อำเภอท้ายเหมือง

อำเภอในจังหวัดพังงา ประเทศไทย

ท้ายเหมือง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพังงา ชื่ออำเภอน่าจะมาจากการประกอบอาชีพร่อนหาแร่ตามท้ายรางเหมืองแร่ของประชาชน  ซึ่งในขณะที่เข้ามาร่อนหาแร่นั้นจะพูดกันว่าร่อนแร่ท้ายเหมือง ครั้นนานเข้าคำว่าร่อนแร่หายไปเหลือเรียกสั้น ๆ ว่า "ท้ายเหมือง"

อำเภอท้ายเหมือง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thai Mueang
หาดท้ายเหมือง
หาดท้ายเหมือง
คำขวัญ: 
ท่าเรือทับละมุ น้ำพุร้อนบ่อดาน
อุทยานเขาลำปี ประเพณีปล่อยเต่า
เที่ยวชมเขาหน้ายักษ์ พักผ่อนริมหาดทราย
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอท้ายเหมือง
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอท้ายเหมือง
พิกัด: 8°24′0″N 98°15′42″E / 8.40000°N 98.26167°E / 8.40000; 98.26167
ประเทศ ไทย
จังหวัดพังงา
พื้นที่
 • ทั้งหมด611.8 ตร.กม. (236.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด48,687 คน
 • ความหนาแน่น79.58 คน/ตร.กม. (206.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 82120
รหัสภูมิศาสตร์8208
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท้ายเหมือง ถนนเพชรเกษม ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 82120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้
 
ฐานทัพเรือพังงา

อำเภอท้ายเหมืองเดิมที่ตั้งของอำเภอท้ายเหมืองเป็นพื้นที่ป่า  มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ  แต่เนื่องด้วยพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบรูณ์ไปด้วยแร่ดีบุก  จึงมีผู้คนเข้ามาบุกเบิกทำกิจการเหมืองแร่บริเวณนี้กันมากมาย  จากการทำกิจการเหมืองแร่นี้เองประชาชนได้พากันเข้ามาร่อน หาแร่บริเวณท้ายรางของเหมืองโดยมาปลูกเพิงเล็ก ๆ  อาศัยหลับนอนเพื่อร่อนหาแร่  เรียกกันว่า  ร่อนแร่ท้ายเหมือง  ครั้นนานเข้าประชาชนจากท้องถิ่นอื่นก็เริ่มอพยพเข้ามาร่อนหาแร่กันมากขึ้น มีการทำธุรกิจการค้าเกิดขึ้นชุมชนที่เดิมมีขนาดเล็ก ก็ขยับขยายกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่  ทางราชการจึงตั้งชุมชนแห่งนี้เป็นตำบล  ชื่อตำบลท้ายเหมือง  ตามคำเรียกขานของชาวบ้าน  และต่อมาตำบลท้ายเหมืองมีความเจริญขึ้นอย่างแต่เนื่องทางราชการจึงยกฐานะขึ้นเป็น  "กิ่งอำเภอท้ายเหมือง" ในปี  2451  โดยขึ้นกับอำเภอทุ่งมะพร้าว  ครั้นนานเข้าประชาชนได้มาติดต่อราชาการกับกิ่งอำเภอท้ายเหมืองมากขึ้น  ทางราชการพิจารณาเห็นว่าถ้าจะตั้งอำเภออยู่ที่ทุ่งมะพร้าวตามเดิมคงไม่เหมาะสม  จึงได้ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอชื่อ  "อำเภอท้ายเหมือง"  ในปี  พ.ศ.  2453  และลดฐานะอำเภอทุ่งมะพร้าวลงเป็น  "กิ่งอำเภอ" ต่อมาได้มีการสร้างถนนสายตะกั่วป่า - ท่านุ่น ขึ้น การคมนาคมระหว่างอำเภอท้ายเหมืองกับกิ่งอำเภอทุ่งมะพร้าวมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น ทางราชการจึงยุบกิ่งอำเภอทุ่งมะพร้าวเป็นตำบลชื่อ "ตำบลทุ่งมะพร้าว" ขึ้นอยู่ในเขตปกครองของอำเภอท้ายเหมืองจนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอท้ายเหมืองตั้งอยู่ทางทิศของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอท้ายเหมืองแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 49 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[1]
แผนที่
1. ท้ายเหมือง Thai Mueang
9
10,799
 
2. นาเตย Na Toei
9
9,382
3. บางทอง Bang Thong
7
5,258
4. ทุ่งมะพร้าว Thung Maphrao
11
9,707
5. ลำภี Lam Phi
7
5,103
6. ลำแก่น Lam Kaen
6
8,194

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอท้ายเหมืองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท้ายเหมือง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท้ายเหมือง
  • เทศบาลตำบลลำแก่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำแก่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายเหมือง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท้ายเหมือง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเตย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเตยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมะพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งมะพร้าวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำภี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำภีทั้งตำบล

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้



  1. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.