ประพัฒน์ กฤษณจันทร์
พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ (11 มกราคม พ.ศ. 2473 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ และอดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 (1 ปี 16 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ถัดไป | สุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2473 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 (67 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงศรีศิริ กฤษณจันทร์ |
ประวัติ
แก้พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2473 ที่ตำบลชนะสงคราม อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร เป็บบุตรของร้อยตำรวจตรีสนั่น กับนางอรสา กฤษณจันทร์[1] สมรสกับคุณหญิงศรีศิริ กฤษณจันทร์ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และจบการศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนนายเรือ
การทำงาน
แก้หลังจากนั้นจึงเข้ารับราชการในกองทัพเรือจบมียศสูงสุดที่ พลเรือเอก และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ[2]
ในการก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ได้เข้าร่วมทำการรัฐประหารด้วย และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[3] ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[4]
พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540[5] มีพิธีพระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2541 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
ยศทหารและกองอาสารักษาดินแดน
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[14]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[15]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สเปน :
- พ.ศ. 2530 - ครอสออฟเนเวิลเมอริท ชั้นที่ 1 (ประดับขาว)[16]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2532 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[17]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2534 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ "อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
- ↑ "รายพระนาม และรายนามผู้บัญชาการทหารเรือ : ทหารเรือสยาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญให้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ "ผู้บัญชาการทหารเรือ ร่วมกับ คุณหญิง ศรีศิริ กฤษณจันทร์ เป็นประธานงานทำบุญครบรอบ ๑๖ ปี วันถึงแก่อนิจกรรม พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
- ↑ "พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-02.
- ↑ พระราชทานยศนายกองเอก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุดเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๒ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๒๖, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๖ ง หน้า ๘๑๙๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 106 ตอนที่ 9 ฉบับพิเศษ หน้า 3, 16 มกราคม 2532
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 106 ตอนที่ 184 หน้า 8061, 26 ตุลาคม 2532
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 109 ตอนที่ 27 หน้า 2237, 25 กุมภาพันธ์ 2535