อภิรัชต์ คงสมพงษ์
พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2503) ชื่อเล่น แดง เป็นผู้บัญชาการทหารบกไทยคนที่ 41 ในอดีตเคยได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล[2] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ [3] เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[4] และสมาชิกวุฒิสภา[5] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพระราชวัง และรองผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์[6]
พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
อภิรัชต์ในปี 2564 | |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท |
ถัดไป | พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563 (1 ปี 142 วัน) | |
ถัดไป | พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ |
เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (0 ปี 288 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2557 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี 223 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 มีนาคม พ.ศ. 2503 |
บิดา | สุนทร คงสมพงษ์ |
มารดา | คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์ |
คู่สมรส | อมฤดา คงสมพงษ์ (หย่า) รองศาสตราจารย์ กฤษติกา คงสมพงษ์ |
บุตร | พันตรี พิรพงศ์ คงสมพงษ์ ร้อยเอก แพทย์หญิง อมรัชต์ คงสมพงษ์ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | |
ประจำการ | พ.ศ. 2527–2563 |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพบกไทย |
การยุทธ์ | ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[1] |
อภิรัชต์ถือว่าเป็นนายทหารที่ถูกจับตามองมาโดยตลอดเนื่องจากเป็นผู้บังคับหน่วยกำลังรบที่มีความสำคัญในกรุงเทพมหานคร และเป็นบุตรของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งเป็นคณะรัฐประหาร ระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 เขาเป็นผู้ที่ออกมาแสดงจุดยืนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และกล่าวประณามผู้ประท้วงว่าคิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งทำให้เกิดกระแสโจมตีเนื่องจากความไม่เป็นกลาง[7]
ประวัติแก้ไข
อภิรัชต์เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรชายคนโตของพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ (อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) และ พันเอกหญิง (พิเศษ) คุณหญิง อรชร คงสมพงษ์
เขาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 31 จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ (Master of Business Administration) จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทิร์น และเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57
การรับราชการแก้ไข
หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาเข้ารับราชการในตำแหน่งนักบินตอนขนส่งอากาศ กองบินปีกหมุนที่ 3 ศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี ระหว่างปฏิบัติหน้าที่นักบิน อภิรัชต์ ได้เข้ารับการศึกษาดังต่อไปนี้
- หลักสูตรการจัดซ่อมบำรุง/นักบินลองเครื่อง ฮ.ท. 1 (UH-1H) ที่ ค่ายยูทิส (รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ)
- หลักสูตรนักบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1H (Cobra) ที่ ค่ายรัคเกอร์ (รัฐแอละแบมา สหรัฐ)
- หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหารราบ ที่ ค่ายเบนนิ่ง (รัฐจอร์เจีย สหรัฐ)
เขาได้เข้ารับศึกษาในหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 73 ซึ่งหลังจากจบหลักสูตรเสนาธิการทหารบก เขาอภิรัชต์ ได้เข้ารับราชการในกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ในตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ รองเสนาธิการ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เสนาธิการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์และรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ตามลำดับ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขาได้ไปปฏิบัติราชการสนามที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเหตุการณ์ความไม่สงบในหน่วยเฉพาะกิจที่ 14 จังหวัดยะลา
หลังจากนั้น เขาดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ และรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 และผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[8]
ต่อมาดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 แม่ทัพน้อยที่ 1 และขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 ในปี พ.ศ. 2559 ในห้วงนี้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล[2] กรรมการอิสระ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ ที่ปรึกษา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต่อมา พล.อ.อภิรัชต์ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยผบ.ทบ. และ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกในปี 2561 ซึ่งทำให้ได้รับตำแหน่งประธานกรรมการ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โดยตำแหน่ง เขาเกษียณราชการเมื่อ 30 ตุลาคม 2563[2]
ชีวิตส่วนตัวแก้ไข
เขาใช้ชีวิตคู่ร่วมกับรองศาสตราจารย์ กฤษติกา คงสมพงษ์ (สกุลเดิม ศิริจรรยา) อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[9] อดีตพิธีกรรายการโทรทัศน์รายการ The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน[10] ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และรายการฝ่าวิกฤตกับกฤษติกา ทางช่อง PPTV มีบุตร 2 คน คือ
- พันตรี พิระพงศ์ คงสมพงษ์
- ร้อยเอก แพทย์หญิง อมรัชต์ คงสมพงษ์
บทบาทการเมืองแก้ไข
ตำแหน่งทางการเมืองแก้ไข
หลังจากการรัฐประหารในปี 2557 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยรับตำแหน่งในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ และคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น เมื่อเขาขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกในปี 2561 ทำให้ได้รับตำแหน่งเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติในวาระเดียวกัน และหลังจากการเลือกตั้งในปี 2562 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 12 โดยตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดซึ่งหมดวาระเมื่อพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
ตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนแก้ไข
นอกเหนือจากตำแหน่งทางทหาร และการเมือง เขายังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญในรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่สำคัญต่าง ๆ เมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2543 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2543 หลังจากนั้นในปี 2545 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ในปี 2557 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อให้มาแก้ไขปัญหาการจำหน่ายสลากเกินราคา นอกจากนี้ พล.อ.อภิรัชต์ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในปีเดียวกัน และเมื่อ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เขารับการแต่งตั้งเป็นกรรมการธนาคาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
แผนปฏิรูปกองทัพแก้ไข
หลังเหตุการณ์กราดยิงหมู่ที่นครราชสีมาเมื่อปี 2563 ซึ่งมีผู้ก่อเหตุเป็นนายทหารและมีมูลเหตุจูงใจความเครียดในการถูกหลอกซื้อบ้านที่ใช้เงินกู้จากกรมสวัสดิการกองทัพบก เขาในฐานะผู้บังคับบัญชาทหารบกออกโครงการปฏิรูปกองทัพโดยมีโครงการสำคัญหนึ่งคือการเปิด “สายด่วนรับฟังข้อร้องเรียนจากนายทหารชั้นผู้น้อย ที่พบเรื่องผิดปกติแต่ไม่กล้ารายงานขึ้นมาแต่ผ่านมาแล้วครึ่งปี” และในการร้องเรียนนั้น “ข้อมูลจะถูกปกปิดเป็นความลับ” ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์[11] อย่างไรก็ตามได้ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า “ความสำเร็จเป็นรูปธรรมไม่เห็น”[12]
ต่อมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 สิบเอก ณรงค์ชัย อินทรกวี ซึ่งในขณะนั้นสังกัดศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ได้เข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ร้องเรียนกรณีทหารชั้นผู้น้อยถูกโกงเบี้ยเลี้ยง โดยมีหลักฐานที่ชัดเจนและพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง แรกเริ่มนั้นหมู่อาร์มได้ร้องเรียนกับศูนย์คอลเซ็นเตอร์ซึ่งอภิรัชต์ได้ตั้งขึ้นก่อนหน้า แต่ข้อมูลไม่ได้ถูกปกปิดเป็นความลับตามที่อภิรัชต์ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ในครั้งเปิดโครงการ และตัวเขาเองมิได้ออกมาชี้แจง[13][14][15] จนไม่มีความคืบหน้าจนกระทั่งเขาเกษียณอายุราชการ
บทบาทหลังพ้นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแก้ไข
เขาเกษียณอายุราชการเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 ซึ่งก่อนหน้านั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติรับโอน เขามาบรรจุเป็นข้าราชการในพระองค์ฝ่ายพลเรือนในตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง สำนักพระราชวัง เมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2563 และเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเขาเป็น รองผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 อภิรัชต์ได้ไปบวชเป็นภิกษุที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ได้รับฉายา "อภิรัชตโน" แปลว่า "ผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง"[16] และในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564 ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการ โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์[17]
รางวัลที่ได้รับแก้ไข
- รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2562[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแก้ไข
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[20]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[21]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2529 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[22]
- พ.ศ. 2563 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[23]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2563 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[25]
- กัมพูชา :
- พ.ศ. 2564 - เครื่องอิสริยยศลำดับสหไมตรี ชั้นธิบดินทร์
ลำดับสาแหรกแก้ไข
ลำดับสาแหรกของอภิรัชต์ คงสมพงษ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "ผบ.ทบ.เยือนอินโดฯ ชู "อาเจะห์โมเดล" ดับไฟใต้ "สร้างความเข้าใจ ไม่แยกดินแดน"". สำนักข่าวอิศรา. January 15, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2021. สืบค้นเมื่อ September 6, 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ 1/2558 เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามที่ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2558 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล ลงวันที่ 1 พ.ค. 2558 นั้น กำหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่งตั้งบุคคลมาเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล นั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 (1)ของคำสั่งดังกล่าว หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงแต่งตั้ง พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ให้เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 250 ส.ว. มาจากทหาร-ตำรวจ รวม 104 คน
- ↑ “บิ๊กตู่” ตั้งสมาชิกคสช.ใหม่ ให้ “อภิรัชต์ คงสมพงษ์” เป็นเลขาฯคสช. มีผล 1ต.ค.
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 250 ส.ว. มาจากทหาร-ตำรวจ รวม 104 คน
- ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็นรองผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 1 December 2021.
- ↑ คำต่อคำ! 'อภิรัชต์' ฉะ 'ซ้ายดัดจริต-นักวิชาเกิน' ใช้โซเชียลปั่นแตกแยก
- ↑ "โปรดเกล้าฯโยกย้าย203นายทหารแล้ว". bangkokbiznews. 2014-03-31.
- ↑ "Associate Professor Kritika Kongsompong, Ph.D., CMC | Sasin School of Management". www.sasin.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 December 2021.
- ↑ "รายการกำจัดจุดอ่อน สมัยออนแอร์ช่อง 3 กระแส ความดังเป็นอย่างไรบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยค่ะ". Pantip. สืบค้นเมื่อ 1 December 2021.
- ↑ ผวาทั้งบาง!‘บิ๊กแดง’ประกาศเอาจริง ลุย‘ปฏิรูปกองทัพ’เต็มสูบ เดี๋ยวมีเลย์ออฟ
- ↑ เปิดไทม์ไลน์ “หมู่อาร์ม” บทพิสูจน์ปฏิรูปกองทัพ หลังออกมาแฉอมเบี้ยเลี้ยง กลับถูกสอบผิดหนีทหาร บิ๊กแดงยันทำตามขั้นตอน
- ↑ จาก'จ่าคลั่ง'สู่'หมู่อาร์ม' กับคำสัญญา'ปฏิรูปกองทัพ' ไทยโพสต์.
- ↑ เปิดคำให้การหมู่อาร์ม แฉอมเบี้ยเลี้ยงในกองทัพ กลับโดน-คดีหนีทหาร พิสูจน์ปฏิรูปยุคบิ๊กแดง
- ↑ "หมู่อาร์ม" ลั่นพร้อมขึ้นศาล ถาม "บิ๊กแดง" คืนความยุติธรรมให้ได้หรือไม่
- ↑ ""บิ๊กแดง" โกนหัวบวชแล้ว จัดงานเรียบง่าย มีเพียงญาติ คนสนิท ร่วมพิธี". ไทยรัฐ. 8 October 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
- ↑ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์
- ↑ "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๘ มิถุนายน ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๗, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๓, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๓๓ ข หน้า ๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ อภิรัชต์ คงสมพงษ์ |
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อภิรัชต์ คงสมพงษ์