สุนทร คงสมพงษ์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ (1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542) ชื่อเล่น จ๊อด เป็นนายทหารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งก่อ รัฐประหารในปี พ.ศ. 2534 และผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว., อ.ร. | |
---|---|
![]() | |
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | ชาติชาย ชุณหะวัณ (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | อานันท์ ปันยารชุน (นายกรัฐมนตรี) |
หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – 7 เมษายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด [1] | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534 | |
ก่อนหน้า | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ถัดไป | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542 (68 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พ.อ.หญิง คุณหญิง อรชร คงสมพงษ์ อัมพาพันธ์ ธเนศเดชสุนทร |
บุตร | 2 คน รวมทั้งอภิรัชต์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองบัญชาการทหารสูงสุด |
ประจำการ | พ.ศ. 2494–2534 |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
การยุทธ์ | สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม |
ประวัติแก้ไข
พล.อ. สุนทร เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 1 รุ่นเดียวกับ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ จากนั้น รับราชการทหารมาโดยตลอด เคยดำรงตำแหน่งสำคัญคือ ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดพล.อ.สุนทร สมรสกับพ.อ.หญิง คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์ มีบุตรสองคน ซึ่งได้แก่
- พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (รองเลขาธิการพระราชวัง)
- พล.ต. ณัฐพร คงสมพงษ์[3]
ต่อมาได้แยกทางกันเมื่อ พ.ศ. 2533 หลังจาก พล.อ. สุนทร ใช้ชีวิตร่วมกับนางอัมพาพันธ์ ธเนศเดชสุนทร (อรุณเมือง, คงสมพงษ์, คงทรนง)
พล.อ. สุนทร มีบุคลิกส่วนตัวคือ ชอบแต่งกายรัดรูป จนได้ฉายาว่า "นายพลเสื้อคับ" ชอบสูบบุหรี่จัด บุคลิกโผงผาง เสียงดัง มีคติประจำตัวว่า " ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน " เวลาไปราชการนิยมขับเฮลิคอปเตอร์ด้วยตนเองอยู่เสมอ
รัฐประหารแก้ไข
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะนายทหารนำโดย
- พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, หัวหน้ารสช.
- พล.อ. สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก, รองหัวหน้ารสช.
- พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก, รองหัวหน้ารสช.
- พล.ร.อ. ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ, รองหัวหน้ารสช.
- พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ, รองหัวหน้ารสช.
- พล.ต.อ. สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ, รองหัวหน้ารสช.
ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นนายทหารที่อาวุโสสูงสุด จึงได้รับที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
ถึงแก่อนิจกรรมแก้ไข
ภายหลังเกษียณอายุราชการ พล.อ. สุนทร ไปเปิดกิจการร้านอาหารที่ปารีส ฝรั่งเศส โดยมิได้เข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมือง หรือเปิดเผยตัวต่อที่สาธารณะ ก่อนจะกลับมาเมืองไทยและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ด้วยโรคมะเร็งปอด สิริอายุ 68 ปี 1 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
ยศกองอาสารักษาดินแดนแก้ไข
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน เป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองเอก สุนทร คงสมพงษ์ [4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแก้ไข
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[5] ดังนี้
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.)[9]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[11]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[14]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[15]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[16]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข
- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2513 - แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาร์ม[17]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนามใต้ ชั้นที่ 1
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญรณรงค์เวียดนาม
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2513 - เหรียญบรอนซ์สตาร์ ประดับ V [18]
- พ.ศ. 2513 - เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก) ประดับ V และใบโอ๊ค[18]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2534 - เครื่องอิสริยาภรณ์เหรียญสดุดีการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ชั้นที่ 1[19]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (เกาหลีใต้)
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2532 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์หยาง มูเลีย เซเตีย มาห์โกตา มาเลเซีย ชั้นที่ 2[17]
- พ.ศ. 2534 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1[20]
- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญสหประชาชาติเกาหลี
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญสหประชาชาติ
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์อุตมะ บักติ เจเมอร์ลัง (เท็นเทรา)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ โปรดเกล้าฯพระราชทานยศ 221 ทหาร ลาออกก่อนเกษียณ
- ↑ ได้รับพระราชทานยศนายกกอง
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก [18-23 ตุลาคม 2542]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (19ง): 135. 7 มีนาคม 2543. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๕๙, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๘๖ ง หน้า ๒๗๒๔, ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ 17.0 17.1 "ประวัติพลเอกสุนทร คงสมพงษ์". มูลนิธิพลเอก สุนทร คงสมพงษ์.
- ↑ 18.0 18.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 105 ตอนที่ 173 ฉบับพิเศษ หน้า 1, 26 ตุลาคม 2531
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 108 ตอนที่ 18 หน้า 1173, 5 กุมภาพันธ์ 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 118 ตอนที่ 167 หน้า 9297, 24 กันยายน 2534
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สุนทร คงสมพงษ์ |
ก่อนหน้า | สุนทร คงสมพงษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 เมษายน พ.ศ. 2533 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534) |
พลเอก สุจินดา คราประยูร |