ชาติชาย ชุณหะวัณ
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๑ (5 เมษายน พ.ศ. 2463 — 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541) เป็นนายทหาร นักการทูต และนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 17 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง ได้แก่กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงกลาโหม
ชาติชาย ชุณหะวัณ | |
---|---|
ชาติชายใน พ.ศ. 2532 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 17 | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (2 ปี 203 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | พงส์ สารสิน พิชัย รัตตกุล เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ ชวน หลีกภัย ชวลิต ยงใจยุทธ ประมวล สภาวสุ สนั่น ขจรประศาสน์ มานะ รัตนโกเศศ ทองหยด จิตตวีระ อาทิตย์ กำลังเอก บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ โกศล ไกรฤกษ์ |
ก่อนหน้า | เปรม ติณสูลานนท์ |
ถัดไป | สุนทร คงสมพงษ์ (หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) |
รองนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 (1 ปี 364 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 21 เมษายน พ.ศ. 2519 (1 ปี 35 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | พิชัย รัตตกุล |
ถัดไป | พิชัย รัตตกุล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2533 (1 ปี 237 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | พะเนียง กานตรัตน์ |
ถัดไป | ชวลิต ยงใจยุทธ |
ดำรงตำแหน่ง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (0 ปี 171 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
ถัดไป | ตนเอง |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (0 ปี 71 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
ถัดไป | ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519 (0 ปี 166 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | สุรินทร์ เทพกาญจนา |
ถัดไป | ตนเอง |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 1 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
ถัดไป | เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 (2 ปี 363 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | ประสงค์ คุณะดิลก |
ถัดไป | อบ วสุรัตน์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (0 ปี 304 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
รัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | สง่า กิตติขจร |
ถัดไป | ตนเอง |
ดำรงตำแหน่ง 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (0 ปี 218 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
รัฐมนตรี | จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
ถัดไป | ตนเอง |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 20 มกราคม พ.ศ. 2518 (0 ปี 235 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | คึกฤทธิ์ ปราโมช |
รัฐมนตรี | จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
ถัดไป | เล็ก นานา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | สมบุญ ชุณหะวัณ 5 เมษายน พ.ศ. 2463 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (78 ปี) ลอนดอน ประเทศอังกฤษ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2517–2535) ชาติพัฒนา (2535–2541) |
คู่สมรส | บุญเรือน โสพจน์ (สมรส 2487) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย กองบัญชาการทหารสูงสุด |
ประจำการ | พ.ศ. 2483–2501 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
ผ่านศึก | กรณีพิพาทอินโดจีน สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี |
เขาเป็นผู้ก่อตั้งพรรคการเมือง 2 พรรค และได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค คือ พรรคชาติไทยและพรรคชาติพัฒนา
ประวัติ
แก้ชาติชาย ชุณหะวัณ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2463 ณ ตำบลพลับพลาไชย อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร เดิมมีชื่อว่า "สมบุญ ชุณหะวัณ" เป็นบุตรของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ กับคุณหญิงวิบุลย์ลักสม์ ชุณหะวัณ ในครอบครัวที่มีเชื้อสายจีน[1] มีบรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองเท่งไฮ้ (เฉิงไห่)[2][3][4] ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ชาติชาย" ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ขณะมีอายุได้ 12 ปี[5] พล.อ. ชาติชาย เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี โรงเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายทหารม้า และโรงเรียนยานเกราะกองทัพบก (อาร์เมอร์สคูล) รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา
พล.อ. ชาติชาย มีพี่สาว 3 คน และน้องสาว 1 คน
- คุณหญิงอุดมลักษณ์ ศรียานนท์ ภริยา พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย ในช่วงก่อนการรัฐประหารปี พ.ศ. 2500
- พร้อม ทัพพะรังสี ภริยา นายอรุณ ทัพพะรังสี อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีบุตรคือ นายกร ทัพพะรังสี อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย ที่ พล.อ. ชาติชาย ให้ไว้วางใจอย่างสูง
- ท่านผู้หญิงเจริญ อดิเรกสาร ภริยา พล.ต.อ. ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทยคนแรก ท่านผู้หญิงเจริญ และพล.ต.อ. ประมาณ มีบุตรคือ นายปองพล อดิเรกสาร
- พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
- นางพรสม เชี่ยวสกุล เป็นภริยาของ นายเฉลิม เชี่ยวสกุล อดีตรองผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และอดีตประธานกรรมการธนาคารนครหลวงไทย มีบุตรคือ นายเฉลิมพงษ์ เชี่ยวสกุล เจ้าของเวทีมวยราชดำเนิน
พล.อ. ชาติชาย สมรสกับ ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ (สกุลเดิม โสพจน์) พระญาติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[6] มีบุตรชายคือ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และบุตรสาวคือ วาณี ชุณหะวัณ [7] (อดีตภริยานายระวี หงษ์ประภาส มีบุตรสาวชื่อ ปวีณา หงส์ประภาส ภริยาของ ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของเศรษฐา ทวีสิน) [8]
พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ณ โรงพยาบาลครอมเวลล์ สหราชอาณาจักร รวมอายุได้ 78 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
การศึกษา
แก้มัธยมศึกษา โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี, โรงเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร
การรับราชการ
แก้พล.อ. ชาติชาย รับราชการครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ในตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ประจำกรมเสนาธิการทหารบก ในช่วงที่ต้องไปประจำการที่ สหรัฐไทยเดิมพอดี[9] ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา และกลับมาเป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ รองผู้บังคับการโรงเรียนยานเกราะ และผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 2 และผู้บังคับการโรงเรียนยานเกราะ
ในปี พ.ศ. 2501 ได้ถูกเหตุการณ์ทางการเมืองผันแปรชีวิตไปเป็นอุปทูตอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประจำประเทศอาร์เจนตินา และเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประจำประเทศออสเตรีย ตุรกี สำนักวาติกัน และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ตามลำดับ
ปี พ.ศ. 2515 พล.อ. ชาติชาย เดินทางกลับประเทศไทย เข้ารับตำแหน่ง อธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงสำนักงานปลัดกระทรวง[10] ซึ่งนับเป็นตำแหน่งสุดท้าย ในชีวิตข้าราชการประจำ เนื่องจากในปลายปี พ.ศ. 2515 นี้เอง พล.อ. ชาติชาย ที่ขณะนั้นยังมียศเป็น พล.ต. ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ใน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 32 ของไทย ที่มี จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี และหลังจากนั้น พล.อ. ชาติชาย ก็ได้เข้าสู่วงการเมืองอย่างเต็มตัว
ปี พ.ศ. 2531 ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้รับพระราชทานยศทหาร เป็นพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก และ เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[11]
บทบาททางการเมืองยุคแรก
แก้พล.อ. ชาติชาย มีส่วนร่วมในการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 โดยเป็นหนึ่งในกำลังทหารที่บุกไปที่ทำเนียบท่าช้าง เพื่อทำการควบคุมตัว ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี โดยขณะนั้นมีอายุ 27 ปี [5] และการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2494 ตามบิดา คือ จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ผู้เป็นหัวหน้าในการรัฐประหารทั้งสองครั้งนี้ โดยขณะมียศเพียงแค่ร้อยเอกเท่านั้น หลังจากนั้นเริ่มบทบาททางการเมืองอย่างแท้จริงในรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร ด้วยตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 พลเอกชาติชาย ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาอีกรวม 5 สมัย พลเอกชาติชาย และได้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีอีกหลายสมัย ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรองนายกรัฐมนตรี
- โดยได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามลำดับดังนี้
- พ.ศ. 2515 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2517 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[12]
- พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[13]
- พ.ศ. 2518 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา รวม 5 สมัย
- พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช[14] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[15] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
- พ.ศ. 2523 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[16]
- พ.ศ. 2529 รองนายกรัฐมนตรี
ในปี พ.ศ. 2517 พลเอกชาติชาย ได้ร่วมกับ พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร ผู้มีศักดิ์เป็นพี่เขย และ พล.ต. ศิริ สิริโยธิน ก่อตั้ง พรรคชาติไทย ขึ้น โดยมี พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาในปี พ.ศ. 2529 พล.อ. ชาติชาย ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 2 สามารถนำพรรคชาติไทย ชนะการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2531 ในชั้นต้นมีการทาบทาม พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อเป็นสมัยที่ 4 แต่พล.อ. เปรม ปฏิเสธและประกาศวางมือทางการเมือง พล.อ. ชาติชาย จึงได้รับการสนับสนุน ให้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 17 ของประเทศไทย
ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครราชสีมา สังกัด พรรคชาติพัฒนา
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แก้พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531[17] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง[18] มีการปรับคณะรัฐมนตรี 1 ครั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ได้ดำรงตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นระยะเวลารวมประมาณ 2 ปีครึ่ง
ผลงานที่โดดเด่นมากของรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ได้แก่ การดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะใน กลุ่มอินโดจีน เช่น การประสานงานให้มีการเจรจาร่วม ระหว่างเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ และสนับสนุน ให้มีการจัดตั้งรัฐบาลประเทศกัมพูชาภายใต้การนำของ สมเด็จสีหนุขึ้น นโยบายต่างประเทศของ รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย มีชื่อเรียกที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ นโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า"
ทางด้านเศรษฐกิจ ได้อนุมัติโครงการเพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในหลายโครงการ เช่น โครงการโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านเลขหมาย โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และโครงการทางด่วนยกระดับ ตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงนั้น ร้อนแรงถึงกว่า 10 เปอร์เซนต์ต่อปี กระทั่งมีการคาดหมายโดยทั่วไปว่าประเทศไทยจะเป็น "เสือตัวที่ 5" ของเอเชีย ต่อจาก "4 เสือเศรษฐกิจของเอเชีย" คือ เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน[19]
พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ มีชื่อที่เรียกเป็นที่รู้จักทั่วไปว่า "น้าชาติ" มีคำพูดติดปากเมื่อให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า "No Problem" หมายถึง "ไม่มีปัญหา" จนเป็นที่จดจำได้ทั่วไป ซึ่งศิลปินเพลง แอ๊ด คาราบาว ได้นำไปประพันธ์เป็นเพลงล้อเลียนการเมืองชื่อ "โนพลอมแพลม"
การบริหารงานของรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัน เริ่มประสบปัญหาในช่วงท้ายของวาระการดำรงตำแหน่ง เมื่อถูกโจมตีว่ามีการทุจริต หาผลประโยชน์ในโครงการลงทุนของรัฐ จนมีคำกล่าวโจมตีการทำงานของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลพลเอกชาติชายว่าเป็น "บุฟเฟ่ต์คาบิเนต" ขณะที่การทำงานของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีสัดส่วน ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล เป็นจำนวนมากก็ถูกโจมตีว่ามีสภาพเป็น "เผด็จการรัฐสภา"
พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ บริหารประเทศจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ก็ถูกยึดอำนาจการปกครองโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ภายใต้การนำของ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ. สุจินดา คราประยูร พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล และ พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี ที่ต่อมานำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535
เหตุการณ์สำคัญขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แก้- 9 กันยายน พ.ศ. 2531 - เครื่องบินตูโปเลฟ 134 ของสายการบินแอร์เวียดนาม (เวียดนามแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 831) ตกที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีผู้เสียชีวิต 76 คน รวมทั้งรัฐมนตรีของเวียดนาม และนักการทูตชาวอินเดีย
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 - ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ซึ่งถูกลักลอบนำออกไปจากปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ กลับคืนสู่ประเทศไทย หลังการเรียกร้องขอคืนจากสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก สหรัฐอเมริกา
- 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 - เกิดเหตุโคลนถล่มและซุงจากการลักลอบทำลายป่า ทะลักเข้าใส่หมู่บ้านที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- 7 มกราคม พ.ศ. 2532 - จักรพรรดิโชวะเสด็จสวรรคต สิ้นสุดยุคโชวะ
- 4 มิถุนายน พ.ศ. 2532 - การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
- 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 – พายุไต้ฝุ่นเกย์ซึ่งเข้าสู่อ่าวไทย เคลื่อนเข้าถล่มพื้นที่จังหวัดชุมพรและมุ่งลงสู่มหาสมุทรอินเดีย
- 17 กันยายน พ.ศ. 2533 - การประชุมของกรมปรึกษาชาติชั้นสูงเกิดขึ้นครั้งแรกที่สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาในประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนกัมพูชาในสหประชาชาติชั่วคราวจนกว่าการเลือกตั้งในกัมพูชาจะเสร็จสิ้น
- 23 กันยายน พ.ศ. 2533 - เหตุการณ์เรือนำเที่ยวล่มในเขื่อนอุบลรัตน์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตที่เป็นคณาจารย์และนักศึกษาจากวิทยาลัยสาธารณสุข 5 แห่ง จำนวน 39 คน[20]
- 24 กันยายน พ.ศ. 2533 - เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 88 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก
- 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 - เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกเชื้อปะทุ (แก๊ป) พลิกคว่ำ ทำให้เชื้อปะทุระเบิด ที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีผู้เสียชีวิต 207 คน[21]
- 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 - การรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
บทบาททางการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
แก้ภายหลังถูกรัฐประหารโดยคณะ รสช. พล.อ. ชาติชาย ได้เดินทางไปพำนักอยู่ในอังกฤษระยะหนึ่ง ก่อนจะเดินทางกลับประเทศไทย และก่อตั้ง พรรคชาติพัฒนา ขึ้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก ต่อมาได้นำพรรคลงสมัครรับเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 โดย พลเอกชาติชายชนะเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นการเริ่มต้นบทบาททางการเมืองใหม่อีกครั้ง
ปลายปี พ.ศ. 2540 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในตอนแรกพรรคร่วมรัฐบาลเดิมในขณะนั้นมีมติร่วมกันที่จะสนับสนุน พลเอกชาติชาย ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี อีกครั้ง แต่ในที่สุด พรรคกิจสังคม ที่มีมนตรี พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค ได้เปลี่ยนไปสนับสนุน นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แทน ตามมาด้วย พรรคประชากรไทย ที่มี สมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค เกิดกรณี ส.ส. "กลุ่มงูเห่า" ที่แสดงตัวสนับสนุน นายชวน หลีกภัยเช่นเดียวกัน ทำให้ในที่สุดผู้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี คนใหม่กลายเป็น นายชวน หลีกภัย ที่ได้เป็น นายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 แทนที่จะเป็น พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
รางวัลและเกียรติยศ
แก้พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อ พ.ศ. 2532[22]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ดังนี้
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[23]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[24]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[25]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[26]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[27]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[28]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- พ.ศ. 2495 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[29]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[30]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[31]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[32]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[33]
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2495 - เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[34]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2498 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 3[35]
- พ.ศ. 2532 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2500 - เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นที่ 4[36]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2507 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย มหาอิสริยาภรณ์ทอง (พร้อมสายสะพาย)[38]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2508 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นประถมาภรณ์[39]
- อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2512 - เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นประถมาภรณ์
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2514 - เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสายสร้อย
- เยอรมนีตะวันตก:
- พ.ศ. 2527 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)[41]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2531 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นประถมาภรณ์
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2532 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นประถมาภรณ์
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของชาติชาย ชุณหะวัณ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Chinese adopt patriotism of their new homes
- ↑ 创温州土地拍卖史新高 绿城33亿拍得温州地王[ลิงก์เสีย] (จีน)
- ↑ 曾经叱咤风云的泰国政坛澄海人 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (จีน)
- ↑ 潮汕人[ลิงก์เสีย] (จีน)
- ↑ 5.0 5.1 หน้า 10 บทความ–การ์ตูน, ชาติชาย ชุณหะวัณ : ทายาทราชครู โดย นรนิติ เศรษฐกิจ. "ส่วนร่วมสังคมไทย". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,340: วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 แรม 14 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก
- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, แม่เล่าให้ฟัง
- ↑ ชีวประวัติ ชาติชาย ชุณหะวัณ ผู้จัดการออนไลน์ 9 มิถุนายน 2547
- ↑ "ความรัก" สามมุม ของ สามหนุ่มคนดัง[ลิงก์เสีย] นิตยสารหญิงไทย ฉบับที่ 681 ปีที่ 29 ปักษ์หลัง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
- ↑ เสม พริ้งพวงแก้ว โดย : วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง[ลิงก์เสีย] ตอนที่ 3
- ↑ ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงสำนักงานปลัดกระทรวง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ เปิดประวัติ 'ชาติชาย ชุณหะวัณ' คู่ชีวิต 'ท่านผู้หญิงบุญเรือน' คมชัดลึก สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564
- ↑ 3 นาทีคดีดัง : รำลึก 31 ปี กลืน 39 ชีวิตเรือคว่ำกลางเขื่อนอุบลรัตน์ | Thairath Online, สืบค้นเมื่อ 2024-03-28
- ↑ 3 นาทีคดีดัง : แหกโค้ง ไทยมุง ระเบิดทุ่งสังหาร, สืบค้นเมื่อ 2024-03-28
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอน ๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเลกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๘๙, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๘๘๙, ๑ กรกฎาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๙, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๖, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, ตอนที่ 51 เล่ม 69 หน้า 2571, 19 สิงหาคม 2495
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 50 หน้า 1505, 5 กรกฏาคม 2498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้วความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์, เล่ม 74 ตอนที่ 48 หน้า 1262, 28 พฤษภาคม 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 76 หน้า 2707, 30 กันยายน 2501
- ↑ https://www.parlament.gv.at/dokument/XXIV/AB/10542/imfname_251156.pdf
- ↑ เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี
- ↑ "Semakan Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2017-06-10.
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาต ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (60ง ฉบับพิเศษ): 12. 1985-05-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
ก่อนหน้า | ชาติชาย ชุณหะวัณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | นายกรัฐมนตรีไทย (4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 — 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534) |
อานันท์ ปันยารชุน |