พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง (ชื่อเล่น: จอม, บิ๊กจอม ; เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2501) องคมนตรี[1] อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ,ตุลาการศาลทหารสูงสุด[2] อดีตผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน [3]กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559[4] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ราชองครักษ์เวร[5] กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[6] กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[7]กรรมการในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[8]ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สโมสรฟุตบอล อินทรีทัพฟ้า แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[9]กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[10]

จอม รุ่งสว่าง
องคมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2561
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ก่อนหน้าพลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง
ถัดไปพลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
คู่สมรสพลอากาศตรีหญิง กรนันท์ รุ่งสว่าง
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 (ตท.16)
โรงเรียนนายเรืออากาศญี่ปุ่น
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพอากาศไทย
ยศ พลอากาศเอก

อดีตกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

ประวัติ แก้

พล.อ.อ. จอม หรือที่สื่อมวลชนสายทหารเรียกว่า บิ๊กจอม เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของพล.อ.ท. สุรยุทธ กับนางรัมภา รัศมี รุ่งสว่าง ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับพล.อ.ต. หญิง กรนันท์ รุ่งสว่าง มีบุตร-ธิดา 3 คน[11]

พล.อ.อ. จอม จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 (รุ่นเดียวกับ พล.อ. เฉลิมชัย สิทธิสาท, พล.อ. กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.อ. ธวัช สุกปลั่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก และ พล.ท. ภัทรพล รักษนคร อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก) จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันป้องกันประเทศแห่งชาติญี่ปุ่น จนกระทั่งศึกษาจบจึงเดินทางกลับประเทศไทย

รับราชการ แก้

หลังจากเดินทางกลับประเทศไทย พล.อ.อ. จอม ได้เข้ารับราชการที่กองทัพอากาศจนเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จนกระทั่งวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557 พล.อ.ท. จอม (ยศในสมัยนั้น) และดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารอากาศได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศสืบต่อจาก พล.อ.อ. ตรีทศ สนแจ้ง ที่ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ[12] โดยได้รับโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศ พลอากาศเอก ในวันเดียวกัน[13] ในช่วงที่ปฏิบัติหน้าที่เสนาธิการทหารอากาศ

พล.อ.อ.จอม ได้รับผิดชอบในการกำกับดูแลการปรับปรุงยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาล จนเป็นยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ฉบับ 20 ปี พ.ศ.2560-2579 โดยยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าวมีนโยบายด้านต่างๆ เพื่อเป้าหมายสู่วิสัยทัศน์ กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค ด้วยความสำเร็จด้านยุทธศาสตร์และการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศ

พล.อ.อ. จอม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ 24 เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ตลอดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ผบ.ทอ. กองทัพอากาศได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ ความเข้มแข็งของมิติทางไซเบอร์ ตลอดจนวางรากฐานการดำเนินงานในมิติด้านอวกาศ ด้วยแนวทางการ

  • "สาน" ต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • "เสริม" ขีดความสามารถเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • "สร้าง" ความแข้มแข็งในมิติทั้งสาม

โดยมีแนวคิดในการพัฒนาการปฏิบัติงานของกองทัพอากาศว่า "ทหารฉลาดอาวุธฉลาดกลยุทธ์ที่ฉลาดชนะ" ในช่วงเวลาดังกล่าว กองทัพอากาศมีการจัดหาอากาศยานที่มีความทันสมัยเพื่อตอบสนองต่อภารกิจด้านต่าง ๆ ทดแทนอากาศยานที่อายุการใช้งานมาก รวมทั้งการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ และดาวเทียมทางการทหาร ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนากองทัพอากาศสู่อนาคต พล.อ.อ. จอม เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 และได้ส่งมอบการบังคับบัญชาต่อให้ พล.อ.อ. ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผบ.ทอ. ท่านต่อไป

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แก้

วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 พล.อ.อ.จอมขณะมียศเป็น พล.อ.ท.ได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[14]

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2560[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๒๔๔ ง พิเศษ หน้า ๑ ๒ ตุลาคมคม พ.ศ. ๒๕๖๑
  2. แต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
  3. ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน
  4. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559
  5. กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง
  6. กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  7. กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
  8. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
  9. สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  10. กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  11. ชีวประวัติ จอม รุ่งสว่าง
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 176 ง พิเศษ หน้า 1 8 กันยายน พ.ศ. 2557
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 17 ข หน้า 1 8 กันยายน พ.ศ. 2557
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 147 ง พิเศษ หน้า 1 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
  15. "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๒ ง หน้า ๘, ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๖
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๒, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๒, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
  22. Ministry of Defence Singapore. MSM(M) Investiture for Royal Thai Air Force Commander-in-Chief Johm Rungswang. เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2561 สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
  23. Republic of Singapore Air force. Royal Thai Air Force Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 28 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
  24. admin2. "ขอแสดงความยินดีกับท่านองคมนตรี พลอากาศเอกจอม รุ่งสว่าง | สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  25. U.S. Embassy Bangkok, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มอบเครื่องอิสริยาภรณ์ Legion of Merit (Degree of Commander) ให้แก่ พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง, เมื่อ 16 กันยายน 2563 สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
ก่อนหน้า จอม รุ่งสว่าง ถัดไป
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง    
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561)
  พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน