เฉลิมชัย สิทธิสาท
พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท (เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2500) ชื่อเล่น เจี๊ยบ องคมนตรี[1] ผู้บัญชาการทหารบกคนสุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และผู้บัญชาการทหารบกคนแรกในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เฉลิมชัย สิทธิสาท | |
---|---|
องคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (6 ปี 63 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก ธีรชัย นาควานิช |
ถัดไป | พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ |
เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก ธีรชัย นาควานิช |
ถัดไป | พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (4 ปี 61 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2500 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา |
คู่สมรส | เบญจวรรณ สิทธิสาท |
ชื่อเล่น | เจี๊ยบ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2561 |
ยศ | พลเอก |
รองประธานกรรมการในคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก อดีตผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 40 และอดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[2] ตุลาการศาลทหารสูงสุด[3] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตผู้อำนวยการกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย[4] กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559[5]กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก[6] กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว[7] กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองประธานกรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[8][9] กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[10] กรรมการ ธนาคารทหารไทย ราชองครักษ์เวร[11]กรรมการ ในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[12] กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[13] คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[14]และ กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[15] อดีตรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[16]
ประวัติ
แก้เป็นบุตรของ พ.ท.บุญโถม กับ นางจงจิตต์ สิทธิสาท มีพี่น้อง 3 คน คือ
- พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท
- นายไตรรัตน์ สิทธิสาท
- นางสาวฐปนีย์ สิทธิสาท
ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางเบญจวรรณ สิทธิสาท มีบุตร 2 คน คือ
- นางสาวพาฝัน สิทธิสาท
- นายป้องชาติ สิทธิสาท
การทำงาน
แก้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2559 เขาได้ประกาศสงครามกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่เคลื่อนไหวผ่านเว็บไซด์เฟซบุ๊กและยูทูบ รวมถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มดังกล่าวพำนักอยู่ต่างประเทศ[17] ในวันที่ 14 ตุลาคม 2559 เขาได้ออกคำสั่งให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยทุกกองทัพภาคทั่วประเทศ เพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด [18] ในวันที่ 20 ตุลาคม 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่งตั้งเขาเป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ได้ตำแหน่งเป็นองคมนตรี
การศึกษา
แก้โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 27 รุ่นเดียวกับ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก , พลเอก ธวัช สุกปลั่ง อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 และพลโท ภัทรพล รักษนคร อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก[19]
การรับราชการ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2559 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[27]
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[28]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[29]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[30]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[31]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[32]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2561 – เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[33]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2561 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[34]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๒๔๔ ง พิเศษ หน้า ๑ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑
- ↑ เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ↑ แต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559
- ↑ "กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-01-18.
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง
- ↑ คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
- ↑ ราชองครักษ์เวร
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
- ↑ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-06.
- ↑ จับสัญญาณแรง“บิ๊กเจี๊ยบ” ฮึ่ม "แดงไอที" อย่าเดินเกมป่วน
- ↑ ผบ.ทบ. ยกระดับรักษาความปลอดภัยทั่วประเทศ
- ↑ "ทำเนียบนายพล เตรียมทหาร รุ่นที่ 16". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ 2015-10-12.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๖ ตอน พิเศษ ๙๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๖ ตอน พิเศษ ๑๕๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอน พิเศษ ๑๑๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๐ ตอน พิเศษ ๓๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๑๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 203 ง พิเศษ หน้า 1 9 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๔๕ ข หน้า ๑, ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๗๘ ข หน้า ๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๐๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๙, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๒, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
- ↑ Ministry of Defence Singapore. Royal Thai Army Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
- ↑ AGO 2018-30 — FOREIGN INDIVIDUAL AWARDS
ก่อนหน้า | เฉลิมชัย สิทธิสาท | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก ธีรชัย นาควานิช | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561) |
พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ |