายเหตุพฤษภา : .ฟ้าร่ำไห้ แผ่นดินสิ้นแสง!? ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในรายการ "วู้ดดี้ เกิดมาคุย"
- ↑ เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์: ตาย 91 เจ็บ 2 พัน ไม่น่าสะเทือนใจกว่าการ"เผาบ้านเผาเมือง"หรือครับ? และเหตุใดไม่ทรงวิจารณ์พันธมิตรครับ?
- ↑ จตุพรเผยอยากให้วู้ดดี้เชิญไปออกรายการบ้าง
- ↑ เจ๋ง ดอกจิกรับสารภาพหมิ่นเบื้องสูง
- ↑ ดุลยอำนาจทางการเมืองการปกครองไทย สถาบันพระปกเกล้า หน้า87 รัฐประหาร2557 ชนชั้นกลางผู้ฉุนเฉียว
- ↑ โทสะชนชั้นกลางคุกคามประชาธิปไตย หน้า 162-172
- ↑ เมื่อข้าราชการกลายเป็นข้ารับใช้นักการเมือง
- ↑ เช็กชื่อ“นปช.”นั่งเก้าอี้การเมือง-บอร์ดรัฐวิสาหกิจ ลุ้น“ตู่”รัฐมนตรี
- ↑ รมช.มหาดไทยเชื่อจตุพร-ณัฐวุฒิ นั่งมท.2-มท.3 เป็นแค่การคาดเดา
- ↑ คุมตัวฝากขังแล้ว 15 แกนนำอยากเลือกตั้ง โดนอ่วม! 6 ข้อหา กำลังใจเพียบ
- ↑ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นามปากกา รุ่งศิลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-30. สืบค้นเมื่อ 2018-10-10.
- ↑ สิรภพ กรณ์อุรุษบทกวีที่ถูกตามล่า
- ↑ มายากลของเวลากับการมีอยู่ของ 112
- ↑ มติสนช.เห็นชอบ "นครินทร์"เป็นตุลาการศาลรธน.
- ↑ มติสนช.เห็นชอบ14ตุลาการศาลปค.สูงสุด
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ)ที่ 84/58 เรื่องให้เจ้าหน้าที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ 'คสช.' ปรับโครงสร้างใหม่ เน้นการทำงานร่วมทุกฝ่าย
- ↑ 'คสช.' ปรับโครงสร้างใหม่ เน้นการทำงานร่วมทุกฝ่าย
- ↑ "เปิดบัญชีอัตราเงินตอบแทน "หัวหน้า คสช. - สนช. - สปช."". Isra News. 2014-08-02. สืบค้นเมื่อ 2014-08-02.
- ↑ "คลอดแล้ว!ค่าตอบแทน หน.คสช. สนช. สปช. รับ 113,560 -125,590 บาท/ด". Isra News. 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14.
- ↑ "ได้มีการแต่งตั้งเสนาธิการทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-16.
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 173/2557
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 175/2557
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 176/2557
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 177/2557
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 5/2560
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 74/2557
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 106/2557
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 116/2557
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 51/2557
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-08. สืบค้นเมื่อ 2018-08-16.
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๒/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๓๙ ง พิเศษ หน้า ๕๙ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๑
- ↑ "ประยุทธ์" ใจหาย รมต.ไป 15 คน คสช.อีก 4 วอนอย่ามองเป็นศัตรู
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 1 /2559
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2559 เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๓ ง พิเศษ หน้า ๒๐
- ↑ พระราชโองการให้ พลเอก นพดล อินทปัญญา พ้นจากตำแหน่งนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2561
- ↑ เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2560
- ↑ เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2561
- ↑ เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ↑ แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 7/2560
- ↑ ประกาศแต่งตั้งยศ
- ↑ งดสอนและสอนชดเชย วิชากฎหมายปกครองเยอรมัน (LW630) โดย อ.คนันท์ ชัยชนะ
- ↑ แนวหน้า (14 กรกฎาคม 2562). "ด่วน!!!วิษณุเผยในหลวงพระราชทานครม.ใหม่ เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ 16 ก.ค." www.naewna.com. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (15 กรกฎาคม 2562). ""บิ๊กตู่" อ่านสารอำลา ย้ำสานต่อแก้ปัญหา ขอ 3 เสาหลักประเทศร่วมมือรบ.ใหม่". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)